ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง
เลือดดำเดาไหล (Epistaxis/Nose bleed)
เลือดกำเดาไหล คือภาวะที่มีเลือดออกทางจมูก เกิดจากเส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกแตก ทำให้มีเลือดไหลออกข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาจไหลจากส่วนหน้าหรือส่วนหลังของจมูก พบได้ทุกอายุทั้งเพศหญิงและชาย เลือดออกทางส่วนหน้าของจมูกมักพบในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อย เลือดออกจากส่วนหลังของจมูกมักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีสาเหตุจากความดันโลหิตสูง

สาเหตุ
เกิดจากสาเหตุเฉพาะที่ในจมูก (Local condition) :
1. การระคายเคืองหรือบาดเจ็บต่อเยื่อบุจมูก ได้แก่ การแคะจมูก (ผู้ที่มีนิสัยชอบแคะจมูก จะมีน้ำมูกแห้งกรัง เมื่อแคะออกจะเกิดแผลถลอก จึงมีเลือดออกตามมา)การสั่งน้ำมูกแรง ๆการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างขึ้นเครื่องบินหรือการดำน้ำ การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะและใบหน้า แล้วกระแทกโดนที่จมูกโดยตรงหรือโดนที่โพรงไซนัสซึ่งอยู่ข้างๆ ก็ทำให้มีเลือดออกได้มีสิ่งแปลกปลอมในรูจมูก

2. การอักเสบและติดเชื้อที่บริเวณโพรงจมูก เช่น โพรงจมูกอักเสบจากโรคภูมิแพ้หรือโรคหวัด จะทำให้มีเลือดมาเลี้ยงโพรงจมูกมากขึ้น จึงมีเลือดคั่งที่เยื่อบุจมูกและเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก ถ้าสั่งน้ำมูกหรือจามรุนแรง อาจทำให้เลือดกำเดาไหลหรือมีน้ำมูกปนเลือด

3. ภาวะอากาศหนาว ความชื้นต่ำ : ทำให้เยื่อบุจมูกแห้ง มีแนวโน้มที่จะทำให้เลือดออกได้ง่าย
ผนังกั้นช่องจมูกคด 

4. ผนังกั้นช่องจมูกมีการโค้งงอหรือเป็นสันแหลม ทำให้โพรงจมูกข้างนั้นมีพื้นที่แคบลง ลมหายใจหรืออากาศที่ผ่านเข้า-ออกจึงมากและเร็วกว่า ทำให้เยื่อบุจมูกแห้งมาก ทำให้เกิดสะเก็ดและมีเลือดออกได้ง่าย

5. เนื้องอกในจมูกหรือโพรงอากาศข้างจมูก : ทั้งชนิดเนื้อร้ายและเนื้อดี ก็อาจทำให้มีเลือดกำเดาไหลได้เช่นกัน

เกิดจากสาเหตุทั่วไป (Secondary systemic condition) : เกิดจากโรคทางระบบอื่น ๆ เช่น

  • โรคความดันโลหิตสูงหรือเส้นเลือดแดงแข็งตัว (Atherosclerosis)
  • โรคเลือดที่ทำให้เลือดออกง่าย : เช่น การแข็งตัวของเลือดผิดปกติภาวะเกร็ดเลือดต่ำการได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดโรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกายขาดวิตามินเค เป็นต้น ในกลุ่มนี้ ผู้ป่วยมักมีเลือดออกผิดปกติที่บริเวณอื่นร่วมด้วย เช่น เลือดออกตามไรฟันหรือมีจุดเลือดออกตามตัว เป็นต้น
  • มีการคั่งของเส้นเลือดดำ เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ เป็นต้น
ไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic or spontaneous epistaxis) : จากการตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมโดยละเอียดแล้ว ไม่พบความผิดปกติที่น่าจะเป็นสาเหตุของเลือดกำเดาไหล

อาการ

          เลือดกำเดาไหล แบ่งได้เป็น ชนิด ตามตำแหน่งที่หลอดเลือดฉีกขาด คือ
เลือดออกทางส่วนหน้าของจมูก (Anterior epistaxis) : พบได้ 90 % ของเลือดกำเดาไหลทั้งหมด เกิดจากการฉีกขาดของเส้นเลือดบริเวณด้านหน้าของผนังกั้นช่องจมูก มักพบในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อย ส่วนใหญ่เกิดจากการแคะจมูก ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ มีเลือดสด ๆ ไหลออกทางรูจมูกข้างเดียวหรือสองข้าง ถ้าเลือดออกมาก อาจมีเลือดบางส่วนไหลลงคอได้ (แยกจากภาวะเลือดออกจากส่วนหลังของจมูกได้โดย ในท่านั่งจะสังเกตว่า มีเลือดไหลออกทางจมูกมากกว่าไหลลงคอ) ภาวะนี้พบได้บ่อย แต่ไม่รุนแรง เพราะมีเลือดออกเพียงเล็กน้อย และสามารถห้ามเลือดได้ง่าย

