การตรวจนับความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตอนที่ 2
เกร็ดเลือด มีรูปร่างกลมแบน ไม่มีนิวเคลียส ขนาด 2-4 ไมครอน เล็กกว่าเม็ดเลือดขาว และ เม็ดเลือดแดง ปกติจะมีเกร็ดเลือดประมาณ 250,000 – 300,000 เซลล์ต่อเลือด 1 ลบ.ซม.
หน้าที่ของเกร็ดเลือด
การรักษาความสมดุลภายในหลอดเลือด (hemostasis) และ ช่วยในการอุดรอยรั่ว เมื่อเกิดการฉีกขาดของผนังเส้นเลือดได้ ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว โดยผลิตแอนไซน์ทรอมโบพลาสตินอ (Thromboplastin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว ดังนั้นการมีปริมาณของเกร็ดเลือดที่มากเกินไปทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดได้ง่าย และนำไปสู่การเกิดก้อนลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดได้ ในทางตรงกันข้ามหากมีปริมาณของเกร็ดเลือดน้อยเกินไปก็จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติในกระบวนการห้ามเลือด เกิดเลือดไหลหยุดช้า หรือเลือดไหลไม่หยุดได้
กลไกการห้ามเลือดของร่างกายเมื่อเกิดการบาดเจ็บของเส้นเลือด

2. เกล็ดเลือดจะปล่อยสารกระตุ้นให้เส้นเลือดหดตัว ช่วยในการห้ามเลือด และ เกิดเป็นลิ่มเลือดอุดรูรั่วหรือบริเวณที่ฉีกขาดไว้
3. ลิ่มเลือดนี้จะอุดรูรั่วไว้ จนกว่าร่างกายจะซ่อมแซมผนังเส้นเลือดจนหายเป็นปกติ
ขั้นตอนการแข็งตัวของเลือด
1. เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้นในร่างกาย ผนังของเส้นเลือดฉีกขาด เซลล์จะถูกทำลาย เกร็ดเลือดจะเคลื่อนมายังบริเวณที่ฉีกขาดนี้ เนื้อเยื่อที่ถูกทำลายและเกล็ดเลือด จะปล่อยทรอมโบพลาสตินออกมา
2. ทรอมโบพลาสติน จะไปเปลี่ยนโปรทรอมบินให้เป็นทรอมบินโดยใช้ แคลเซียม
3. ทรอมบินจะเปลี่ยนไฟบริโนเจนในเลือดให้เป็นไฟบริน ไฟบรินจะประสานกันเป็นร่างแหหดตัวและดึงผิวบาดแผลให้ชิดกัน และปิดบาดแผล เลือดจะหยุดไหล2. พลาสมา (Plasma) เป็นส่วนที่เป็นของเหลวในเลือด มีสีเหลืองใส มีฤทธิ์เป็นด่างเล็กน้อย หน้าที่ของพลาสมา ในพลาสมามีส่วนประกอบที่สำคัญและหน้าที่ ดังนี้
ส่วนประกอบ
|
หน้าที่
|
1. ปริมาณ 90-93% ของน้ำเลือดทั้งหมด
|
- ทำละลายของอาหาร ก๊าซ ของเสียต่างๆในเลือด
- ช่วยลดความหนืดของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ง่าย
|
2. โปรตีนชนิดต่างๆ 6-8%
| |
- albumin(อัลบูมิน)
|
- ทำให้เกิดแรงดันออสโมซิสในน้ำเลือด รักษาปริมาตรของเลือด และ รักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย
|
- globulin (แกรมมาโกลบูลิน)
|
- เป็นตัวพาสารต่างๆ และ สร้าง antibody
|
- fibrinogen (ไฟบริโรเจน)
|
- ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว
|
3. โปรตีนที่ช่วยควบคุมและป้องกัน
| |
- antibody
|
- ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย
|
- hormone
|
- ช่วยควบคุมการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ
|
- enzyme
|
- ช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
|
4. เกลือแร่ต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ โซเดียมคาร์บอเนต โซเดี่ยมคลอไรด์ และ เกลือแคลเซียม
|
- ถ้าเป็นของเสียจะถูกกำจัดออก ถ้าเป็นสารอาหารจะอยู่ในน้ำเลือด เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของเซลล์
|
5. สารอนินทรีย์ เช่น ยูเรีย กรดยูริก แอมโมเนีย กรดอะมิโน กลูโคส ไขมัน
|
- มีความสำคัญต่อความเป็นกรดเป็นด่างของร่างกาย ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ผนังเซลล์ การหดตัวของกล้ามเนื้อ การขนส่งก๊าซ
|
6. - ก๊าซออกซิเจน
|
- ใช้ในการหายใจ ส่วนใหญ่ถูกลำเลียงโดย hemoglobin ส่วนน้อยละลายในพลาสมา
|
- ก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์
|
- ของเสียจากการหายใจ ส่วนใหญ่ละลายในพลาสมา ส่วนน้อยละลายใน hemoglobin
|
การตรวจ CBC จะบอกอะไรบ้าง ?

