เชื้อโรคคืออะไร ?
เคยสงสัยกันไหมครับว่าเชื้อโรคคืออะไร? ทำให้คนเราเจ็บป่วยได้อย่างไร มันอาศัยอยู่ที่ไหน เราจะป้องกัน ดูแลรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ได้อย่างไร หลากหลายคำถามที่เข้ามาในสมอง ??? ในบทความนี้เรามาทำความรู้จักกับเชื้อโรค และโรคติดเชื้อให้มากขึ้นกันครับ...
"เชื้อโรค" ถ้าจะพูดให้เข้าใจตามชื่อ มันก็คือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งโดยมากจะมีขนาดเล็กมากและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เราจึงเรียกสิ่งมีชีิวิตเหล่านี้ว่า Microorganism และเรียกสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดโรคเหล่านี้ เรียกว่า Pathogen หรือ Infectious agent ซึ่งได้แก่ เชื้อไวรัส (Viruses), เชื้อริกเกตเซีย (Rickettsias), เชื้อแบคทีเรีย (Bacterias), เชื้อโปรโตซัว (Protozoas), เชื้อรา (Fungi) และอาจมีมากกว่านี้ที่ยังไม่มีการศึกษาใดเข้าไปถึง ฯลฯ
ทีนี้เราลองมาศึกษาถึงสิ่งมีชีวิตที่ก่อโรคกลุ่มใหญ่ ๆ ที่ทำให้คนเราเจ็บป่วยกันดีกว่า
ชนิดของเชื้อที่ก่อโรค (Classification of Infectious agents)
การแบ่งชนิดตามโครงสร้าง (Classification According to Structure)
เป็นการแบ่งเชื้อก่อโรคตามความซับซ้อนของโครงสร้าง โดยเริ่มตั้งแต่เชื้อก่อโรคที่มีโครงสร้าง
ซับซ้อนน้อยที่สุดหรือมีขนาดเล็กที่สุด จนกระทั่งเชื้อที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อนมาก หรือมีขนาดใหญ่
มาก คือ
2. Viruses ซึ่งสามารถจะแบ่งย่อยตามชนิดของสารพันธุกรรมที่เป็นส่วนประกอบภายในตัวเชื้อ คือ DNA และ RNA viruses หรือจะจำแนกตามลักษณะรูปร่างของ Protein coat และการที่เชื้อมีหรือไม่มี Envelope เนื่องจากเชื้อ Viruses มีมากมายหลายชนิด บางชนิดสามารถทำให้เกิด Acute illness เช่น Common cold (ไข้หวัด) ก็ได้ บางชนิดทำให้เกิด Lifelong latency and longterm reactivation เช่น Herpes simplex virus หรือ ทำให้เกิด Chronic disease เช่น Chronic hepatitis โดย Hepatitis B virus และเชื้อ Viruses หลาย
ชนิดสามารถก่อโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกัน เช่น Rhinovirus และ Coronavirus ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด หรือ การติดเชื้อ Virus ชนิดเดียวกันบางครั้งอาการรุนแรงต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย เช่น Cytomegalovirus. อย่างไรก็ตามมากกว่า 400 Viral species ที่พบว่าอาศัยอยู่ในตัวมนุษย์โดยไม่ก่อโรค
3. Bacteria จัดเป็นพวก Prokaryote ที่ไม่มี Nucleus และ Endoplasmic reticulum โดยแบ่งตามลักษณะโครงสร้างของ Cell wall ดังนี้
- พวกที่ Cell wall ประกอบด้วย phospholipid bilayers สองชั้น ซึ่งมี Peptidoglycan layer อยู่ตรงกลาง ทำให้เวลาย้อม Gram stain จะติดสีแดง เรียกเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้ว่า Gram negative bacteria
- พวกที่ Cell wall ประกอบด้วย Single bilayers ที่ถูกคลุมด้วย Peptidoglycan เวลาย้อม Gram stain จะติดสีน้ำเงิน เรียกว่า Gram positive bacteria.
