การตรวจร่างกายระบบหัวใจและการไหลเวียน
(Heart)
- ดูท่าทางผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจ เช่น heart failure มักมีปัญหาหายใจไม่สะดวกในขณะนอนราบ (orthopnea)
- ดู Jugular venous pressure โดยให้ผู้ป่วยนอนยกลำตัวสูง 30-40 องศา แล้ววัดระยะในแนวดิ่งจากส่วน sternum angle ถึงจุดสุดยอดของการสั่น (oscillation) ที่พบใน internal jugular vein,IJV (หรือ external jugular vein หากดูยากจาก IJV) ในคนปกติไม่ควรเกิน 2 ซม. ถ้ามากกว่านี้แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติ เช่น หัวใจห้องขวาล้มเหลว หรือมีการอุดตันของการไหลกับของเลือดสู่หัวใจ
- ดูการเต้นของเส้นเลือดที่คอและแขน หากพบเต้นแรงผิดปกติอาจเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง หรือเส้นเลือดแข็งตัวมากกว่าปกติ เช่น ในผู้ป่วยสูงอายุ
- ดูสีของเยื่อบุต่างๆ และเล็บว่ามีภาวะเขียว (cyanosis) หรือไม่ ซึ่งมักจะพบในผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่ก้าเนิด ภาวะเขียวดูได้จากบริเวณ ปาก เยื่อบุในตา เล็บ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีลักษณะนิ้วปุ้มร่วมด้วย (clubbing of fingers and toes)
การคลำเพื่อตรวจหัวใจและชีพจร
- ชีพจรสามารถคลำได้หลายบริเวณตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น (ในการตรวจร่างกายตอนที่ 1) การคลำควรบอกให้ได้เกี่ยวกับ อัตรา(rate) จังหวะ (rhythm) และความแรง (intensity)
- คลำ apex beat ซึ่งปกติในผู้ใหญ่จะคลำได้อยู่บริเวณช่องซี่โครงช่องที่ 5 ในแนวของ mid clavicular line หากคลำได้บริเวณอื่นแสดงให้เห็นความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจโตหรือหัวใจกลับข้าง (dextrocardia)
- คลำ thrill เป็นความสั่นสะเทือนที่สัมผัสได้ด้วยมือที่วางทาบอยู่บนทรวงอกเหนือตำแหน่งของหัวใจ เกิดจากความผิดปกติในการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ หรือในเส้นเลือดใหญ่ คนปกติจะไม่สามารถคลำ thrill ได้
การเคาะ ไม่นิยมใช้ในการตรวจหัวใจ เนื่องจากให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้น้อย
การฟังเสียงหัวใจ
- เสียงการเต้นของหัวใจสามารถแยกออกได้เป็นหลายเสียง แต่เสียงทั่วไปที่ดังและได้ยินชัดเป็นเสียงที่เกิดจากการปิดของลิ้นหัวใจ (Normal Heart Sounds) ได้แก่
- เสียงที่ 1 (S1) เป็นเสียงที่เกิดจากการปิดของลิ้น Mitral และ Tricuspid จะได้ยินนำหน้า radial pulse เล็กน้อยหากเราใช้มือจับชีพจรบริเวณข้อมือไปด้วย ได้ยินชัดที่สุดที่ apex เสียงที่ได้ยินตรงกับ the apical impulse หรือ ชีพจร
- เสียงที่ 2 (S2) เป็นเสียงที่เกิดจากการปิดของลิ้น Aortic และ Pulmonary เป็นเสียงที่ค่อยแต่สูงกว่าเสียงแรก
- นอกจากเสียง S1 และ S2 แล้วยังมีเสียงอื่นๆ อีกที่เกิดจากทำงานของหั วใจแต่เป็นเสียงที่ฟังได้ค่อนข้างยากหากไม่มีความชำนาญ ได้แก่ เสียง spit S2 (เกิดจากการปิดของลิ้น Aortic และ Pulmonary ที่ช้ากว่ากันเล็กน้อย) ได้ยินชัดที่สุดที่ aortic และ pulmonic valve area เสียงที่ได้ยินเกิดหลัง the apical impulse หรือ ชีพจร เสียง S3 (เป็นเสียงที่เกิดจากการไหลของเลือดเข้าสู่ ventricle อย่างรวดเร็ว) และ S4 เป็นต้นเสียงเบาและได้ยินยาก
- การฟังเสียงหัวใจสามารถฟังได้ชัดตามตำแหน่งอ้างอิงถึงลิ้นหัวใจ
- เสียงหัวใจที่ผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ เสียง murmur (เสียงฟืด) มักพบในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วหรือ ตีบ หรือผนังหัวใจรั่ว เป็นต้น อาจแบ่งได้ตามช่วงที่ได้ยินเสียงเป็น systolic murmur และ diastolic murmur และแบ่งระดับความดังได้เป็น 6 ระดับ (grade)
- Grade 1 เบามากต้องตั้งใจฟังดีๆ
- Grade 2 เบาแต่ได้ยินทันที่ที่แตะหูฟังบนทรวงอก
- Grade 3 ดังปานกลาง แต่คลำ thrill ไม่ได้
- Grade 4 ดังมากขึ้น และคลำ thrill ได้
- Grade 5 ดังมาก แตะหูฟังไม่สนิทก็ได้ยิน
- Grade 6 ดังมาก อาจได้ยินทั้งที่หูฟังอยู่ห่างจากทรวงอกเล็กน้อย
อาการที่ควรตรวจ CVS อย่างละเอียด
- เจ็บหน้าอก ( Chest Pain ), ใจสั่น ( Palpitations )
- หายใจไม่อิ่ม ( Shortness of breath ), นอนราบไม่ได้ ( Orthopnea )
- เหนื่อยจนนอนไม่ได้ ( Paroxysmal dyspnea ), บวม ( Edema )
Functional Classification (NYHA)
- Class I : ออกกำลังกายหนักได้
- Class II : ทำกิจวัตรประจำวันได้
- Class III : ทำกิจวัตรได้ แต่เหนื่อยเร็ว
- Class IV : ลุกเดินไม่ได้เลย