ประโยชน์ของการตรวจ ทำให้ทราบถึงสภาวะสุขภาพของร่างกาย และความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งจะมีประโยชน์ในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ เช่น การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัย เพื่อค้นหาความผิดปกติในระยะแรกเริ่มจะเป็นประโยชน์สำหรับการป้องกัน และรักษาโรคได้ทันการ
การเก็บเลือดเพื่อตรวจ โดยเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำบริเวณข้อแขนหรือข้อมือ ใช้ปริมาณประมาณ 2.5 - 3 มิลลิลิตร และเก็บเลือดไว้ในหลอดแก้วที่บรรจุสารกันเลือดแข็งที่เรียกว่า อีดีทีเอ (EDTA) ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดที่จะตรวจ
มีวิธีการตรวจ CBC มีดังนี้
1. วิธีตรวจโดยนำเลือดมาตรวจบนแผ่นสไลด์ และส่องกล้องจุลทรรศน์ และนำเลือดบางส่วนมาปั่นเพื่อหาค่าความเข้มข้นของเลือด(ปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น) ส่วนการตรวจเม็ดเลือดขาวก็นำมาผ่านกรรมวิธีทำลายเม็ดเลือดแดงแล้วจึงเอามาใส่สไลด์และส่องกล้องเพื่อนับปริมาณเม็ดเลือดขาวอีกครั้งหนึ่ง
ข้อดี วิธีนี้เป็นวิธีที่แน่นอนเป็น conventional method เป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์ทั่วโลก
ข้อเสีย คือ ใช้เวลา ในกรณีที่ต้องตรวจเป็นจำนวนมาก เช่นในการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นหมู่คณะจะไม่สามารถกระทำได้เพราะใช้เวลาและมีรายละเอียดการทำค่อนข้างมาก ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ การวินิจฉัยบางโรคจำเป็นต้องใช้อายุรแพทย์ทางโลหิตวิทยา
2. วิธีตรวจด้วยการประมาณ เป็นวิธีที่ใช้หลักการเดียวกับวิธีที่1 แต่ตัดขั้นตอนที่ละเอียดและใช้เวลาลง โดยการ นำเลือดมาปั่นหาค่าความเข้มข้นของเลือด และดูจากสไลด์เท่านั้น ซึ่งปริมาณเม็ดเลือดขาวที่ได้ก็จะเป็นการกะประมาณ ค่าอื่นๆ เช่น ปริมาณฮีโมโกลบินก็ไม่สามารถตรวจได้
ข้อดี เพียงอย่างเดียวคือประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย ไม่สามารถเป็นตัววินิจฉัยหรือคัดกรองได้ และมีโอกาสพลาดได้หากตรวจเป็นจำนวนมากๆ และยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์
3. วิธีตรวจด้วยเครื่อง Fully automatic blood analyzer เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการตรวจ CBC ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ที่มีตัวอย่างเลือดต้องตรวจมาก
ข้อดี คือ รวดเร็ว ภายใน 1 นาทีก็ได้ผลแล้ว และแน่นอน ผิดพลาดน้อยมาก ใช้เป็นการ screening เบื้องต้นได้ เพราะสามารถตรวจองค์ประกอบของเลือดได้ละเอียดมากถึง 18-22 ค่า คือดูทุกแง่ทุกมุม แต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือ ถ้ามีผลการตรวจที่ผิดปกติต้องตรวจซ้ำโดยวิธีที่ 1 เพราะการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูรูปร่าง ลักษณะ การติดสีของเม็ดเลือดนั้น คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถทำแทนมนุษย์ได้
ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายจะสูง 3-4 เท่า กว่า วิธีที่ 1 และ 2
ข้อพิจารณาอย่างหนึ่งในการตรวจ CBC คือ การตรวจนั้นจะต้องกระทำให้เสร็จสิ้นไม่เกิน 24 ชั่วโมง หลังเจาะเลือดมาแล้ว เพราะแม้ว่าจะมีการใส่สารกันเลือดแข็งเพื่อรักษารูปร่างของเม็ดเลือดแล้วก็ตาม ขนาดของเม็ดเลือดขาวที่ออกมานอกร่างกายจะค่อยๆ เล็กลง และแตกสลายไป เมื่อมาทำการตรวจไม่ว่าจะเป็นวิธีใด ก็ตรวจได้สามารถรายงานค่าได้เหมือนกัน แต่ค่าที่ได้จะไม่เป็นค่าที่แท้จริง เท่ากับสูญเปล่าโดยเปล่าประโยชน์ สาเหตุนี้เอง โรงพยาบาลที่มีผู้ต้องตรวจ CBC เป็นจำนวนมากจึงนิยมใช้การตรวจด้วยวิธีที่ 3 เพื่อรักษาคุณภาพ แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าหลายเท่าตัวก็ตาม