ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง
บ้านต๊ำพระแล หมู่ 7
ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา



ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

บ้านต๊ำพระแล หมู่ที่ 7 ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ซึ่งตั้งตามขอบฝั่งลำน้ำแม่ต๊ำ ต่อมามีหลายหลังคาเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นลำดับ เดิมชื่อหมู่บ้าน “ฮ่องไฮ” และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ต๊ำพระแล” คำว่า “ต๊ำ” หมายถึง ลำน้ำแม่ต๊ำที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ส่วนคำว่า “พระแล” เนื่องจากในหมู่บ้านมีการมีวัดที่สร้างขึ้นอยู่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ติดลำน้ำชาวบ้านเรียกว่า “วัดพระแล” เนื่องจากพระพุทธรูปที่สร้างมาจากทองคำมีความสวยงาม และมีลักษณะตาที่แลมองตามคนที่ผ่านไปผ่านมา ชาวบ้านในสมัยนั้นไม่มีใครกล้าเข้าใกล้และมีความเชื่อเรื่องผีจึงมีอาการหวาดกลัวต่อมาพระสงฆ์แก่รูปหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าอาวาสประจำวัดป่าลานได้มานำพระพุทธรูปองค์นี้ไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันยังมีพระพุทธรูปองค์จำลองจากองค์จริงประดิษฐานอยู่ในอุโบสถที่วัดต๊ำพระแล
  • พ.ศ. 2436 ชาวบ้านได้อพยพเขามาอยู่ใหม่ เพราะเห็นว่าทำเลดี มีลำน้ำแม่ต๊ำเป็นแม่น้ำสายหลักที่อุดมสมบูรณ์ตลอดปี มีพื้นที่กว้างขวาง สามารถขยายความเจริญได้มากมาย มีแหล่งทรัพยากรที่ทำมาหากินได้ไม่รู้จักหมด ผู้นำชุมชนคนแรกย้ายมาจากจังหวัดลำปาง ชื่อ ขุนต๊ำ คนส่วนใหญ่ก็มาจากบ้านลำปางหลวง จังหวัดลำปาง บางคนก็มาจากที่อื่น เช่น จังหวัดแพร่ มาครั้งแรกมีความมุ่งหมายที่จะหาที่ทำนา ปลูกข้าวให้ได้มาก ๆ จึงมีการบุกเบิกป่าเพื่อทำนาจนสำเร็จ มีการจัดสรรที่ดินแบ่งกันเพื่อทำมาหากิน มีอาณาเขตครอบครองของหมู่บ้าน และแต่ละครอบครัวกันอย่างกว้างขวาง 
  • พ.ศ. 2440-2463 นายพรมเสน ยานะ ถึง นายสุนันต๊ะ ปวนคำ จะมีการจัดสรรที่ดินทำกินอย่างเป็นสัดส่วน มีอาณาเขตขยายกว้างแน่นอน สร้างรากฐานของหมู่บ้านไว้เป็นอย่างดี 
  • พ.ศ. 2454-2463 นายบุญมา ชมพู ขึ้นเป็นผู้นำอีกคนหนึ่ง เนื่องจากมีการขัดแย้งเรื่องการสร้างวัด ต้องมีการเกณฑ์คนไปทำงาน เพื่อไม่ให้มีการเอาเปรียบกัน การจัดให้มีผู้นำอีกหนึ่งคน เพื่อควบคุมคน 2 กลุ่ม กลุ่มทางเหนือกับกลุ่มทางใต้โดยมีวัดตั้งเป็นศูนย์กลาง 
  • พ.ศ. 2463-2468 ขยายที่ดินทำกินใหม่ นำโดยนายแปง ขุนอ้อย เป็นชาวบ้านที่ได้รับการยกย่อง เป็นนายช่างที่มีผลงานสร้างวัดต๊ำพระแลจนสำเร็จ และสร้างบ้านคนในหมู่บ้านได้สำรวจพื้นที่บริเวณหลังวัดต๊ำ พระแล ที่เล็งเห็น ว่าน่าจะเป็นที่นาได้ จึงได้ออกสำรวจเป็นที่ทำกินแหล่งใหม่ได้จนถึงปัจจุบันบางคนเชื่อทำไม่ได้ เพราะน้ำจำไหลย้อนคืนสมัยนายแก้ว ยานะ 
