การตรวจร่างกายระบบการหายใจ
(Respiratory System)
ทรวงอกและปอด (Thorax and Lungs)
การดู ควรสังเกตสิ่งต่อไปนี้
- รูปร่างลักษณะทรวงอก ปกติจะมีรูปร่างกลมแบน anteroposterior diameter: Lateral diameter มีค่าประมาณ 1:2 หรือ 5:7 ในทารก รูปร่างทรวงอกที่ผิดปกติและมักพบบ่อยๆ ได้แก่
a. Barrel chest (อกถัง) คือทรวงอกที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม อัตราส่วน AP diameter: lateral diameter ประมาณ 1:1 พบในรายผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง
b. Pigeon chest (Pectus Carenatum) คือทรวงอกที่กระดูก sternum โป่งออกทำให้ AP diameter เพิ่มขึ้น พบได้ในเด็กที่เป็นโรคกระดูกอ่อน (rickets)
c. Funnel chest (Pectus excavatum) คือทรวงอกที่มีลักษณะบุ๋มตรงส่วนล่างของ sternum บางครั้งการบุ๋มอาจกดหัวใจหรือเส้นเลือดใหญ่ทำให้เกิดเสียง murmur ลักษณะทรวงอกชนิดนี้จะทำให้ AP diameter มีขนาดลดลง
d. Kyphosis (humpback) หลังโกง มี 2 แบบ คือ หลังโกงแบบโค้ง (curved kyphosis) พบในคนอายุมากและหลังโกงที่เป็นมุม (Angular kyphosis) เกิดจากการยุบ (collapse) ของกระดูกสันหลังอันใดอันหนึ่งโดยมีสาเหตุจาก วัณโรค เนื้องอก กระดูกผุ
- ลักษณะการหายใจ อัตราการหายใจในเด็กแรกเกิดจนถึงขวบปีแรกอาจเร็วถึง 30-50 ครั้งต่อนาทีและจะค่อยๆ ช้าลงเมื่ออายุมากขึ้น ในผู้ใหญ่มีค่าปกติประมาณ 14-20 ครั้งต่อนาที
ตัวอย่างการหายใจผิดปกติที่พบได้
a. การหายใจลำบาก (Dyspnea) เวลาดูจะเห็นว่าปีกจมูกบานเข้าออกเวลาผู้ป่วยหายใจ ช่วงระหว่างซี่โครงบุ๋ม แอ่งเหนือและแอ่งใต้กระดูกสันอกบุ๋ม หายใจเร็ว ถ้าเป็นตอนช่วงหายใจเข้าแสดงว่ามีอะไรอุดกั้นอยู่ในทางเดินหายใจส่วนบน ถ้าหายใจออกลำบากมักเป็นจากความผิดปกติหรือพยาธิสภาพในทางเดินหายใจส่วนล่าง
b. การหายใจลำบากร่วมกับนอนราบไม่ได้ (Orthopnea) มักพบในรายที่มีน้ำในปอดหรือผู้ป่วยเป็นหืด นอกนั้นอาจพบในโรคระบบอื่นๆ เช่น ภาวะหัวใจวาย หรือท้องมานน้ำ (Ascites) เป็นต้น
c. Tachypnea มีการเพิ่มอัตราการหายใจที่เร็วกว่าปกติและมักจะตื้น มักพบในผู้ป่วยที่มีไข้จากโรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็น pneumonia
d. Hyperpnea มีการเพิ่มขึ้นทั้งอัตราและความลึกของการหายใจ พบได้ภายหลังการออกกำลังกาย ภาวะไตวาย หรือ metabolic acidosis ถ้าพบในผู้ป่วย diabetic acidosis อาจเรียกว่า Kussmaul respiration
e. Bradypnea มีการหายใจที่ช้าลงกว่าปกติ อาจเกิดจากศูนย์การหายใจถูกกดจากยา เช่น ยากลุ่มมอร์ฟีน หรือจากสารพิษ สุรา
