ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง

อาการเวียนศีรษะ 

พบได้บ่อย ๆ ในผู้ป่วยที่มารับบริการ ในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ อาจมีอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละราย หรือแล้วแต่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะนั้น ๆ ครับ

อาการเวียนศีรษะ เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง อาจหมายรวมถึงอาการมึนศีรษะ วิงเวียน งง รู้สึกโคลงเคลง ทรงตัวไม่ค่อยได้ มีความรู้สึกลอยๆ หวิวๆ มีอาการตื้อในศีรษะ ซึ่งในทางการแพทย์จะแบ่งอาการนี้ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
  • อาการมึนเวียนศีรษะ (dizziness) มีความหมายรวมตั้งแต่อาการมึนศีรษะไปจนถึงอาการวิงเวียนศีรษะ ซึ่งเป็นอาการไม่เฉพาะเจาะจง เกิดได้จากโรคต่างๆ เช่น โรคทางระบบไหลเวียนเลือด โรคทางระบบประสาท ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น
  • อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (vertigo) จะหมายถึงเฉพาะอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุนหรือโคลงเคลงเท่านั้น
อาการเวียนศีรษะ พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่วัยที่พบได้มากคือวัยผู้สูงอายุ มีสาเหตุอยู่หลายอย่างครับ เรามีหลักในการจำแนกสาเหตุของโรคง่ายๆ ได้ดังต่อไปนี้

          A. แยกให้ได้ก่อนว่าเป็น มึนเวียนหัวแท้ (True Vertigo) หรือ มึนเวียนหัวเทียม (False Vertigo)
วิธีแยกง่ายๆก็คือการมีประวัติอาการดังต่อไปนี้
ถ้ามีอาการมึนนั้นมีอาการ เวียนหัวแบบมีบ้านหมุน หรืออาการโครงเครงหรือมีการเสียการทรงตัวด้วย หรือ คนไข้บอกว่ามีอาการเหมือนคนเมา หรือนั่งในเรือโครงๆ หรือมีอาการเสียงดังในหู (Tinitus) แบบนี้เป็นอาการ มึนเวียนหัวแท้ (True Vertigo)
ถ้าไม่มีอาการแบบข้างบนเช่นมีแค่มึนๆ ตื้อๆ ปวดๆ ไม่มีอาการเวียนหัวบ้านหมุนร่วมด้วย แบบนี้มักเป็นอาการ มึนเวียนหัวเทียม (False Vertigo) สาเหตุมักเกิดจากความเครียด นอนน้อย หรือโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ ฯลฯ

          B. เมื่อแยกได้แล้วว่าเป็น มึนเวียนหัวแท้ (True Vertigo)
ก็มาแยกว่าเป็นอาการ มึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากหูส่วนใน (Peripheral vertigo) หรือ อาการมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่สมอง (Central Vertigo)
  • อาการมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากหูส่วนใน (Peripheral vertigo) พบได้มากประมาณมากกว่า 90% ของ มึนเวียนหัวแท้ (True Vertigo) ทั้งหมด สาเหตุของปัญหาเกิดจากหูส่วนใน ถ้ามีอาการ เสียงดังในหู จะช่วยบ่งชี้ชัดว่าเป็น มึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากหูส่วนใน (Peripheral vertigo) อาการชนิดนี้พบมากที่สุดของอาการมึนเวียนหัวแท้ทั้งหมด (แต่น้อยรายที่จะมีอาการบอกว่ามี เสียงดังในหู)
  • อาการมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่สมอง (Central Vertigo) พบน้อยกว่าแต่รุนแรงกว่ามาก เพราะสาเหตุเกิดความผิด ปกติที่สมอง เช่น สมองขาดเลือดเฉียบพลัน สิ่งที่บ่งชี้ว่าเป็นชนิดนี้คือ มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น มีแขนขาอ่อนแรงเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต (แต่ไม่เสมอไปไม่ต้องมีก็ได้) ถ้ามีอาการรุนแรง และดูแย่กว่าเวียนหัวทั่วๆ ไป หรือเมื่อได้รับการรักษาแบบมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากหูส่วนใน (Peripheral vertigo) แล้ว อาการไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร ต้องไม่ลืมนึกถึงอาการมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่สมอง

เราจะรู้ได้ยังไงว่าเราเป็นโรคของหู ไม่ใช่สมอง ?