  • พ.ศ.2490-2492 เป็นช่วงสงครามโลก ได้ประกาศให้ชาวบ้านเป็นภาวะฉุกเฉิน ทุกครอบครัวได้ทำหลุมหลบภัยจากระเบิดสงคราม 
  • พ.ศ. 2492-2497 นายมา พิทักษ์รัตนศ์ เป็นผู้นำหมู่บ้านต๊ำพระแล 
  • พ.ศ.2493-2518 สมัยนายไชย ยานะ มีการขยายการศึกษาสู่ปวงชน จึงมีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้น โดยมี นายกองคำ ไชยรินคำ และครูอื่น ๆ สอนประมาณ 3 คน ได้ขยายโรงเรียนจากที่ข้างวัดไปตั้งสถานที่ใหม่ในปัจจุบันโดยมี นายกองคำ ไชยรินคำ เป็นครูใหญ่ เป็นผู้ร่วมวางแผนทั้งหมด นายกองคำ ไชยรินคำ ยังขยายอาณาเขตทางโรงเรียนให้ได้มากเป็น 100 กว่าไร่ เพื่อรองรับความเจริญโดยตั้งใจมีสนามมาตรฐาน 400 เมตรเป็นศูนย์การแข่งขันกีฬาของตำบลบ้านต๊ำอีกด้วย มีการวางแผนแยกหมู่บ้านขยายความเจริญมาบริเวณรอบโรงเรียน เมื่อปีพ.ศ. 2508 พี่น้องศาสนาคริสต์ที่บ้านต๊ำพระแลเริ่มรวมตัวกันที่ศาลาธรรมในการนมัสการพระเจ้าในวันอาทิตย์ และในปีพ.ศ. 2516 ได้มีการก่อตั้งสถานีอนามัยตำบลบ้านต๊ำขึ้น เพื่อดูแลปัญหาความเจ็บป่วยเบื้องต้นของชาวบ้าน 
  • พ.ศ.258-2522 นายน้อย ยานะ เป็นผู้นำหมู่บ้านต๊ำพระแล ในปี 2520 มีการรับสมัคร อสม. ทุกหมู่บ้าน มีการอบรม อสม. ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มประชากรหน่วยงานรัฐกระทรวงสาธารณสุขอบรม อสม. จึงเกิดกลุ่ม อสม. ในหมู่บ้านเพื่อร่วมดูแลสุขภาพของคนในชุมชน 
  • พ.ศ. 2522-2523 นายเมือง มลูข้าว เป็นผู้นำหมู่บ้านต๊ำพระแล 
  • พ.ศ.2524 เริ่มมีการสร้างฝายทดน้ำแม่น้ำต๊ำเนื่องจากหมู่บ้านมีสภาพแห้งแล้งเริ่มโดยนายก๋องคำ ปันคำ เป็นผู้นำได้วางแผนขอไฟฟ้าเข้าสู่หมู่บ้านได้สำเร็จในปีพ.ศ. 2525 และได้ขอยกหมู่บ้าน เป็น 2 หมู่บ้าน ได้วางผัง หมู่บ้านที่จะแยกไว้โดยจัดสรรที่ดินแบ่งกันคนละกว้างประมาณ 10 วา ยาวไม่เกิน 70 วา มีถนนเส้นที่ 2 และซอยต่าง ๆ ตลอดจนที่สาธารณะไว้ทำประโยชน์อีกจำนวนหนึ่ง ในสมัยนี้ยังได้ขยายถนน ทำถนนไปถึงน้ำตกจำปาทอง และเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเสด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยเสด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามกุฎราชกุมารีเสด็จทอดพระเนตรฝายทดน้ำแม่น้ำแม่ต๊ำ จากนั้นทรงเยี่ยมราษฎร ณ บริเวณสนามหน้าโรงเรียนบ้านต๊ำพระแล และในพ.ศ.เดียวกันเริ่มมีโทรทัศน์ขาวดำ โครงการชลประทานขนาดเล็กฝายต๊ำตำบลบ้านต๊ำ เป็นสำนักงานชลประทานที่2กรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเริ่มก่อตั้งกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ 
  • พ.ศ.2526-2528 นายเมือง มลูข้าว เป็นผู้นำหมู่บ้านต๊ำพระแล 
  • พ.ศ. 2528-2531นายไพรฤทธิ์ ปิงวงศ์ เป็นผู้นำหมู่บ้านต๊ำพระแล เริ่มสร้างคริสตจักรหลังใหม่ในปีพ.ศ. 2529 ขึ้น ที่หมู่บ้านซึ่งก็คือ คริสตจักรไมตรีสุข ในปัจจุบัน มีก่อตั้งกลุ่มผู้สูงอายุครั้งแรก และมีการใช้เครื่องกระจายเสียงในการแจ้งข่าวต่างๆในหมู่บ้าน เช่น การใช้โทรโข่ง 
