ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง
บ้านท่าเรือ หมู่ 13 
ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา


ประวัติศาสตร์ชุมชน

               ประวัติหมู่บ้านท่าเรือ มีพ่อแก้วต๊ะ แม่อุ้ยมา พ่ออุ้ยป๋า พ่อมาแซ๋ว ปู่โท่ ย่าด้วง แม่คำ พ่ออุ้ยมาก แม่อุ้ยเขียว พ่อปุด แม่จันทร์ แม่ยวง พ่อโต๊ะ พ่อเปียง พ่อมี พ่อโต แม่ตา พ่ออุ้ยเผิ้ง พ่อหนานคำ พ่อนวล ใจหมั่น พ่อศรีวัย ทันแก้ว พ่ออินคำ อินต๊ะสุวรรณ พ่อกำนันแก้ว นามบ้าน พ่ออุ้ยหนานปวก พ่ออุ้ยสาม พงษ์ยศ พ่อมา พงษ์ยศ พ่อเป็ง ยศสมแสน พ่อตั๋น ทะนันไชย พร้อมด้วยชาวบ้านดอนมูลอีกหลายครอบครัวได้มาสร้างและจับจองที่ดินโรงเรือนวัว ควาย และทำสวน ทำนา ทำไร่ 
                 ต่อมาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ.2480 ได้มีทหารญี่ปุ่นและทหารสัมพันธมิตร สู้รบกันได้มีทหารล้มตายและมีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ถูกลูกหลงจากการสู้รบของทหารญี่ปุ่น และทหารสัมพันธมิตรรวมใจกันเป็นอย่างมาก จึงนำศพของทหารที่สู้รบกัน และชาวบ้านไปเผารวมกันที่สันโป่ง ซึ่งเป็นทางทิศตะวันตกของถนนปัจจุบัน ติดกับศูนย์ ไมตรีจิตรอยู่ทางทิศใต้ของศูนย์ไมตรีจิตร 

ปี พ.ศ. 2482 ได้มีการกั้นประตูน้ำ ที่สถานีประมง อำเภอพะยาว จังหวัดเชียงราย ได้มีน้ำท่วมถนนสายทางไปสู่บ้านดอนมูล และบ้านท่าเรือต้นศรี จึงมีกลุ่มรับจ้างแจวเรือข้ามฟากจากบ้านท่าเรือต้นศรีซึ่งอยู่จุดที่ใต้ต้นศรีหรือต้นมหาโพธิ์ข้างทางสองต้น มีนายอึด พ่อหนานคำ พ่อหน้อยลึก พ่อมาว้อง พ่อเยง พ่ออุ้ยเผิ้ง กับพ่อจ้างชาวบ้านอีกหลายคน ซึ่งจำได้ไม่หมดรับจ้างค่าโดยสารเรือข้ามฟาก จากบ้านท่าเรือต้นศรี ไปบ้านดอนมูล ค่าโดยสารคนละ 10 สตางค์ ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านท่าเรือต้นศรี 

ปี พ.ศ. 2495 เจ้าหนานศรีวิราชซึ่งเป็นพ่อของเจ้าหนานศรีสุวรรณ และเจ้าสร้อย ศักดิ์ศรีดี และเจ้านารา พร้อมด้วยพ่อแก้วต๊ะ และ ชาวบ้านได้นิมนต์พระสงฆ์มาย้าย ปลาสุสานจากสันโป่งมาตั้งอยู่ที่ปัจจุบันต่อมาสมัยพ่อกำนันแก้ว นามบ้าน 

ปี พศ. 2489 ถึง 2499 ได้รับงบประมาณทางราชการทำการก่อสร้างสะพานและถนนข้ามแม่น้ำอิงจึงได้ไปซื้อบ้านไม้ของพ่อก้อน เก่งแรง แม่เกี้ยว อ้อยไร่ มาสมทบสร้างสะพานและขอความร่วมมือผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบลบ้านต๊ำและชาวบ้านได้นำเกวียนมาบรรทุกดินและหินจากม่อนฝาเกี๋ยง มาสร้างสะพานสมัยนั้นบ้านดอนมูลมี พ่อหลวงจื่น เกวียนคําและพ่อหนานสูง สารงาม และนายตื่นเกวียนคำ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

