การจำแนกชนิดของแบคทีเรีย (classification of bacteria)
การจำแนกชนิดของแบคทีเรีย (Classification) เป็นการจัดจำพวกของจุลินทรีย์โดยจัดลำดับอย่างมีระบบ ก่อนจะจัดจำแนกได้จะต้องรู้จักลักษณะ (Characteristics) ของแบคทีเรียนั้น ซึ่งจะต้องศึกษาจากแบคทีเรียชนิดเดียวโดยศึกษาเป็นกลุ่มนั้นๆ คือ เป็นกลุ่มเชื้อ (Culture) เพราะว่าแบคทีเรียมีขนาดเล็กมากเมื่อศึกษาเป็นกลุ่มเชื้อแล้วก็เท่ากับว่าศึกษาแบคทีเรียชนิดเดียว กลุ่มที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ชนิดเดียวเป็นเชื้อบริสุทธิ์ (Pure culture)
มีแบคทีเรียหลายชนิดอาศัยอยู่บน หรือในร่างของมนุษย์ตามปกติ เรียกแบคทีเรียพวกนี้ว่า ส่วนแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเรียก "Pathogen" ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจะไม่มี normal flora ในระหว่างคลอด และหลังคลอดเด็กจะได้รับจุลินทรีย์หลายชนิดจากมารดา อาหาร อากาศ และจากสิ่งที่เด็กสัมผัส เนื่องจากสภาพที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของแบคทีเรียจะแตกต่างกัน ตลอดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงทำให้จำนวนและชนิดของ Normal Flora ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่างกัน เชื้อในร่างกายนี้อาจพบได้ใน
"Normal Flora"
ระบบทางเดินอาหาร
เส้นผม เป็น heavy contamination มากที่สุดโดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้สระผมทุกวัน เป็นเชื้อที่พบในอากาศทั่วไป เช่น Bacillus
หู พบ Staphylococcus., Diphtheroids, Bacillus sp., non pathogenic acid fast bacilli
กระแสเลือด แบคทีเรียในลำไส้บางครั้งจะผ่านเข้าไปในกระแสเลือดจำนวน และบ่อยครั้ง
การจำแนกชนิดของแบคทีเรีย (Classification) เป็นการจัดจำพวกของจุลินทรีย์โดยจัดลำดับอย่างมีระบบ ก่อนจะจัดจำแนกได้จะต้องรู้จักลักษณะ (Characteristics) ของแบคทีเรียนั้น ซึ่งจะต้องศึกษาจากแบคทีเรียชนิดเดียวโดยศึกษาเป็นกลุ่มนั้นๆ คือ เป็นกลุ่มเชื้อ (Culture) เพราะว่าแบคทีเรียมีขนาดเล็กมากเมื่อศึกษาเป็นกลุ่มเชื้อแล้วก็เท่ากับว่าศึกษาแบคทีเรียชนิดเดียว กลุ่มที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ชนิดเดียวเป็นเชื้อบริสุทธิ์ (Pure culture)
ในที่นี้แบ่งตามลักษณะการติดแกรม และรูปร่างของแบคทีเรียรวมทั้งการเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่มีออกซิเจน หรือไม่มีออกซิเจน ได้ดังนี้ แบคทีเรียที่ใช้ในการจำแนกนี้ ศึกษาและหยิบยกเฉพาะที่จะทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้ คือ
1. Gram positive cocci- 1.1 มีชีวิตอยู่ได้ทั้ง aerobic หรือ facultative anaerobic ได้แก่
- Genus Staphylococcus
- - Staphylococcus aureus ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในอวัยวะต่าง ๆ ปอดบวม, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, อาหารเป็นพิษ, แผลเรื้อรัง เป็นต้น
- - Staphylococcus epidermis มักพบอยู่เสมอตามผิวหนังและ nucous membrane ของปกติ แต่อาจเกิดโรคได้บ้าง
- Genus Streptococcus
- - Streptococcus pneumoniae / Streptococcus pyogenes / Streptococcus faecalis