- กระตุ้นให้เป็นมากเวลาหมุนหัว ก้มเงย ไอ หรือ เบ่ง
- อาการที่เกิดจากหูมักรุนแรงมากกว่าอาการจากสมอง ตรงข้ามกับที่ทุกคนเข้าใจ และ
- หายเร็วเวลาได้ยาดี ๆ หรือ รักษาเร็ว
- มีอาการทางหู เช่น มีเสียง หรือ หูได้ยินน้อยลงในบางคน

อาการจากสมอง จะมีปัญหา?

- เวียนไม่มาก (ผิดกับที่คนทั่วไปเข้าใจ) และ
- สัมพันธ์กับท่าทางไม่มากนัก
- การกำหนดจุดแตะ หรือ การหมุนมือ หาตำแหน่งเท้าเสียไป คือเดินแบบต่อปลายเท้าไม่ได้
- มีอาการอื่นของระบบประสาทร่วมด้วย ดังที่จะกล่าวถึงอาการเตือนให้รีบมาพบแพทย์ด้านล่าง
- หรือมีความเสี่ยงโรคอัมพาต
- เวลาตรวจร่างกาย จะมีการตรวจเฉพาะที่ทำให้แพทย์ทราบได้ว่า เป็นอาการจากสมองมากกว่าจากหู
- กรณีสงสัยอาการทางสมองข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าว ให้รีบพบแพทย์ด่วน เพราะถ้ารักษาช้าอาจถึงอัมพาต หรือ เสียชีวิตได้

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (vertigo) 

เป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่คอยรับการทรงตัวสมดุลของร่างกายในท่าทางต่างๆ เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นจึงทำให้มีอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมหมุนรอบตัวเองหรือตัวเองหมุน รู้สึกโคลงเคลงทั้งๆ ที่ตัวเองอยู่กับที่หรือไม่มีการเคลื่อนไหว ในรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีความรู้สึกเหมือนจะเป็นลม หูอื้อ การได้ยินลดลง หรือมีเสียงในหูร่วมด้วยได้

