ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง
บ้านต๊ำดอนมูล หมู่ 2
ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา


ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
คำว่า “ต๊ำ” มีความเป็นมาอยู่ 2 แนวคิด คือ แนวคิดที่หนึ่งเป็นแนวคิดเชิงธรรมชาติมีน้ำขุนต๊ำไหลผ่านจึงได้นามตามขุนน้ำว่า บ้านต๊ำ แนวคิดที่สองเป็นแนวคิดเชิงนิทานพื้นบ้าน คือ มาจากคำว่า ขะตั๊ม (ภาษาท้องถิ่น หมายถึงเครื่องมือดักสัตว์ชนิดหนึ่ง) มีเรื่องเล่าว่าพ่อขุนงำเมืองไล่จับพ่อขุนรามที่แปลงกายเป็นเสือไปติดกับดัก ณ บริเวณนี้ ดังนั้นบริเวณดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า บ้านขะตั๊ม ต่อมาเพี้ยนเป็นบ้านต๊ำนั้นเอง

คำว่า "ดอนมูล" มาจากมูลของสัตว์ที่กองทับถมกันมาจนสูงจากระดับปกติ สันนิษฐานว่ามาจากการเข้า กรรมรุกขมูลของพระสงฆ์และมีต้นไม้ใหญ่ที่มีดินทับถมกันมากจนเป็นดอน รวมสองคําเรียกว่า “บ้านดอน มูล” 

บ้านต๊ำดอนมูล ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ทั้งหมด 350 ไร่ มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 157 ครัวเรือน ลักษณะทั่วไปของหมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่ราบเหมาะแก่การทำการเกษตร เพาะปลูก มีลำน้ำแม่ต๊ำไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ทำให้เกษตรกรมีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช การสร้างบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านปูนชั้นเดียวและอาศัยอยู่รั้วบ้านใกล้กัน ทำให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของชาวบ้าน  ทางเข้าหมู่บ้านติดกับถนนใหญ่ เส้นทางคมนาคมสะดวก และรอบหมู่บ้านอยู่ติดกับหลายพื้นที่ เช่น ท่าจำปี บ้านต๋อมทำให้ง่ายต่อการติดต่อกันและการค้าขาย

ที่มา : นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยพะเยา 2562

บ้านต๊ำดอนมูล หมู่ 2 มีจำนวน 157 หลังคาเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว มีส่วนน้อยที่เป็น ครอบครัวขยาย อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขมีการพึ่งพาอาศัยกันเหมือนญาติมิตรกัน พื้นที่ของหมู่บ้านส่วน รอบล้อมด้วยภูเขา ใหญ่จะเป็นที่ตั้งบ้านเรือนและทางทิศตะวันตกจะเป็นพื้นที่ของท้องนาเป็นบริเวณ

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดกับตำบลท่าจำปี ตำบลท่าจำปี อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  • ทิศใต้ ติดกับบ้านร่องไผ่ ตำบลบ้านต่อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 
  • ทิศตะวันออก ติดกับบ้านท่าเรือ ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 
  • ทิศตะวันตก ติดกับบ้านป่าลาน ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
บ้านต๊ำดอนมูลเริ่มตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2430 โดยมีท้าวแสนยศ พงษ์ยศ เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้ใหญ่บ้าน ท่านแรก ซึ่งได้พาชาวบ้านจำนวน 15 หลังคาเรือนอพยพมาจากบ้านห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมแม่น้ำต๊ำซึ่งในสมัยนั้นมีต้นค่าปลูกอยู่ริมแม่น้ำจำนวนมากจึงได้ตั้งชื่อว่า หมู่บ้านต้นค่า จากข้อสันนิษฐานมี 2 ประการ 
  • ประการแรก คือ จากการที่ชาวบ้านในสมัยนั้นเลี้ยงสัตว์ คือ วัว ควาย ซึ่ง ชาวบ้านได้พาวัว ควาย ไปเลี้ยงใกล้ริมแม่น้ำต๊ำผูกมัดไว้ใต้ต้นฆ่าทำให้วัว ควายถ่ายมูลออกมาเป็นกองทับถม กันจำนวนมาก จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น บ้านต๊ำดอนมูล
  • ประการที่ 2 คือ สันนิษฐานว่ามาจากในปี 2540 ท่านพระครูบาปินตาได้มาก่อตั้งวัดริมแม่น้ำต๊ำได้เข้า พิธีเข้ากรรมรุกขมูลใต้ต้นค่าและบริเวณนั้นมีต้นไม้ใหญ่ที่มีดินทับถมกันมากจนเป็นดอน จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บ้านดอนมูล

ลำดับการเกิดเหตุการณ์

  • พ.ศ. 2430 เริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน
  • พ.ศ. 2450 เริ่มก่อตั้งวัด
  • พ.ศ. 2483 เริ่มก่อตั้งโรงเรียน
  • พ.ศ. 2489 เริ่มก่อตั้งศาลาผีปู่ผีย่า
  • พ.ศ. 2508-2509 เริ่มมีรถจักรยานและรถจักรยานยนต์
  • พ.ศ. 2517 เริ่มมีรถยนต์คันแรกของหมู่บ้าน
  • พ.ศ. 2521 เริ่มมีไฟฟ้าและโทรทัศน์เครื่องแรก
  • พ.ศ. 2525 เริ่มมีรถอีแต้นใช้ในชุมชนเพื่อใช้ในการขนส่งผลผลิตเกษตรกรรม
  • พ.ศ. 2528 เริ่มมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
  • พ.ศ. 2539 มีถนนเข้าหมู่บ้าน
  • พ.ศ. 2541 มีระบบน้ำโยก อาคารเอนกประสงค์
  • พ.ศ. 2543 มีน้ำประปาหมู่บ้านและรถไถนา
  • พ.ศ. 2546 มีอาคารเอนกประสงค์
  • พ.ศ. 2548 มีเสียงตามสายศาลา SML และมีโรคไข้เลือดออกระบาด
  • พ.ศ. 2552 มีกุ้งฉางข้าวและศูนย์หัตถการเสื่อกก

ประวัติการก่อตั้งวัดดอนมูล
วัดดอนมูล ตั้งอยู่เลขที่ 2 หมู่ 2 ตำบลบ้านต๊ำดอนมูล อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดิน ที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 3 ไร่ 52 ตารางวา โฉนดเลขที่ 16437 สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2450 มีท่านพระครูบาปันตาเป็น ผู้ก่อตั้งวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 15 มกราคม 2513 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร รวมประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน 129 ปี การบริหารและการปกครองวัดตอนมูลมีเจ้าอาวาส จำนวน 12 รูป คือ
  1. พระครูบาขึ้นตา พ.ศ. 2450-2460
  2. พระคำ พ.ศ. 2461-2471 
  3. พระชุม พ.ศ. 2472-2475 
  4. พระบุญตัน พ.ศ. 2476-2485 
  5. พระน้อย พ.ศ. 2486-2490 
  6. พระศรี พ.ศ. 2491-2494 
  7. พระอินโต พ.ศ. 2495-2499 
  8. พระประทับ พ.ศ. 2500-2509 
  9. พระสนั้น พ.ศ. 2510-2519 
  10. พระอินจันทร์ พ.ศ. 2520-2520 
  11. พระสุพจน์ สิริมงคลโล พ.ศ. 2524-2531 
  12. พระครูวิจิตรวรการ พ.ศ. 2532

ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ
  • ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคมและร้อนจัดในเดือนเมษายน
  • ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมจะมีปริมาณฝนตกมากในเดือนสิงหาคมและเดือน กันยายน 
  • ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์และจะหนาวจัดในเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม 

สภาพภายในหมู่บ้าน

บ้านต๊ำดอนมูล หมู่ 2 มีบ้านเรือนทั้งหมด 157 หลังคาเรือน ประชาชน มีวิถีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย โดยการทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าว อาชีพอื่นนอเกษตรกรรม ได้แก่ การประมง รับจ้าง หัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือนซึ่งมี 3 ประเภท คือ จักสานไม้ไผ่ การทอตุงและเสื่อกก การจักสานผักตบชวา รับราชการ ทำงานประจำบริษัทเอก ค้าขาย การท่องเที่ยวและ บริการ อีกทั้งยังมีกลุ่มส่งเสริมอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มทอเสื่อกก กลุ่มผักตบชวา กลุ่มปลาแคลเซียม เป็นต้น ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ในระดับปานกลาง นับถือศาสนาพุทธเกือบทั้งหมดทุกหลังคาเรือน ประชาชนให้ความสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและประเพณีท้องถิ่น มีการทำบุญตักบาตรและ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในทุกวันสำคัญทางศาสนา 

พื้นที่ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณที่ตั้งของชุมชน บ้านเรือนส่วนใหญ่จะมี ความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ ลักษณะบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านกิ่งไม้กึ่งปูน 2 ชั้น สภาพบ้านเรือนมีความ มั่นคงถาวร มีรั้วรอบขอบชิดและครอบครัวส่วนใหญ่จะมีการปลูกผักสวนครัว เช่น ขมิ้น ตะไคร้ ใบกระเพรา ขิง ข่า ผักชีฝรั่ง เป็นต้น เลี้ยงสัตว์ทั้งสัตว์ที่เลี้ยงไว้ขายและเป็นอาหาร ได้แก่ ไก่ และสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อความ เพลิดเพลิน ได้แก่ สุนัข แมว เป็นต้น และมีพื้นที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน เช่น ศาลาอเนกประสงค์