ปี พ.ศ. 2502 สร้างสะพานและถนนเสร็จได้จัดงานฉลองสมโภช มี มวยรำวงที่บริเวณทิศตะวันตกของถนนจากนั้นมาจึงเรียกว่าบ้านท่าเรือ ต่อมาสมัยพ่อกำนันลือ ยวงข้าวประมาณปีพ.ศ 2510 กว่า พ่อกำนันแก้ว นามบ้าน พร้อมประชาชนบ้านต๊ำ บ้านท่าเรือ บ้านป่าสักมาช่วยกันถางป่าพบวัดร้างอยู่วัดหนึ่งจึงสงวนที่ดินเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่เศษ เอาไว้สร้างวัดและได้มีชาวบ้านประกอบด้วย ลุงหนานสวัสดิ์ หมู่ศักดิ์ หมอจิต ปลัดสานิตย์ ถูกอย่าง กำนันแก้ว นามบ้าน ฯลฯ ได้ของที่ดินคนละ 1-2 ไร่ต่อมาชาวบ้านชุดเดิมได้เดินทางไปขอหลวงพ่อไพบูลย์ สุมํฆโล ให้เดินทางมาดูสถานที่ที่จะสร้างวัดบริเวณวัดร้างดังกล่าวหลวงพ่อไพบูลย์ได้ส่งหลวงพ่อสมศักดิ์และครูบาสมจิตต์มาจำพรรษาอยู่ชาวบ้านจึงเดินทางไปร่วมกิจกรรมวัดรัตนวรารามโดยเฉพาะวันเกิดหลวงพ่อไพบูลย์ สุมํฆโล หลวงพ่อได้ก่อสร้างสำนักสงฆ์ผู้ที่จับจองที่ดินไว้รอบ ๆ บริเวณวัดต่าง ๆ พร้อมใจกันยกที่ดินบริจาคเป็นสมบัติของสำนักสงฆ์ คงเหลือที่นาของกำนันแก้วอยู่ประมาณ 3 ไร่เศษ ต่อมาหลวงพ่อสุเมธ สุเมโธ มาบวชเป็นพระสงฆ์ได้พัฒนาบูรณาปรับปรุงสำนักสงฆ์ตั้งชื่อว่า สำนักสงฆ์พระศรีอุดมธรรม

ปี พ.ศ.2513 ได้มีการสร้างถนนโดยบริษัทโคชี้ฟ้า มาตัดต้นโพธิ์ทองต้นเพื่อสร้างถนนเป็นไรทางจากบ้านท่าเรือต้นศรีมาเป็นบ้านท่าเรือหรือชาวบ้านเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าบ้านหล่ายอิง ต่อมาพ่อหลวงกำจร เหมี้ยงหอม เป็นผู้ใหญ่บ้าน และมีนายสุก ปวงจำ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแงะนายหว้อ เหมี้ยงหอม และต่อมาสมัยพ่อหลวงก้ำ เหมี้ยงหอม เป็นผู้ใหญ่บ้านมีนายสิงห์แก้ว ใจหมั่น และนายประเสริฐ สุทธนะ ด้วยให้นายสิงห์แก้ว ใจหมั่น เป็นผู้ดูแลบ้านท่าเรือ จนมาถึงพ.ศ 2541 ซึ่งได้แยกหมู่บ้านจากบ้านดอนมูล หมู่ที่ 2 มาเป็นบ้านท่าเรือ หมู่ที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 โดยความหมายของบ้านท่าเรือ คือ เคยเป็นท่าเรือจอดเทียบท่า รับจ้างขนส่งคนข้ามฝากมายังตำบลบ้านต๊ำ จากนั้นจึงเรียกว่า "บ้านท่าเรือ"

ภาพโดยคณะนิสิตสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ.2563

แผนที่หมู่บ้านท่าเรือ


โดยคณะนิสิตสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ.2563