ทั้งนี้ มีหลายโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้ อาทิ
  • โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน หรือโรคเวียนศีรษะขณะเปลี่ยนท่า (benign paroxysmal positioning vertigo: BPPV) เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของหูชั้นใน จึงพบมากในผู้สูงอายุ อาการเฉพาะของโรคนี้คือ อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่เกิดขึ้นทันทีทันใดในขณะเปลี่ยนท่าทางของศีรษะ เช่น ระหว่างกำลังล้มตัวลงนอนหรือลุกจากที่นอน เงยหน้า ก้มหยิบของ เป็นต้นอาการมักจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นแค่ช่วงวินาทีที่ขยับศีรษะ แล้วอาการจะค่อยๆ หายไป ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่มีอาการหูอื้อ ไม่พบการสูญเสียการได้ยินหรือเสียงผิดปกติในหู (ยกเว้นในรายที่เป็นโรคหูอยู่ก่อนแล้ว) รวมถึงไม่มีอาการทางระบบประสาท เช่น แขนขาชาหรืออ่อนแรง 
  • โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติหรือโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าอาการของโรคเป็นผลจากความผิดปกติของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นใน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุนอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและสูญเสียสมดุลของร่างกาย ทำให้เซหรือล้มได้ง่าย อาการเวียนศีรษะที่เกิดจากโรคนี้อาจนานเป็นนาทีจนถึงหลายชั่วโมง ซึ่งในระหว่างที่เกิดอาการ ผู้ป่วยควรอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับศีรษะ เพราะอาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจมีการได้ยินลดลงและมีเสียงดังในหู บางครั้งอาจพบอาการหูอื้อได้ด้วย 
  • โรคอื่นๆ เช่น การอักเสบของหูชั้นใน (labyrinthitis) พบการอักเสบจากเชื้อไวรัสได้บ่อย ซึ่งมักมีประวัติการเป็นหวัดหรือระบบทางเดินหายใจอักเสบนำมาก่อน ถ้าเชื้อไวรัสลามเข้าสู่หูชั้นในและเส้นประสาท จะทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะรุนแรงและเป็นอยู่หลายวัน แต่ผู้ป่วยมักมีการได้ยินที่ปกติ แต่หากเป็นการอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคการอักเสบของหูชั้นกลาง โรคหูน้ำหนวก แล้วลุกลามเข้าสู่หูชั้นใน อาการมักรุนแรงมาก ผู้ป่วยมักมีอาการสูญเสียการได้ยินร่วมด้วย 
  • โรคเนื้องอกของประสาทการทรงตัวหรือเส้นประสาทการได้ยิน (acoustic neuroma) ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะร่วมกับการได้ยินลดลง บางรายอาจมีเสียงรบกวนในหู สำหรับรายที่มีเนื้องอกขนาดใหญ่และไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจมีอาการชาที่ใบหน้าซีกนั้น อัมพาตของใบหน้า เดินโซเซ หรืออาการทางสมองอื่นๆ เนื่องจากก้อนเนื้องอกไปกดทับเนื้อสมอง 
  • โรคเส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ (vestibular neuronitis) ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะรุนแรงนานหลายวันจนถึงสัปดาห์ แต่ไม่ส่งผลต่อการได้ยิน ผู้ป่วยยังคงได้ยินเป็นปกติ 
  • กระดูกกะโหลกแตกหัก (temporal bone fracture) 
  • เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ (vertebra-basilar insufficiency
          จะเห็นได้ว่า อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมีสาเหตุที่ซับซ้อน การวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องจึงมีความสำคัญ การรักษาในระยะแรกจะได้ผลดีกว่าในระยะหลัง ดังนั้น หากมีอาการเวียนศีรษะผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการและเข้ารับการรักษา โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ทั้งการตรวจหู ตรวจระบบประสาทและการทรงตัว ตรวจการทำงานของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ตรวจดูการกลอกของลูกตาและการเคลื่อนไหวของลูกตาในท่าทางต่างๆ ในผู้ป่วยบางรายที่แพทย์สงสัยว่ามีความผิดปกติของการทำงานในหูชั้นในอาจได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น

- ตรวจการได้ยิน (audiogram)
- ตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน (videoelectronystagmography: VNG)
- ตรวจวัดแรงดันของน้ำไนหูชั้นใน (electrocochleography: ECOG)
- ตรวจการทรงตัว (posturography)
- ตรวจการทำงานของเส้นประสาทการได้ยิน (evoke response audiometry) เป็นต้น

อาการที่ต้องพบแพทย์ให้เร็ว ถ้าท่านมีความเสียงโรคเส้นเลือดสมอง ได้แก่
1. อายุมาก
2. ไขมันสูง
3. เป็นโรคเบาหวาน
4. โรคอ้วน สูบบุหรี่
5. เคยเป็นอัมพาต หรือ อัมพฤกษ์มาก่อนนี้
6. มีโรคหัวใจร่วมด้วย

E.2 หรือมีอาการของระบบสมอง เส้นประสาท ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

1. ปวดหัว แบบที่ไม่เคยปวดมาก่อน หรือ ปวดหัวรุนแรงมาก
2. มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส (38ºC)
3. ตามองเห็นเป็นสองภาพ
4. อาการหน้าชา
5. หรือหน้าเบี้ยว
6. อาการอ่อนแรงแขนขา
7. ไม่สามารถเดินได้ หรือ เดินเองไม่ได้
8. ล้ม หรือ เป็นลม
9. อาการแน่นอก
10. อาการอาเจียนตลอดเวลาไม่หยุด