นอกจากนั้น อาจแบ่งตามลักษณะรูปร่าง; รูปร่างกลม (Cocci), รูปร่างเป็นแท่ง (Bacilli), รูปร่าง
เป็นเกลียว (Spirochetes) หรือ อาจแบ่งตามความต้องการใช้ Oxygen ในการเจริญ เป็น พวกไม่ต้องการ
Oxygen เรียกว่า Anaerobic bacteria และ พวกต้องการ Oxygen ในการเจริญ ที่เรียกว่า Aerobic bacteria
อย่างไรก็ตามเราสามารถพบเชื้อแบคทีเรียมากมายหลายชนิดที่ไม่ก่อโรคในสิ่งแวดล้อม และ หลายชนิด
ก็อาศัยอยู่ในบางส่วนของร่างกาย เช่น ผิวหนัง ทางเดินหายใจ และ ทางเดินอาหาร โดยไม่ก่อโรค
อ่านต่อเรื่อง แบคทีเรีย >>> Click Here!!!
4. Richettsiae, Chlamydiae และ Mycoplasma
แม้ว่าเชื้อโรคในกลุ่มนี้จะมีบางส่วนที่คล้ายกับเชื้อแบคทีเรีย คือ มีการเจริญพันธุ์แบบ Binary
fission และสามารถรักษาได้โดยยาปฏิชีวนะ แต่เชื้อกลุ่มนี้ก็ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจาก
เชื้อโรคในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติบางอย่างที่ต่างไป เช่น Mycoplasma จะไม่มี Cell wall และ Chlamydiae
เองก็ไม่สามารถสร้างพลังงาน ATP ได้เองเนื่องจากขาด Adenosine triphosphate enzyme ตัวอย่างของ
เชื้อที่ก่อโรค ได้แก่
- เชื้อ Mycoplasma ซึ่งก่อโรค Atypical pneumonia
- เชื้อ Chlamydiae ซึ่งก่อโรคที่ ทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ (Genitourinary Tract) เช่น Chlamydiae trachomatis ชนิด D จนถึง K และบางชนิดที่ก่อโรคที่ตา คือ Chlamydiae trachomatis ชนิด A, B, C และ บางชนิดก่อโรคที่ทางเดินหายใจ เช่น Chlamydiae pneumoniae
- เชื้อ Rickettsiae ซึ่งก่อโรคและจะแพร่เชื้อโดยอาศัย พาหะจำพวกแมลงต่าง ๆ เช่น ไร หรือ หมัด กับ เชื้อ Rickettsiae tsutsugamushi ที่ก่อโรค Scrub typhus. และ เห็บ (Ticks ) กับ เชื้อ Rickettsiae rickettsii ที่ก่อโรค Rocky Mountain Spotted fever เป็นต้น
5. Fungi (เชื้อรา)
เชื้อราจะมี Thick, ergosteral - containing cell wall และสามารถเพิ่มจำนวนได้ทั้งแบบ Sexually
reproductive form และ budding yeast and hyphae เชื้อราเหล่านี้สามารถทำให้เกิดโรคได้ทั้งที่ผิวหนัง
เช่น Tinea ซึ่งทำให้เกิดโรค Athlete’s foot หรือเกิดโรคที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง หรือ Subcutaneous tissue เช่น
Sporotrichosis เป็นต้น และ การติดเชื้อราแพร่กระจายทั่วร่างกาย หรือ Systemic fungal infection
โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ า หรือ Immunocompromised host เช่น Candida, Aspergillus และ
Mucor.
