ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง

การตรวจนับความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

(CBC : Complete Blood Count)


          สำหรับพยาบาลความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการนั้นมีส่วนสำคัญประการหนึ่งครับ ไม่มากก็น้อยก็เพื่อติดตามและเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยนั่นเอง วันนี้ผมคัดเนื้อหาเกี่ยวกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นมาไว้เป็นเรื่องแรก ก็คือการตรวจที่มักจะต้องตรวจในผู้ป่วยเกือบทุกราย รวมไปถึงผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นด้วยครับ นั่นก็คือการตรวจนับเม็ดเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในร่างกายของเรา ก่อนจะไปถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการผมขอสรุปคร่าว ๆ เกี่ยวกับเลือดและองค์ประกอบของเลือด เพื่อทบทวนความรู้กันก่อนสักนิดนะครับ

         
เลือด (Blood) 
เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งซึ่งมีสารระหว่างเซลล์ เป็นของเหลวเป็นตัวกลางติดต่อระหว่างเซลล์ของร่างกาย และมีเม็ดเลือดเป็นเซลล์ล่องลอยอยู่ ในร่างกายมีเลือดอยู่ประมาณ 7 – 8 % ของน้ำหนักตัว ปริมาณของเลือดแตกต่างกันไปตาม อายุ ขนาด น้ำหนักตัว เพศ และ สภาวะของสุขภาพ เลือดมีสีแดงเมื่ออยู่ในหลอดเลือดแดง มีสีคล้ำลงเล็กน้อยเมื่ออยู่ในหลอดเลือดดำ มีความหนืดกว่าน้ำ เท่า มีอุณหภูมิประมาณ 37.8มีฤทธิ์เป็นด่างเล็กน้อย มีกลิ่นคาว

หน้าที่ของเลือด  คือ
1. ระบบการขนส่ง ออกซิเจน อาหาร ภูมิต้านทาน โปรตีน ระบบป้องกันตัวเอง การทำลายของเสีย
2. ระบบป้องกันด้วยระบบภูมิคุ้มกัน
3. ควบคุมความสมดุลของร่างกาย โดยการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
เลือดมีองค์ประกอบ ส่วน  คือ                                                                                               
1. เม็ดเลือด (Blood cell)  มีประมาณ 45%
2. พลาสมา (Plasma)   มีประมาณ 55 %


1. เม็ดเลือด (Blood cell) ประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และ เกร็ดเลือด


1.1 เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell : RBC หรือ Erythrocyteเม็ดเลือดแดงมีรูปร่างด้านหน้าเป็นรูปกลมคล้ายจาน ตรงกลางมีรอยบุ๋มลึกลงไปคล้ายโดนัท แต่ไม่มีรูทะลุถึงกัน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาดประมาณ ไมครอนซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเซลล์อื่นๆ ของร่างกายมาก
          เม็ดเลือดแดงจะถูกสร้างที่บริเวณไขกระดูกของร่างกายตามที่ต่าง ๆ ไม่เท่ากัน ไขกระดูกที่มีประสิทธิภาพในการสร้าง ได้แก่ ไขกระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง และ กระดูกกะโหลกศีรษะ อัตราการสร้างเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับปริมาณออกซิเจนในเลือด ถ้าออกซิเจนต่ำ หรือร่างกายสูญเสียเลือด จะมีผลเร่งให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น

          ภายในเม็ดเลือดแดงมีฮีโมโกลบิลเป็นสารสำคัญในการพาออกซิเจนที่รับจากปอดไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย ฮีโมโกบิลประกอบด้วยส่วนประกอบที่เรียกว่า ฮีม (Heme) และส่วนที่เป็นโปรตีนซึ่งเรียกว่า โกบิล (Globin) ฮีมมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญ ถ้าร่างกายขาดธาตุเหล็ก จะทำให้สร้างฮีมได้ไม่พอ ซึ่งส่งผลต่อไปยังการสร้างฮีโมโกลบิน และการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้สร้างได้ปริมาณน้อย และคุณภาพของเม็ดเลือดแดงด้อยลง
          เม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ 120 วัน เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้วจะถูกทำลายที่ม้าม โดยแยกเป็น ส่วน คือ ส่วนที่เป็นธาตุเหล็กร่างกายจะเก็บไว้ใช้อีก และ ส่วนที่ไม่ใช่ธาตุเหล็กจะถูกนำไปที่ตับเพื่อขับออกทางน้ำดี และบางส่วนถูกขับออกทางไต จำนวนเม็ดเลือดแดงในผู้ชายมีปริมาณมากกว่าผู้หญิง ในผู้ชายมีประมาณ ล้านเซลล์ต่อเลือด ลบ.ซมผู้หญิงมีประมาณ 4.5 ล้านเซลล์ต่อเลือด ลบ.ซม.
         