F. การรักษาภาวะเวียนหัว ต้องรักษาตามต้นเหตุ

F.1 ถ้าเป็นภาวะทางสมอง หรือ มีโรคเส้นเลือดสมอง ต้องตรวจรักษาเร่งด่วนโดยแพทย์ให้เร็วที่สุด

- กรณีเป็นโรคของหู ภาวะเวียนจากหูส่วนกลาง น้ำในหู หรือ หินปูนในหูผิดปกติ จะแบ่งเป็น

F.2 การรักษาทางยา จะใช้ยากลุ่มยานอนหลับ ร่วมกับยา Antihistamine ตัวดัง ๆ ได้แก่ Dramamine และ Benadryl บางแพทย์อาจให้ยากลุ่มไมเกรน หรือ ยาแก้อาเจียนให้ทานร่วมด้วย ยารักษาภาวะเวียนหัวให้หายดีโดยตรง จะไม่กล่าวในที่นี่ เพราะ อาจไปซื้อยาผิด ๆ หรือ ทำให้รักษาล่าช้าได้ครับ ให้ปรึกษากับแพทย์ดีกว่า

F.3 การหมุนหัวให้หินปูนเรียงเป็นปกติที่เรียกว่า Canalith repositioning จะใช้รักษาเฉพาะภาวะ benign paroxysmal positional vertigo (BPPV) ซึ่งพบได้มากที่สุดในผู้ป่วยที่เวียนหัวธรรมดาด้วยกัน การทำการโยกหัวดังกล่าวต้องทำโดยแพทย์ หรือ พยาบาลเท่านั้น โดยการทำหัตถการที่เรียกว่า Epley maneuver โดยบางหมออาจแนะนำให้ทำเองที่บ้านด้วย หลังทำผู้ป่วยจะดีขึ้นในทันที หรือ ภายในสองวันหลังทำ

F.4 การฝึกศูนย์การทรงตัว Balance rehabilitation เป็นการออกกำลังกาย ตา คอ หัว และ แกว่งตัว เพื่อให้เรารับรู้การทรงตัว และ หมุนให้สม่ำเสมอ จนชิน ไม่เกิดอาการเวียนหัว การหมุนเอี้ยวออกกำลังกายควรระวังในคนสูงอายุ เพราะอาจทำผิดพลาดเกิดการเวียนหัวมากจนล้ม แล้วเกิดภาวะสะโพกหักได้ ควรค่อย ๆ ทำ และ มีการประคองช่วยในคนสูงอายุเสมอ

F.5 เคล็ดลับการออกกำลังกายท่าหมุน
  • ต้องมองเห็น ไม่ใช่ส่ายจนตาลายนะครับ เช่น หมุน แล้วหาจุดก่อนทำการออกกำลังกาย เช่นจุดมุมบ้านซ้าย แล้ว หันไปดูจุดมุมบ้านขวา
  • คนทั่วไปแม้ไม่เป็นภาวะนี้ควรมีการออกกำลังกาย 3 อย่าง คือ หมุนส่าย คล้าย warm up การออกกำลังกายแอโรบิคคือทำให้เหนื่อยต่อเนื่องไม่หยุด 20 - 30 นาที และ การเกร็งรอบเข่ารอบแขนรอบไหล่
  • คนที่ออกกำลังกายแต่วิ่ง หรือ ยกน้ำหนักจึงเวียนหัวง่ายได้ไม่รู้ตัว เพราะออกกำลังกายไม่ครบครับ
สำหรับการรักษาหลักประกอบไปด้วยการรักษา 3 วิธีใหญ่ ๆ คือ

1. การใช้ยา ซึ่งยาที่ใช้มีหลายชนิดด้วยกัน ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยาเหล่านี้คือ ไม่ควรใช้ยาเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้การปรับตัวตามธรรมชาติเพื่อลดอาการเวียนศีรษะถูกกดโดยยา ทำให้มีอาการเวียนศีรษะเรื้อรัง นอกจากนั้นยาเหล่านี้บางครั้งอาจทำให่ผู้สูงอายุง่วงซึมและเกิดอาการแข็ว เกร็ง สั่น เหมือนที่พบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้