  • พ.ศ.2531 นายอุดม ยานะ เป็นผู้นำหมู่บ้านต๊ำพระแล และในวันที่ 1 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2532 บ้านต๊ำพระแลหมู่ที่ 7 ได้แยกออกจากบ้านต๊ำพระแลหมู่ที่ 11 เนื่องจากมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้การปกครองและการดูแลเป็นไปได้ไม่ทั่วถึงเพื่อให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้าน การกระจายอำนาจการปกครองการแยกหมู่บ้านจะทำให้หมู่บ้านได้งบประมาณและการดูแลชาวบ้านได้ทั่วถึงมากขึ้น 
  • พ.ศ. 2532 ได้มีการก่อตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึ่งมีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดูแลและบำรุงทางบกและทางน้ำ รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และป้องกันและระงับโรคติดต่อ 
  • พ.ศ.2542 มีการจัดตั้งกลุ่มสหกิจชุมชนผักตบชวา ซึ่งทำให้กลุ่มแม่บ้านในหมู่บ้านมีรายได้จากการสานผักตบชวาบางคนทำเป็นอาชีพหลัก บางคนทำเป็นอาชีพเสริมและสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในครอบครัวและชุมชนได้ตลอดทั้งปี 
  • พ.ศ. 2547 ได้มีการก่อตั้งกลุ่มสหกรณ์ปลานิลเนื่องจากชุมชนตำบลบ้านต๊ำมีการเลี้ยงปลานิลเป็นจำนวนมากและประชาชนบ้านต๊ำพระแลมีจำนวนผู้เลี้ยงปลานิล 1 ใน 3 ของผู้ที่เลี้ยงปลานิลทั้งหมดในกลุ่มสหกรณ์ปลานิล ทำให้ประชาชนมีรายได้หลักจากการขายปลาเป็นจำนวนมาก 
  • พ.ศ. 2547-2551 นายนิยม สมเชื้อ เป็นผู้นำหมู่บ้านต๊ำพระแล 
  • พ.ศ. 2551 นายอุดม ยานะ เป็นผู้นำหมู่บ้านต๊ำพระแล และในปีเดียวกัน ได้มีการเริ่มใช้น้ำประปาภายในหมู่บ้านเป็นครั้งแรกแต่ประปาจะใช้ได้ดีในช่วงฤดูฝน 
  • พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อพัฒนาปรับปรุงบริการด้านสาธารณสุข จึงได้รับการยกระดับจากสถานีอนามัย เป็นโรงยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๊ำ 
  • พ.ศ. 2558 ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบ้านต๊ำ โดยมีผู้สูงอายุจากหลายหมู่บ้านเข้าร่วมเป็นสมาชิก เนื่องจากมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น จึงก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้นเพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนให้สามารถช่วยเหลือ ดูแลตนเองได้ 
  • พ.ศ. 2559 มีการเฝ้าระวังโรคไข้ซิก้าในหมู่บ้าน 
  • พ.ศ. 2561 มีการก่อตั้งกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ เนื่องจากได้รับทุนจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ในการซื้อวัวแม่พันธุ์ให้กับสมาชิกเลี้ยง เพื่อเป็นต้นทุนสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน 
          ปัจจุบันบ้านต๊ำพระแล หมู่ที่ 7 มีจำนวนครัวเรือน 215 หลังคาเรือน จำนวนประชากรตามฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร 874 คน เป็นชาย 427 คน หญิง 447 คน ซึ่งปกครองโดย พ่อหลวงมนัส นามบ้าน ตั้งแต่ พ.ศ.2555-ปัจจุบัน