- 1.2 พวกที่เป็น anaerobic gram positive cocci
- Genus Peptococcus
- Genus Peptostreptococcus
- Genus Neisseria
- - Neisseria gonorrheae / Neisseria meningitidis
- Genus Bacteroides
- - Bacteroides fragilis
- Genus Fusobacterium
- 4.1 anaerobic
- Genus Clostridium
- - Clostridium perfringens / Clostridium tetani / Clostridium botulinum
- 4.2 Aerobic
- Genus Bacillus
- - Bacillus anthracis / Bacillus cereus / Bacillus subtilis
- Genus Lactobacillus
- Lactobacillus lactis
- Genus Listeria
- - Listeria monocytogenes
- Genus Erysopelothrix
- Family Enterobacteriaceae
- Genus Escherichia
- - Escherichai coli
- Genus Enterobacter
- - Enterobacter aerogenes
- Genus Klebsiella
- - Klebsiella pneumoniae
- Genus Salmonella
- - Salmonella paratyphi A / Salmonella typhimurium
- - Salmonella choleroesuis / Salmonella typhi
- Genus Shigella
- - Shigella dysenteriae / Shigella flexneri
- - Shigella boydii / Shigella sonnei
- Genus Citrobacter
- - Citrobacter freudii
- Genus Arizona
- Genus Edwardisella
- Genus Proteus
- - Proteus mirabilis / Proteus vulgares
- Genus Yersinia
- - Yersinia pestis
- Family Vibrionaceae
- Genus Vibrio
- - Vibrio cholerae
- Genus Aeromonas
- - Aeromonas hydrophilia
- Genus Pseudomonas
- - Pseudomonas aeruginosa
- Genus Alcaligenes
- Genus Acinetobacter
- Genus Moraxella
- Genus Flavobacterium
- Genus Achromobacter
- Pseudomonas - like
- Genus Heamophilus
- - Heamophillus influenzae
- Genus Bordetella
- Genus Brucella
- Genus Pasteurella
- Genus Francisella
- Genus Streptobacillus
- Genus Calymmatobacterium
- Genus Treponem
- - Treponema pallidum
- Genus Borrelia
- Genus Leptospira
- Genus Spirillum
- Genus Corynebzcterium
- - Corynbacterium diptheriae
- Genus Mycobacterium
- - Mycobacterium tuberculosis
- Genus Actinomycetes
- Genus Nocardia
- Genus Mycoplasma
แหล่งที่อยู่ของจุลินทรีย์ในธรรมชาติ
จุลินทรีย์มีอยู่ทั่วไป และพบได้ในทุกสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเจริญอยู่ได้ เราพบแบคทีเรียทั่วไปทั้งในดิน น้ำ อากาศ พืช สัตว์ และแม้แต่ในจุลินทรีย์บางชนิด
จุลินทรีย์ในดิน
ดินเป็นแหล่งใหญ่ของจุลินทรีย์ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดโรค (nonpathogen) จุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน ได้แก่ พวกแบคทีเรียที่ใช้สารอนินทรีย์เคมีสร้างพลังงานได้ (autotrophic bacteria), actinomyces และเชื้อรา เชื้อก่อโรค (pathogen) ที่อาจพบในดิน ได้แก่ Clostridium tetani ซึ่งทำให้เกิดโรคบาดทะยัก Clostridium perfringens ซึ่งทำให้เกิดโรค gas gangrene, Clostridium botulinumซึ่งทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ Bacillus anthracis ซึ่งทำให้เกิดโรค anthrax, Bacillus Cereus ซึ่งทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ และโรคติดเชื้อของระบบอวัยวะอื่น ๆ เป็นต้น จุลินทรีย์ในน้ำ พบจุลินทรีย์ได้ทั้งในน้ำจืด และน้ำทะเล ปกติมักไม่มีเชื้อก่อโรค (pathogen) ยกเว้นเมื่อน้ำมีอุจจาระหรือปัสสาวะของคนหรือสัตว์ปนอยู่ด้วย Pathogen ที่มักพบปนอยู่ในน้ำคือ Salmonella และ Shigella, Vibrio cholerae, E. coli เป็นต้น จุลินทรีย์ในอากาศ มักพบจุลินทรีย์อยู่เสมอ แต่เชื้อมักไม่ค่อยแบ่งตัวในสภาพของอากาศ อากาศในที่โล่งๆ จึงไม่ค่อยมี pathogen อากาศในห้องอับอาจมีแบคทีเรีย และไวรัสที่ก่อโรค แพร่กระจายออกไปจากร่างกายของมนุษย์ จากทางเดินหายใจส่วนบน ตัวอย่างเชื้อเช่น Mycobacterium tuberculosis ซึ่งทำให้เกิดโรควัณโรค
แบคทีเรียในร่างกายมนุษย์
ระบบทางเดินอาหาร
- ช่องปาก แบคทีเรียในช่องปากมีความสำคัญกับ ลำคอ Oropharynx และ Nasopharynx ในภาวะปกติไม่มีส่วนใดในร่างกายที่มีจุลชีพอาศัยอยู่มากชนิด เนื่องจาก mucous secretion เซลล์ที่หลุดออกมา, เศษอาหารที่ติดค้างอยู่ รวมทั้งกายวิภาคของส่วนนี้เป็นอาหาร และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่สำคัญคือ Streptococcus viridans,Streptococcus fecalis, Neiseria, Diphtheroids, Mycoplasms, Bacteroides, Fusobacterium และอื่น ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคน แต่ S. aureus พบน้อยมาก บางครั้งพบ enteric bacilli และรา Candida ซึ่งปนเข้าไปกับอาหาร พวก aerobe bacteria พบในช่องปากเด็กแรกเกิดภายใน 2-3 ชม. เท่านั้น และในระยะ 2-3 วันต่อมาจะมีเพิ่มขึ้น บางชนิดมีมากตอนเริ่มมีฟันคือ anaerobic gram negative rod และ Spirochetes น้ำลายเมื่อออกจากต่อมน้ำลายจะปราศจากเชื้อ แต่จะกลายเป็นที่อยู่ของจุลชีพ เรื่องฟันผุกับแบคทีเรีย เกิดจากแบคทีเรียสลายน้ำตาลเกิดกรด ตัวสำคัญ คือ Streptococcus mutans, S. sanguis และ Lactobacillus ใช้น้ำตาลได้หลายชนิด เมื่อฟันผุแล้วมีแบคทีเรียอื่นร่วม
โรคที่เกิดจากเชื้อในช่องปาก ปกติเชื้อที่อยู่ในปาก ถ้าร่างกายอ่อนแอจะทำให้เกิดโรคได้- 1. ก่อโรคเฉพาะที่ เช่น gingivitis , pyorrhea root abscess เกิดจาก S. aureus และ anaerobe ตัวอื่น ๆ, โรคซาง (Thrush) เกิดจากเชื้อ Candida Actinomycosis เกิดจาก Actinomycetes
- 2. การกระจายของเชื้อไปอวัยวะอื่น การถอนฟัน มักพบ Streptococcus ทำให้เป็นโรคหัวใจหรือ bacterial endocarditis
- กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก กระเพาะอาหารเป็นด่านในการกำจัด หรือป้องกันการเพิ่มจำนวนของจุลชีพหลายชนิดที่เกิดในช่องปาก และที่ปนกับอาหารเข้ามา (คือ pH 3) ในเวลา 60 นาที มีเชื้อหลายชนิดสามารถทนกรดได้ เช่น Streptococcusเป็นต้น แต่เหลือจำนวนน้อยผ่านไปสู่ลำไส้เล็ก ถ้าภาวะหรือโรคที่ทำให้ความเป็นกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง (pH สูงขึ้น) ปริมาณ และชนิดของแบคทีเรียจะผ่านไปสู่ลำไส้เล็กมากขึ้น ดูโอดินัมมีจุลชีพไม่เกิน 103 /มล. เหมือนกับจุลชีพในช่องปาก จำนวนของ coliform bacilli มีน้อย และบางครั้งไม่พบแบคทีเรียเหมือนในกระเพาะอาหาร, bile Salts (unconiugated) สามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เจจูนัม และไอเลียมมีแบคทีเรียต่างไป ในเจจูนัมมี 104 ในไอเลียมตอนต้น 105 และในไอเลียมตอนปลาย 106 พบเชื้อใน intestinal contents และ epithelial surface ของเซลล์บุผนังลำไส้จำนวนมากได้แก่ Lactobacilli, Streptococci