2. การผ่าตัด ใช้ในผู้ป่วยส่วนน้อยและเป็นโรคที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าการผ่าตัดทำให้อาการดีขึ้น

3. การทำกายบริหาร เป็นสิ่งที่มักจะไม่ได้ทำและถูกมองข้ามไป การทำกายบริหารจะลดอาการเวลาเกิดการเวียนศีรษะขึ้นและทำให้หายเร็วขึ้น ใช้ในกรณีที่เป็นมานานเกิน 1-2 เดือน การทำกายบริหารนี้หมายถึง การทำกายบริหารสายตาและกล้ามเนื้อคอ การทำกายบริหารในท่าที่เวียนและการทำกายบริหารทั่วไป ซึ่งจะต้องทำครั้งละอย่างน้อย 15-30 นาทีขึ้นไป ทำบ่อยๆ วันละกี่ครั้งก็ได้ แต่ต้องอดใจรอผลประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไปนะครับ กว่าจะเห็นผล สำหรับท่ากายบริหารลองปรึกษาแพทย์ดูนะครับ

Note : การรักษา

1. ถ้าเป็น มึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากหูส่วนใน การรักษาแค่รับประทานยา (ควรปรึกษาแพทย์ว่าควรทานยาอะไร) หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการมากขึ้น เช่น การพักผ่อนน้อย การทำอะไรก้มๆ เงยๆ ตัวอย่างของยาที่ใช้กันบ่อยๆ ในการรักษาภาวะเวียนหัวคือ
Dramamine
Stugeron
Sibelium
Merislon
Duxaril ฯลฯ

2. ถ้าเป็นอาการมึนเวียนที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่สมอง ควรต้องทำการสแกนสมอง แล้วควรรักษากับแพทย์ทางระบบประสาท

3. ถ้าเป็น อาการมึนเวียนที่ไม่ใช่ Vertigo ก็ควรแก้ตามแต่สาเหตุนั้นๆ เช่น
ถ้าเครียด ก็แก้ความเครียด
ถ้าความดันต่ำหรือสูง ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
ถ้าพักผ่อนน้อย ก็ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
เป็นโรคหัวใจควรรักษาโรคหัวใจนั้น

การดูแลตนเองและพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นก็ยังคงมีความสำคัญต่อการรักษาและการป้องกันการเกิดโรค ในผู้ที่มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนควรปฏิบัติตัวดังนี้
  • หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะในระหว่างเกิดอาการ เช่น การหมุนหันศีรษะเร็วๆ การเปลี่ยนแปลงท่าทางอิริยาบถอย่างรวดเร็ว การก้มเงยคอหรือหันอย่างเต็มที่
  • ลดปริมาณหรืองดการสูบบุหรี่/ดื่มกาแฟ
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ และการพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ไม่ควรอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การขับขี่ยานพาหนะในขณะยังมีอาการ การปีนป่ายที่สูง
ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าจะตัวเองเป็นประเภทไหนต้องทำตัวอย่างไร ก็ไปพบแพทย์ใกล้บ้านท่านเพื่อรับคำปรึกษานะครับ



อวัยวะที่ ฆ้อน ทั่ง โกลน กระดูกขยายเสียงในรูปแบบคานงัด กระแทกใส่ตัวรับเสียงก้นหอยเพื่อรับเสียงทุ้มไปยังเสียงแหลม ก็เลยมี วงแหวน (semicircular) ไว้ให้หมุนสามแกน X Y และ Z ที่เป็นสีฟ้าในภาพ รับรู้การหมุนตามแกนต่าง ๆ ของหัว พระเจ้าได้สร้างอวัยวะที่มีความไวต่อการหมุนในสามแกนได้อย่างมหัศจรรย์เลยทีเดียว

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://medicarezine.com/2012/03/vertigo/
https://www.bumrungrad.com/healthspot/March-2015/vertigo-treatment
http://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_7_007.html