เลือดออกจากส่วนหลังของจมูก (Posterior epistaxis) พบได้ 10 % ของเลือดกำเดาไหลทั้งหมด เกิดจากการฉีกขาดของเส้นเลือดบริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในโพรงจมูก มักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีสาเหตุจากความดันโลหิตสูงหรือเส้นเลือดแดงแข็งตัว ในกลุ่มนี้เลือดจะไหลออกมาเองโดยไม่มีปัจจัยนำมาก่อน ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ รู้สึกว่ามีเลือดไหลลงไปในคอ แต่ถ้าเลือดออกมาก อาจมีเลือดบางส่วนไหลออกทางรูจมูกได้ ภาวะนี้พบได้น้อยกว่าแต่รุนแรงกว่า (เลือดออกปริมาณมากกว่าและห้ามเลือดได้ยากกว่าเลือดออกทางส่วนหน้าของจมูก)

ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ ในกรณีที่่
มีเลือดกำเดาออกติดต่อกัน นานมากกว่า 20 นาที
เกิดเลือดกำเดาไหล ตามหลังอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ (อาจมีการแตกของฐานกระโหลกศีรษะ) และใบหน้า (อาจมีจมูกหัก)

การวินิจฉัย

การซักประวัติ เพื่อ
ประเมินความรุนแรงของการเสียเลือด = ปริมาณเลือดที่ออกในแต่ละครั้งและจำนวนครั้งที่เลือดออก
หาสาเหตุของเลือดกำเดาไหล เช่น การแคะจมูกเป็นหวัดมีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจประวัติได้รับอุบัติเหตุบริเวณศีรษะและใบหน้ายาที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำมีเลือดออกผิดปกติที่อื่นร่วมด้วย เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
ตรวจดูค่าสัญญาณชีพ เพื่อประเมินสภาวะทั่วไปของผู้ป่วยและเตรียมการช่วยเหลือ
ตรวจภายในโพรงจมูกด้วยไฟฉาย เพื่อหาตำแหน่งที่มีเลือดออก
ตรวจร่างกายระบบอื่น เพื่อหาว่ามีเลือดออกผิดปกติที่อื่นร่วมด้วยหรือไม่ และตรวจร่างกายหาโรคที่อาจเป็นสาเหตุของเลือดกำเดาไหล เช่น ตับแข็ง
การส่งตรวจเพิ่มเติม
ตรวจเลือดหาความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดและเกร็ดเลือดที่ต่ำผิดปกติ
ตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับและไต ในกรณีที่สงสัยว่าเลือดกำเดาไหลจากโรคตับหรือไต
ส่องกล้องทางจมูกโดยแพทย์เฉพาะทางหูคอจมูก เพื่อดูว่าเลือดกำเดาที่ไหล ออกมาจากทางด้านหน้าหรือด้านหลังของช่องจมูก
การตรวจหาความผิดปกติของเส้นเลือดแดง โดยการใส่สายสวนเข้าไปในเส้นเลือดแดง

ภาวะแทรกซ้อน

ถ้าเลือดออกมาก (โดยเฉพาะเลือดออกจากส่วนหลังของจมูก) อาจทำให้เกิดภาวะซีดหรือความดันโลหิตต่ำได้ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นค่อนข้างน้อย

การรักษา

การดูแลในช่วงที่เลือดกำเดาไหล
ให้การปฐมพยาบาลขั้นต้น
ให้ผู้ป่วยก้มหน้าลง แล้วใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือบีบที่ปีกจมูกทั้งสองข้างให้แน่น เป็นเวลานาน 5–10 นาที ในขณะที่หายใจทางปากแทน วิธีนี้จะช่วยห้ามเลือดกำเดาชนิดเลือดออกทางส่วนหน้าของจมูกได้ดี
นั่งและโน้มตัวมาข้างหน้า เพื่อลดความดันของหลอดเลือดดำในโพรงจมูก จะช่วยให้เลือดออกน้อยลง และช่วยป้องกันการกลืนเลือดลงคอ ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
นำน้ำแข็งหรือ coldpack มาประคบบริเวณหน้าผากหรือคอ เพื่อให้เลือดหยุด การประคบน้ำแข็งควรประคบนานประมาณ 10 นาที แล้วจึงเอาออกประมาณ 10 นาที แล้วค่อยประคบใหม่เป็นเวลา10 นาที ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ

ถ้าเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติ ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ทันที แพทย์จะรักษาโดย
ทำการห้ามเลือด ด้วยวิธีใส่วัสดุห้ามเลือดในจมูกจี้บริเวณที่เลือดออกด้วยสารเคมีหรือไฟฟ้าการผ่าตัดผูกหลอดเลือดแดง เป็นต้น เพื่อให้เลือดหยุด
บางรายที่เลือดออกมากจนความดันโลหิตต่ำ อาจต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ หรือรายที่ซีด อาจจำเป็นต้องได้รับเลือด
หาสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดกำเดาไหล แล้วรักษาตามสาเหตุนั้น เพื่อให้เลือดหยุดไหลและป้องกันการกลับเป็นซ้ำอีก เช่น การปรับลดขนาดยาต้านการแข็งตัวของเลือด
แม้เลือดหยุดได้เอง แต่ถ้าเกิดขึ้นซ้ำบ่อยๆ ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุต่อไป