ที่ตั้งของหมู่บ้าน

           ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านต๊ำพระแล หมู่ 7 ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยาประมาณ 13 กิโลเมตร มีบ้านเรือนทั้งหมด 215 หลังคาเรือน ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๊ำประมาณ 2 กิโลเมตร โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบต่ำ ลาดเอียงขึ้นจากทางทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,750 ไร่ แบ่งเป็น 
  • พื้นที่อยู่อาศัย 500 ไร่
  • พื้นที่ทำการเกษตร 1,250 ไร่ 
  • พื้นที่สาธารณะ/นันทนาการ 10 ไร่
แผนที่เดินดินหมู่บ้านต๊ำพระแล หมู่ 7 ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
โดย นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 27 วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี พะเยา
(ธันวาคม 2562)

     อาณาเขตติดต่อ
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หน่วยรักษาป่าไม้
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านต๊ำพระแล หมู่ 11
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านต๊ำกลาง หมู่ 8
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านต๊ำม่อน หมู่ 12 

ลักษณะภูมิประเทศ

             พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบต่ำลาดเอียงจากทางทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก สำหรับใช้ทำการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ การทำนา บางส่วนใช้ทำสวน ทำไร่ นอกจากนั้นยังมีพื้นที่บางส่วนติดกับเขตพื้นที่ป่าไม้คือ อุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีน้ำตกจำปาทองและน้ำตกขุนต๊ำและมีลำน้ำไหลผ่าน 2 สายหลัก ได้แก่ ลำน้ำแม่ต๊ำ และลำน้ำอิง ซึ่งน้ำทั้งสองนี้หลังจากไหลบรรจบกันทางทิศตะวันออกบริเวณบ้านต๊ำดอนมูล หมู่ที่ 2 และไหลลงสู่กว๊านพะเยาทางทิศเหนือของกว๊าน ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำเหล่านี้ในการอุปโภคและการเกษตร

ลักษณะภูมิอากาศ

  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม อากาศร้อนที่สุดเดือนเมษายน
  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม อากาศร้อนที่สุดเดือนสิงหาคม – กันยายน 
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อากาศร้อนที่สุดเดือนธันวาคม – มกราคม 

สภาพภายในหมู่บ้าน

          บ้านต๊ำพระแล หมู่ 7 ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีครัวเรือนทั้งหมดที่อาศัยอยู่จริงในหมู่บ้าน จำนวน 215 หลังคาเรือน พื้นที่ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านแบ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณที่อยู่อาศัยของชุมชน ลักษณะบ้านเรือนส่วนโดยใหญ่เป็นบ้านสองชั้น ชั้นบนเป็นบ้านไม้ละชั้นล่างเป็นปูน มีรั้วแบ่งเขตแดนของแต่ละบ้านอย่างชัดเจน 

 

การคมนาคมภายในและภายนอกหมู่บ้าน

           บ้านต๊ำพระแล หมู่ 7 ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยาประมาณ 13 กิโลเมตร ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๊ำประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพถนนผ่านหมู่บ้านและถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่ลาดยาง ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถสัญจรไปมาได้โดยสะดวก มีป้ายสัญลักษณ์จรจรตามจุดทางแยกและทางโค้งในหมู่บ้าน เส้นทางที่ใช้สัญจรในการไปทำการเกษตรเป็นถนนลูกรัง ประชากรส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์และรถยนต์เป็นพาหนะในการเดินทาง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


           บ้านต๊ำพระแล หมู่ 7 ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีแหล่งน้ำสาธารณะ 2 แห่งที่สำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำฝายทุ่งกองและอ่างเก็บน้ำห้วยเฮือก และมีป่าไม้ในชุมชน 1 แห่ง ประชากรในหมู่บ้านใช้น้ำอุปโภคจากน้ำบ่อตื้นเป็นส่วนใหญ่ และใช้น้ำประปาในช่วงฤดูฝน เพราะน้ำประปามีปริมาณน้อยไม่เพียงพอตลอดทั้งปี น้ำบริโภคเป็นน้ำดื่มบรรจุสำเร็จรูป ส่วนน้ำที่ใช้ในการเกษตร ทำพืช สวน ไร่นา เลี้ยงปลา มาจากอ่างเก็บน้ำฝายทุ่งกองและอ่างเก็บน้ำห้วยเฮือก