มีวัด 1 แห่งอยู่ในเขตหมู่ 2 (วัดดอนมูล) มีโรงเรียน 1 แห่งอยู่ในเขต หมู่ 2 (โรงเรียนบ้านดอนมูล) ตลาดเล็กๆ อยู่หน้าศาลาเอนกประสงค์ 1 แห่ง และร้านขายของชํา 5 แห่ง ร้านเสริมสวย 1 แห่ง ร้านซ่อมรถ 1 แห่ง

การคมนาคมภายในและภายนอกหมู่บ้าน

ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต 2 ช่องทางเดินรถ ถนนภายนอกหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง 2 ช่อง ทางเดินรถเป็นเส้นตรงและคดโค้งตามสภาพภูมิประเทศของหมู่บ้าน ด้านข้างของถนนภายในหมู่บ้าน มีบ้านเรือน มีต้นไม้ขึ้นตลอดทาง ด้านข้างของถนนภายนอกหมู่บ้านด้านซ้ายเป็นที่ตั้งของบ้านเรือน วัด ด้านขวาติดกับทุ่งนาและบ้านเรือน ถนนเรียบทำให้สะดวกต่อการเดินทาง ส่วนใหญ่จะใช้ยานพาหนะใน การเดินทาง ได้แก่ รถจักรยานยนต์ รถยนต์และรถจักยาน ระยะเวลาในการเดินทางไปในเมืองใช้เวลาประมาณ 30 นาที 

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน 
มีทั้งทรัพยากรป่าไม้ ดินและน้ำ ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้ มีความอุดมสมบูรณ์ ยกเว้นทรัพยากรน้ำที่อาจขาดแคลนในช่วงฤดูแล้ง มีลำธารไหลผ่านกลางหมู่บ้าน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางนิเวศวิทยา แหล่งน้ำกินน้ำใช้ น้ำการเกษตร
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของบ้านต่ำดอนมูล หมู่ที่ 2 มีลักษณะทางนิเวศที่สมดุลเนื่องจาก มีการอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติ ส่วนใหญ่มีอาชีพด้านเกษตรกรรม 

แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค คือ โรงบรรจุน้ำดื่ม ประปาหมู่บ้าน บ่อน้ำ
 
ลักษณะการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม ผลผลิต ได้แก่ ข้าว กระเทียม หอมแดง มันสำปะหลัง

ภาษาที่ใช้  : ภาษาถิ่นเหนือ

สภาพทางเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพ อาชีพหลัก อาชีพรอง และอาชีพเสริม ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน
  • รายได้เฉลี่ยภาคเกษตร 50,000 บาท/ครัวเรือน/ปี
  • รายได้เฉลี่ยนอกภาคเกษตร 108,000 บาท/ครัวเรือน/ปี 
  • รายได้เฉลี่ยของประชากร 30,000 บาท/ครัวเรือน/ปี 
อาชีพหลัก คือ อาชีพทำนา  อาชีพรอง คือ รับจ้างทั่วไป อาชีพเสริม คือ การประมง
รายได้ของประชาชน มาจากภาคการเกษตรกรรม
รายจ่ายของประชาชน คือ ค่าใช้จ่ายทางการเกษตร ใช้จ่ายด้านการอุปโภคบริโภค ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร และอื่นๆ

โครงสร้างองค์กรชุมชนในหมู่บ้าน
สำหรับการปกครองภายในหมู่บ้าน แบ่งการปกครองแบ่ง 6 คุ้ม ซึ่งแต่ละคุ้มจะดูแลครัวเรือน ทั้งหมดประมาณ 30 ครัวเรือนต่อ 1 คุ้ม และจะมีหัวหน้าคุ้มและคณะกรรมการให้การดูแลสมาชิก โดยมีผู้นำชุมชนคือ นายพักตร์กฤษณ์ชัย ถึงการ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน


ระบบสุขภาพชุมชน

S (Strength)

  • มีการรักษาโรคแบบผสมผสานทั้งแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์พื้นบ้าน
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๊ำ มีการพยาบาลเชิงรุก โดยมีการจัดโครงการต่างๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับการการดูแลตนเอง และออกเยี่ยมบ้านประจำทุกเดือน
  • มี อสม. ช่วยในการคัดกรองสุขภาพคนในชุมชน

W (Weakness)

  • มีการประกอบอาหารโดยใช้เครื่องปรุงรส และซอสต่างๆในการประกอบอาหารเป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ 
  • พฤติกรรมการใช้สารเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ 
  • มีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่เข้าใจว่าการทำงานและกิจวัตรประจำวันเป็นการออกกำลังกาย 
  • เมื่อเกิดความเจ็บป่วยชาวบ้านบางส่วนมักซื้อยามารับประทานเอง 
  • ชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นเครือญาติเดียวกัน จึงมีโอกาสการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม

O (Opportunity)

  • ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ เกี่ยวกับสิทธิการรักษา ทำให้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาการพยาบาล
  • ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทำให้มีการใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
  • อสม.ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๊ำอย่างต่อเนื่อง
  • ระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีเข้าถึงชุมชนทำให้มีการรับรู้ข่าวสารทางด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น

T (Threat)

  • มีร้านค้าสะดวกซื้อ และร้านขายของชำเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้การเข้าถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายเพิ่มมากขึ้น
  • มีสื่อโฆษณาเกี่ยวกับผงชูรสและซอสปรุงรสต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มรสอาหารมากขึ้น

ปฏิทินชุมชนบ้านต๊ำดอนมูล

มกราคม (เดือนสี่) ประเพณีตานข้าวใหม่ เป็นประเพณีที่มักจะจัดในช่วงเดือนมกราคมหรือเดือนสี่เป็งของชาวล้านนา ชาวบ้านจะนำข้าวใหม่ที่เก็บเกี่ยวแล้วเก็บไว้บนยุ้งฉางที่บ้านมาทำบุญก่อนจะนำมารับประทาน โดยตอนเช้าชาวบ้านจะนำข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสวยที่เป็นข้าวใหม่พร้อมอาหารคาวหวาน นำมาตักบาตร ตานขันข้าว ถวายพระสงฆ์ที่วัดแม่กาไร่ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้เทวดา ให้ญาติที่ล่วงลับ แม่โพสพ เป็นต้น-งานทำบุญประเพณีขึ้นปีใหม่
กุมภาพันธ์ (เดือนห้า)
  • ทำบุญวันมาฆบูชา
  • เลี้ยงผีปู่ย่า เป็นการจัดอาหารคาวหวานไปเซ่นสังเวยแก่ดวงวิญญาณผู้ตาย ณ หิ้งผีปู่ย่า โดยชาวล้านนามีความเชื่อว่า เมื่อปู่ ย่า ตา ยาย เสียชีวิตไปวิญญาณจะวนเวียนมาคอยปกปักรักษาลูกหลาน ให้อยู่สุขสบาย ไม่เจ็บป่วย 
มีนาคม (เดือนหก) รณรงค์ ลด ละ เลิก การเผาขยะ หรือเศษใบไม้ และส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชน
เมษายน (เดือนเจ็ด) 
  • งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง ขนทรายเข้าวัด ตักบาตรฟังเทศน์
  • ตานตุง ตานธรรม สรงน้ำพระ 
  • ประเพณีแห่ไม้ค้ำศรี 
  • รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ 
  • รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่บ้าน -เล่นน้ำสงกรานต์ของเด็กในหมู่บ้าน
พฤษภาคม (เดือนแปด) 
  • วันวิสาขบูชา
  • ประเพณีแปดเป็ง
มิถุนายน (เดือนเก้า)
  • การเลี้ยงผีฝาย
  • ประเพณีเลี้ยงผีปู่ ผีย่า 
  • เลี้ยงผีขุ่นน้ำ โดยในสมัยก่อนจะใช้ “ก๋องคำ” หรือ สุนัข ในการไปเลี้ยงผีขุ่นน้ำ พร้อมกับ เหล้า และของเซ่นไหว้ และต่อมาในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการนำไก่ต้มไปเลี้ยงแทน วัตถุประสงค์ของการไปเลี้ยงผีขุ่นน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี และเป็นการขอขมาแม่น้ำ
กรกฎาคม (เดือนสิบ) 
  • ทำบุญตักบาตรวันเข้าพรรษา
  • ประเพณีเข้าพรรษาถวายเทียน ถวายผ้าอาบน้ำฝน 
  • วันอาสาฬหบูชา
สิงหาคม (เดือนสิบเอ็ด) วันแม่แห่งชาติ
กันยายน (เดือนสิบสอง) 
  • ประเพณีออกพรรษา
  • ตักบาตรเทโววันออกพรรษา
ตุลาคม (เดือนเกี๋ยง) 
  • ประเพณีตานก๋วยสลากภัตร (เดือนเกี๋ยงออกเจ็ดค่ำเป็นวันดาออกแปดค่ำ เป็นวันตานก๋วยสลาก)
  • ทอดกฐิน
พฤศจิกายน (เดือนยี่) ประเพณีลอยกระทง (ยี่เป็ง)
ธันวาคม (เดือนสาม) 
  • ประเพณีการแข่งขันกีฬาสี 4 หมู่บ้าน
  • เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
Check in Tumdonmoon M.2 Phayao Thailand