การดูแลภายหลังจากที่เลือดกำเดาหยุดไหลแล้ว : เพื่อป้องกันเลือดออกซ้ำ
ภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก หลังเลือดกำเดาไหล ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆการแคะจมูกการกระทบกระเทือนบริเวณจมูกการออกแรงมากการเล่นกีฬาที่หักโหมหรือยกของหนัก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกซ้ำได้
นอนพัก ยกศีรษะให้สูงกว่าระดับหัวใจ

สมุนไพรเยียวยาเลือดกำเดาไหล

นอกจากนี้ยังมียาสมุนไพรไทยรักษาเลือดกำเดาไหลจาก คุณบุญยืน ผ่องแผ้ว หรือหมอน้อย หมอสมุนไพรประจำคลินิกหนองบงการแพทย์แผนไทย จังหวัดลพบุรี มาแนะนำกันครับ

  1. ใบพลู ใช้ใบพลู ใบ ม้วนให้กลมเหมือนมวนบุหรี่ ขนาดให้พอดีรูจมูก ขยี้ปลายข้างหนึ่งให้พอช้ำ นำปลายที่ช้ำสอดเข้าไปในจมูกข้างที่มีเลือดไหล ทิ้งไว้ประมาณ ชั่วโมง เลือดจะหยุดไหล เพราะใบพลูมีสรรพคุณช่วยสมานแผลได้ดี
  2. น้ำมะนาว ใช้มะนาวครึ่งลูกบีบใส่น้ำร้อน แก้ว เติมเกลือครึ่งช้อนชา น้ำตาลทรายไม่ขัดขาวครึ่งช้อนโต๊ะ ชงดื่มครั้งละ แก้ว วันละ ครั้ง ก่อนอาหาร น้ำมะนาวมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน ลักปิดลักเปิด และเลือดกำเดาไหลได้
  3. รากต้นข้าว ใช้รากข้าวที่เกี่ยวแล้ว ต้น ถอนทั้งรากทั้งโคน ยาวประมาณ คืบ (ตั้งแต่รากขึ้นไป) ล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำ ลิตร รอจนเดือด กรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ แก้ว ก่อนอาหาร เช้า-เย็น ช่วยห้ามเลือดกำเดาไหล
  4. รากต้นฝรั่ง ใช้รากต้นฝรั่ง กำมือ ล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำ ลิตร รอจนเดือด กรองเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ แก้ว ก่อนอาหาร เช้า-เย็น
  5. รากหัวไชเท้า ใช้รากหัวไชเท้าหนัก บาท หรือประมาณ 15 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ตำหรือคั้นเอาแต่น้ำ จากนั้นใช้น้ำที่คั้นได้หยอดเข้าทางจมูกข้างที่มีเลือดไหล 1-2 หยด หัวไชเท้ามีสรรพคุณสมานแผลและห้ามเลือดได้
  6. รากไพล ใช้รากไพล ราก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด หลังจากนั้นใส่น้ำเปล่า หยด ขยี้ให้เข้ากัน กรองเอาแต่น้ำ หยอดน้ำรากไพลในรูจมูกข้างที่เลือดไหล ไพลมีสรรพคุณช่วยแก้เลือดกำเดาไหลและฆ่าเชื้อ
            นอกจากนี้ หมอน้อยได้ให้ตำรับยาไทยสูตรโบราณ ซึ่งมีสรรพคุณสมานบาดแผล ห้ามเลือด และฆ่าเชื้อได้ดีมาฝากกันโดยใช้ขมิ้นอ้อย แว่น ขมิ้นชัน แว่น เกลือตัวผู้ เม็ด กระเทียม กลีบ ตำทุกอย่างให้เข้ากันดี หลังจากนั้นนำยาทั้งหมดเคี่ยวกับน้ำมันพืชครึ่งลิตร เคี่ยวจนกระเทียมไหม้ดี แล้วจึงยกขึ้นและกรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำมัน หลังจากนั้นใส่เหล้า หยด ใส่ภาชนะขวดแก้วเก็บไว้ เมื่อมีเลือดออกในจมูก ให้นอนหงายและใช้คัตตอนบัด (สำลีปั่นหู) จุ่มน้ำมันทาภายในรูจมูกข้างที่มีเลือดออก คลึงจมูกเบาๆ ทำวันละ ครั้ง หรือเวลาที่มีเลือดกำเดาไหลเพียงเท่านี้อาการเลือดกำเดาไหลที่หลายคนเคยตื่นตระหนกก็หยุดไหลด้วยดี แต่ถ้าทำตามขั้นตอนเหล่านี้แล้ว เลือดยังไม่หยุดไหลหรือเลือดยังไหลลงคอไม่หยุด ขอแนะนำว่าควรรีบไปพบแพทย์ที่อยู่ใกล้ๆ บ้านโดยด่วนครับ

อ้างอิงข้อมูล
ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
และ
http://healthfood.muslimthaipost.com
นิตยสารชีวจิต http://www.cheewajit.com/