การประกอบอาชีพในชุมชน

          บ้านต๊ำพระแล หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ทำเกษตรกรรม ประมาณ 1,250 ไร่ รายได้ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านจึงมาจากการเกษตรซึ่งเป็นรายได้หลักของประชาชนในหมู่บ้าน การประกอบอาชีพ อาชีพหลัก อาชีพรอง และอาชีพเสริม ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 100,001 – 300,000 ปี 
  • อาชีพหลัก ของประชาชนบ้านต๊ำพระแล หมู่ 7 คือ เกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา, ทำสวนยางพารา, ทำสวนหอม และ เลี้ยงปลา พนักงาน-รับราชการ 
  • อาชีพรอง คือ รับจ้างทั่วไป, ค้าขาย 
  • อาชีพเสริม คือ จักรสานผักตบชวา, เลี้ยงสัตว์, ปลูกฟักทอง, ปลูกผักปลอดสารพิษ, ทำหน่อไม้ปี๊บ
โดย นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 27 วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี พะเยา
(ธันวาคม 2562)

ศาสนา

          ประชาชนบ้านต๊ำพระแล หมู่ที่ 7 ทุกคนนับถือศาสนาพุทธ จำนวน 874 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งมีวัดต๊ำพระแล เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เปรียบเสมือนศูนย์กลางของชุมชน วิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในชุมชนมีความเกี่ยวข้องกับวัดแทบทั้งสิ้น โดยกลุ่มวัยที่มีความเกี่ยวข้องกับวัดโดยตรงคือผู้สูงอายุ ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในหมู่บ้านต๊ำพระแล มีกิจกรรมทางศาสนาตลอดทั้งปี วัดสามารถเป็นศูนย์รวมทางด้าน จิตใจของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี พระภิกษุสงฆ์ในพื้นที่มีบทบาทในการปรับเปลี่ยนค่านิยมที่เป็นผลเสียต่อคนในชุมชน เช่น การร่วมเป็นฝ่ายสนับสนุนนโยบายงดเล่นการพนันและงดเหล้าในงานศพ งานบุญในพื้นที่

โดย นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 27 วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี พะเยา
(ธันวาคม 2562)

ข้อมูลด้านประชากร

               จำนวนประชากรบ้านต๊ำพระแล หมู่ 7 ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวนครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริงทั้งหมด 215 ครัวเรือน มีประชากรจำนวน 874 คน แยกเป็นเพศชาย 427 คน เพศหญิง 447 คน (ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ พฤศจิกายน 2562)

เพศชาย
เพศหญิง
รวม
จำนวน(คน)
ร้อยละ
จำนวน(คน)
ร้อยละ
จำนวน(คน)
ร้อยละ
0-4
13
1.49
16
1.83
29
3.32
5-9
28
3.20
24
2.75
52
5.95
10-14
10
1.14
20
2.29
30
3.43
15-19
15
1.72
11
1.26
26
2.97
20-24
24
2.75
25
2.86
49
5.61
25-29
42
4.81
34
3.89
76
8.70
30-34
27
3.09
25
2.86
52
5.95
35-39
36
4.12
33
3.78
69
7.89
40-44
29
3.32
28
3.20
57
6.52
45-49
24
2.75
29
3.32
53
6.06
50-54
24
2.75
47
5.38
71
8.12
55-59
35
4.00
50
5.72
85
9.73
60-64
44
5.03
32
3.66
76
8.70
65-69
38
4.35
27
3.09
65
7.44
70-74
18
2.06
16
1.83
34
3.89
75-79
10
1.14
9
1.03
19
2.17
80 ปีขึ้นไป
10
1.14
21
2.40
31
3.55

รวม
427
48.86
447
51.14
874
100.00