ดังนั้น ปริมาณของเชื้อตามส่วนต่าง ๆ ถูกควบคุมโดยกรดในกระเพาะอาหาร น้ำดีอาหารและ peristalsis
การเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียในลำไส้เล็ก แบคทีเรียหลายชนิดเกี่ยวข้องกับน้ำดี เช่น Enterococci, Bacteroides เป็นต้น สามารถ deconjugate bile salts ทำให้ความเข้มข้นของ conjugate bile salte น้อยลง ทำให้การดูดซึม fatty acid, monoglycerides เสียไป ในผู้ป่วยด้วยโรคตับแข็ง พบแบคทีเรียที่สามารถสลายยูเรียอยู่ในลำไส้ส่วนต้น - ลำไส้ใหญ่และอุจจาระ แรกเกิด ปราศจากเชื้อ หลังคลอดได้ 12 ชม.จะพบเชื้อหลายชนิดเหมือนพบในอุจจาระในคนปกติ เด็กที่เลี้ยงโดยนมแม่พบ Bifidobacterium ถึง 99 %ของจุลชีพทั้งหมด 11-12 % นอกนี้มี coliform bacilli เป็นต้น เด็กที่เลี้ยงด้วยนมขวดพบ anaerobic bacteria พวก Bacteroides ในอุจจาระคนปกติพบแบคทีเรียเป็น normal flora เป็น obligate anaerobe, Bifidobacteria , Bacteroides และชนิดอาหารทำให้มีการเปลี่ยนแปลงชนิดของแบคทีเรีย เช่น พวกคาร์โบไฮเดรททำให้ Bifidobacteria เพิ่ม , หากไขมันทำให้ Bacteroides เพิ่ม พวกโปรตีนสูงไม่มีผลเปลี่ยนแปลง
ความสำคัญของจุลชีพในลำไส้ ภาวะปกติแบคทีเรียในลำไส้ให้ประโยชน์ต่อคน คือ E. coli และ Klebsiella sp. สังเคราะห์ bictin, riboflavin, panthotherate, pyridoxin และวิตามิน K ต่อคน
- ช่องจมูก พบ S. aureus และ S. epidermidis มีมากถึง 20-50 % และพบมากในคนที่ทำงานในโรงพยาบาล
- ลำคอ พบ S. viridan และ Neiserria อาจพบ Diplococcus pneumoniae
- ลาริงส์ - หลอดลม - ปอด ปกติไม่พบแบคทีเรียตั้งแต่ลาริงส์ลงไป ในอากาศหายใจที่มี infected small particles จำนวนน้อยผ่านเข้าไปถึงหลอดลมใหญ่ได้ แต่จะถูกกำจัดให้หมดไปด้วย ciliated cells และ lysozyme
- ช่องคลอด เด็กแรกเกิด 12-24 ชม. จะพบแบคทีเรียรอบตัวเป็นพวก Staphylococcus, Enterococcus, Diphtheroid เมื่อถึงวัยสาวในเซลล์บุช่องคลอดมี glycogen มีผู้พบจุลชีพโดยเฉลี่ย 5 X 107 / มล.วัยหมดประจำเดือน glycogen ลด Lactobacillus ลดลง นอกนั้นคงเดิมอาจพบ Candida ด้วย
- Urethra และบริเวณใกล้เคียง anterior urethra ของชายมี Staphylococcus,Diphtheroid,Streptococcus, Gram negative bacilli และ Mycobacterium ในเพศหญิงแบคทีเรียตามบริเวณ perineum periurethra และ vulva มีส่วนสำคัญกับการเกิดโรคระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะโคลิฟอร์มเบซิลไล พบ 25 % Staphylococcus และ Streptococcus กับ Lactobacillus พบได้ทุกหนทุกแห่ง
- น้ำปัสสาวะ ในการตรวจปัสสาวะทาง Suprapubic ในคนปกติไม่พบแบคทีเรีย แต่การตรวจโดยเก็บจากการถ่ายปัสสาวะจะพบได้ เนื่องจากแบคทีเรียจากท่อปัสสาวะส่วนปลายปนออกมา
เส้นผม เป็น heavy contamination มากที่สุดโดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้สระผมทุกวัน เป็นเชื้อที่พบในอากาศทั่วไป เช่น Bacillus
หู พบ Staphylococcus., Diphtheroids, Bacillus sp., non pathogenic acid fast bacilli
กระแสเลือด แบคทีเรียในลำไส้บางครั้งจะผ่านเข้าไปในกระแสเลือดจำนวน และบ่อยครั้ง