หน้าที่ของเม็ดเลือดแดง
          1. นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย
          2. นำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเซลล์ไปสู่ปอด
          3. ทำให้เลือดมีสีแดง โดยฮีโมโกลบินรวมกับออกซิเจน

1.2 เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell : WBC หรือ leukocyte, leucocyte)
          เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส ไม่มีฮีโมโกลบิน มีการเคลื่อนไหวแบบการคืบตัวคล้ายอะมีบา สามารถลอดผ่านผนังเลือดฝอยได้ จำนวนเม็ดเลือดขาวปกติประมาณ 5,000 – 7,000 เซลล์ต่อเลือด ลบ.ซมจำนวนเม็ดเลือดขาวเปลี่ยนแปลงได้ตาม อายุ เพศ และ สภาวะอื่นๆ เม็ดเลือดขาวมีการสร้างออกมาตลอดเหมือนเม็ดเลือดแดง มีอายุประมาณ 13 วัน อวัยวะสำหรับสร้างเม็ดเลือดขาว ได้แก่ ไขกระดูก ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ต่อมไธมัส เป็นต้น

            หน้าที่เม็ดเลือดขาว
          ทำลายเชื้อโรค เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือดขาวจะถูกผลิตเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำลายสิ่งแปลกปลอมโดยวิธี
1. การสะกดกลืนกิน (phagocytosis) เป็นวิธีทำลายเชื้อโรคโดยการกินและย่อยสลายเชื้อโรค
2. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (immunization) เม็ดเลือดขาวบางชนิดจะสร้างสารพวกโปรตีนที่มีคุณสมบัติต่อต้านสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรค 
เม็ดเลือดขาว แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ
          1. เม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล
          2. เม็ดเลือดขาวชนิดไม่มีแกรนูล

1. เม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล เรียกว่า แกรนูไลไซท์ (Granulocyte) นิวเคลียส แบ่งเป็นกลีบ เซลล์ค่อนข้างกลม ถูกสร้างที่ไขกระดูก แบ่งเป็น ชนิด ได้แก่
          1.1 นิวโตรฟิล (Neutrophil) มีประมาณ 60–70 % ของเม็ดเลือดขาว ทั้งหมดมีนิวเคลียสหลายกลีบ ทำหน้าที่ ทำลายเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย Neutrophils คือเซลล์ที่ตอบสนองในระยะแรกของการอักเสบแบบเฉียบพลัน ซึ่งสามารถตอบสนองได้เป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว Neutrophils จะถูกปล่อยออกมาจากไขกระดูกสู่กระแสเลือด สามารถหลั่งสารตัวกลางทางเคมีที่แรงได้หลายชนิด ทำให้มีความสามารถในการต่อสู้หรือทำลายเชื้อจุลชีพได้ เช่น สารพิษมากกว่า 50 ชนิด สารอนุมูลอิสระต่างๆ และเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนอีกหลายชนิด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้เนื้อเยื่อปกติอาจถูกทำลายไปด้วยในระหว่างกระบวนการอักเสบ
           1.2 อีโอสิโนฟิล  (Eosinophil) มีประมาณ 1 – 6 % ของเม็ดเลือดขาว มีนิวเคลียสสองกลีบ ทำหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกริยาภูมิแพ้ และ การติดเชื้อจากหนอนพยาธิ โดยที่เซลล์ Eosinophils ช่วยควบคุมการอักเสบด้วยการหลั่งเอนเอนไซม์ เช่น histamine และ leukotrienes ไปย่อยสลายสารสื่อกลางทางเคมีในกระบวนการอักเสบ 
          1.3 เบโซพิล (Basophil) มีประมาณ 0.5 – 1 % ของเม็ดเลือดขาว มีนิวเคลียสสองกลีบ ทำหน้าที่ สร้างสารเฮปาริน (Heparin) ซึ่งเป็นสารป้องกันมิให้เลือดในร่างกายแข็งตัว และ สร้างฮีสตามิน (Histamine) ช่วยขยายผนังของหลอดเลือด
2. เม็ดเลือดขาวชนิดไม่มีแกรนูล เรียกว่า อะแกรนูโลไซท์ (Agranulocyte) มีนิวเคลียสใหญ่ ค่อนข้างกลม มีกลีบเดียว สร้างจากต่อมน้ำเหลือง ต่อมไทมัส และต่อมทอนซิล มีจำนวนน้อยมากที่สร้างจากไขกระดูก แบ่งเป็น ชนิด ได้แก่
           2.1 ลิมไฟไซท์ (Lymphocyte) มีนิวเคลียสใหญ่เกือบเต็มเซลล์ ทำหน้าที่ สร้างภูมิคุ้มกันที่มีบทบาทรับผิดชอบต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ เนื่องจากมีความสามารถในการจดจำและแบ่งตัวของ memory cells ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจนที่จำเพาะไปตลอด
           2.2 โมโนไซท์ (Monocyte) มีนิวเคลียสใหญ่ รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ทำหน้าที่ ทำลายเชื้้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกลืนกินเซลล์สูงกว่า neutrophils ซึ่งสามารถย่อยเชื้อจุลชีพต่างๆ ได้มากกว่าถึง 10 เท่า มีความสำคัญในกระบวนการซ่อมแซมเนื่องจากเป็นเซลล์ที่ผลิตโปรตีนต่างๆ ในกระบวนการซ่อมแซมรอยแผล โปรตีนบางชนิดเป็นเอนไซม์ย่อยสลายเนื้อเยื่อ