f. Cheyne-stoke breathing การหายใจที่มีความผิดปกติทั้งอัตรา จังหวะ ความลึกที่ไม่สม่ำเสมอ และมีช่วงของการหยุดหายใจ (apnea)เกิดขึ้น การหายใจลักษณะนี้อาจพบได้ในเด็กเกิดใหม่ ผู้สูงอายุขณะนอนหลับ หรือ มี ความผิดปกติของศูนย์การหายใจเนื่องจากพยาธิสภาพในสมอง จากยาเสพติด หรือ มีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น
g. Obstructive breathing ในโรคทางเดินหายใจอุดตัน การหายใจออกจะยาว เพราะว่ามีการเพิ่มแรงต้านทานของทางเดินหายใจ พบได้ในผู้ป่วย obstructive lung disease เช่น asthma, chronic obstructive pulmonary disease (COPD)
การคลำ (palpation) บริเวณทรวงอก
- คลำการขยายของทรวงอก ว่ามีการขยายน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวอย่างไร เปรียบเทียบสองข้าง และอาการเจ็บบริเวณต่างๆ
- Tactile fremitus โดยให้ผู้ป่วยเปล่งเสียง 1 2 3 แล้วสังเกตความสั่นสะเทือนที่รู้สึกถูกมือที่ทาบอยู่บริเวณทรวงอก เปรียบเทียบกันสองข้าง กรณี tactile fremitus เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากมีการแข็งตัวของเนื้อปอด (consolidation) เช่น ปอดอักเสบ หากลดลงอาจเกิดจากมีน้ำในช่องปอดหรือมีการอุดตันของหลอดลมข้างนั้
การเคาะ (percussion) บริ เวณทรวงอก
- ควรเคาะ 1-2 ครั้งในแต่ละต้าแหน่ง เปรียบเทียบสองข้าง เสียงที่ทึบผิดปกติอาจเกิดจากมี ก้อนเนื้อ ของเหลว หรือ มีการแข็งของเนื้อปอด ในกรณีที่เสียงโปร่งอาจเกิดจากมีลมในช่องอก (pneumothorax) ภาวะถุงลมโป่ งพอง (pulmonary emphysema)
การฟังปอด
- การฟังปอดหรือเสียงหายใจ มีประโยชน์ในการประเมินถึง ลมที่ผ่านหลอดลมและส่วนต่างๆของทางเดินหายใจ สิ่งอุดตันต่างๆ สภาพปอดทั่วๆ ไปและช่องเยื่อหุ้มปอด
- การฟัง โดยใช้ stethoscope ควรฟังให้ตลอดช่วงการหายใจเข้าและออก และเปรียบเทียบทั้งสองข้าง
เสียงหายใจที่ผิดปกติ และพบได้บ่อย เช่น
- Crepitation หรือ Rales เป็นเสียงที่เกิดจากมีความชื้นหรือน้้าในทางเดินหายใจ เช่น pneumonia ลักษณะคล้ายพรายแก๊สน้ำอัดลม หรือเสียงขยี้เส้นผมใกล้ๆ ใบหู จะได้ยินชัดช่วงหายใจเข้า และจะเปลี่ยนไปเมื่อไอ
- Rhonchi หรือ Continuous sounds เกิดจากทางเดินหายใจมีขนาดแคบลงเนื่องจากมีเมือก (mucous) มีเนื้องอก มีการหดตัวหรือบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจ เป็นต้น จะได้ยินชัดช่วงหายใจออกมากกว่า หรือชัดทั้งสองช่วงก็ได้ จะเปลี่ยนไปเมื่อมีการไอ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นการตีบของทางเดินหายใจจากเนื้องอกก็ได้
- Pleural friction rub พบในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มปอด โดยทั่วไปจะได้ยินทั้งช่วงหายใจเข้าและออก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการไอ เสียงนี้มีลักษณะคล้ายเสียงที่เกิดจากปลายนิ้วถูที่ติ่งหูไปมา
การตรวจร่างกายเบื้องต้นสำหรับพยาบาล ตอนที่ 3
การตรวจระบบหัวใจและการไหลเวียน