6. Protozoa และ Metazoa (หรือ Helminth)
เชื้อในกลุ่มนี้มีโครงสร้างที่ซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่ Protozoa ซึ่งเป็น สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างบางอย่าง ทำให้เคลื่อนไหวตัวเองได้ ตัวอย่างโปรโตซัวที่ก่อโรคในมนุษย์ เช่น
- Trichomonas vaginalis ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะสืบพันธุ์ และเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ Sexual transmitted disease
- Entamoeba histolytica , Giardia lambia , Isospora belli และ Cryptosporidium spp. ซึ่งเป็น Intestinal protozoa ท าให้เกิดโรคที่ทางเดินอาหาร
- Blood-borne protozoa ซึ่งสามารถแพร่โดยอาศัย พาหะจำพวก แมลง หรือ ยุง เช่น Plasmodium spp ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย, Trypanosoma spp ที่ก่อโรค African sleeping sickness และ Leishmania spp ท าให้เกิดโรค Leishmaniasis
- Protozoa ที่ก่อโรคในสมอง ได้แก่ Naegleria fowleri และ Acanthamoeba spp. Metazoa หรือ Helminth เป็น High multicellular organism แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง คือ
- Round worms หรือ Nematodes คือ พยาธิตัวกลมได้แก่ Ascaris, Hookworm, Strongyloid ซึ่งก่อโรคในทางเดินอาหาร และ Trichinella ที่ก่อโรคในกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- Flatworm หรือ Cestodes คือ พยาธิตัวแบนได้แก่ พวก Tapeworm
- Flukes หรือ Trematodes คือ พยาธิใบไม้ ได้แก่ Liver flukes, Lung Flukes และ Blood fluke
7. Ectoparasites เป็นพวก arthropods ได้แก่ Scabies ซึ่งจะก่อโรคที่ Stratum corneum ของผิวหนังทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง (Dermatitis)
8. Bacteriophages, Plasmids, Transposons เป็นกลุ่ม mobile genetic elements ที่ infect bacteria และ
ทำให้เกิดโรคต่อมนุษย์ทางอ้อมโดยการนำพาส่วนของสารพันธุกรรมที่ทำให้แบคทีเรียมีความรุนแรง
มากขึ้นหรือทำให้เกิดการดื้อยา
การแบ่งชนิดของเชื้อโรคตามความสามารถในการก่อโรค
(Classification According to Pathogenicity)
แบ่งเป็น High และ Low virulent
แบ่งเป็น High และ Low virulent
- พวก High virulent คือพวกที่มีความสามารถก่อโรคในคนปกติได้
- พวก Low virulent จะก่อโรคเฉพาะผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (Immunocompromised host)
การแบ่งชนิดของเชื้อโรคตามตำแหน่งที่เชื้อมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน
(Classification According to Site of Multiplication)
- Obligate Intracellular Organisms คือ เชื้อที่เจริญเติบโตและแบ่งตัวใน Host cell เท่านั้น เช่น Viruses และ Bacteria บางชนิด และการเพาะเลี้ยงเชื้อโรคกลุ่มนี้ต้องการใช้เทคนิค Cell culture.
- Facultative Intracellular Organisms คือ เชื้อที่สามารถแบ่งตัวได้ทั้งใน และนอก Host cell ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย โปรโตซัว และ เชื้อราบางชนิด โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียจะสามารถเพาะเลี้ยงได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อ เช่น Mycobacterium tuberculosis แต่ยกเว้น Mycobacterium laprae (เชื้อก่อโรคเรื้อน) ที่ยังไม่สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อได้
- Extracellular Organisms เป็นเชื้อโรคที่แบ่งตัวนอก Host cell เท่านั้น ได้แก่ ส่วนมากของเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา และ โปรโตซัวบางชนิด และ Metazoa ทั้งหมด ส่วนมากของเชื้อโรคในกลุ่มนี้สามารถเพาะเลี้ยงได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ ยกเว้นพวก Metazoa และ โปรโตซัว ส่วนเชื้อแบคทีเรียที่ไม่สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อได้ คือ Treponema pallidum ซึ่งก่อโรค Syphillis.
อ่านต่อ Read More >>> กลไลการเกิดโรคติดเชื้อ