การปฐมพยาบาลผู้ป่วยประดูกหัก
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาลวัตถุประสงค์
การปฐมพยาบาลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
1. เพื่อช่วยชีวิต
2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมานช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
4. เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
1. เพื่อช่วยชีวิต
2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมานช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
4. เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
1. วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือได้ถูกต้อง มีขั้นตอนดังนี้
1.1 ซักประวัติของอุบัติเหตุ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวดี
1.2 ซักถามอาการผิดปกติหลังได้รับอุบัติเหตุ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมากที่บริเวณใด ฯลฯ
1.3 ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บทุกครั้งก่อนให้การปฐมพยาบาล โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม บาดแผล กระดูกหัก เป็นต้น
2. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยช่วยเป็นลำดับขั้นดังนี้
2.1 ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต้องเคลื่อนย้ายออกมาก่อน เช่น ตึกพังถล่มลงมา ไฟไหม้ในโรงภาพยนตร์ เป็นต้น
2.2 ช่วยชีวิต โดยจะตรวจดูลักษณะการหายใจว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจหรือไม่ หัวใจหยุดเต้นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้รีบช่วยกู้ชีวิตซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป
2.3 ช่วยมิให้เกิดอันตรายมากขึ้น ถ้ามีกระดูกหักต้องเข้าเฝือกก่อน เพื่อมิให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อมากขึ้น ถ้ามีบาดแผลต้องคลุมด้วยผ้าสะอาด เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้าไปทำให้ติดเชื้อ ในรายที่สงสัยว่ามีการหักของกระดูกสันหลัง ต้องให้อยู่นิ่งที่สุด และถ้าจะต้องเคลื่อนย้ายจะต้องให้แนวกระดูกสันหลังตรง โดยนอนราบบนพื้นไม้แข็ง มีหมอนหรือผ้าประคองศีรษะมิให้เคลื่อนไหว ให้คำปลอบโยนผู้บาดเจ็บ ให้กำลังใจ อยู่กับผู้บาดเจ็บตลอดเวลา พลิกตัว หรือ จับต้องด้วยความอ่อนโยนและระมัดระวัง ไม่ละทิ้งผู้บาดเจ็บอาจต้องหาผู้อื่นมาอยู่ด้วยถ้าจำเป็น
2.1 ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต้องเคลื่อนย้ายออกมาก่อน เช่น ตึกพังถล่มลงมา ไฟไหม้ในโรงภาพยนตร์ เป็นต้น
2.2 ช่วยชีวิต โดยจะตรวจดูลักษณะการหายใจว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจหรือไม่ หัวใจหยุดเต้นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้รีบช่วยกู้ชีวิตซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป
2.3 ช่วยมิให้เกิดอันตรายมากขึ้น ถ้ามีกระดูกหักต้องเข้าเฝือกก่อน เพื่อมิให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อมากขึ้น ถ้ามีบาดแผลต้องคลุมด้วยผ้าสะอาด เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้าไปทำให้ติดเชื้อ ในรายที่สงสัยว่ามีการหักของกระดูกสันหลัง ต้องให้อยู่นิ่งที่สุด และถ้าจะต้องเคลื่อนย้ายจะต้องให้แนวกระดูกสันหลังตรง โดยนอนราบบนพื้นไม้แข็ง มีหมอนหรือผ้าประคองศีรษะมิให้เคลื่อนไหว ให้คำปลอบโยนผู้บาดเจ็บ ให้กำลังใจ อยู่กับผู้บาดเจ็บตลอดเวลา พลิกตัว หรือ จับต้องด้วยความอ่อนโยนและระมัดระวัง ไม่ละทิ้งผู้บาดเจ็บอาจต้องหาผู้อื่นมาอยู่ด้วยถ้าจำเป็น
หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล
1.เมื่อพบผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ต้องรีบช่วยเหลือทันที ยกเว้นในกรณีที่มีอุปสรรคต่อการช่วยเหลือ เช่น มีแก็สพิษ มีวัสดุกีดขวาง เป็นต้น ให้ย้ายผู้ป่วยออกมาในที่ปลอดภัยเสียก่อนจึงดำเนินการช่วยเหลือ2.ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในกรณีที่จะมีอันตรายต่อชีวิตโดยรีบด่วนก่อน
3.อย่าให้มีคนมุง ทั้งนี้เพื่อให้มีอากาศปลอดโปร่ง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีบริเวณกว้างขวางเพียงพอ อีกทั้งสะดวกในการให้การปฐมพยาบาลด้วย
4.จัดให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าที่เหมาะสมในการปฐมพยาบาล และไม่เพิ่มอันตรายแก่ผู้บาดเจ็บด้วย ควรจัดให้อยู่ในท่านอนหงายและทางเดินหายใจโล่ง พร้อมทั้งสังเกตอาการต่างๆ ของผู้บาดเจ็บ และวางแผนการให้การช่วยเหลืออย่างมีสติ ไม่ตื่นเต้นตกใจ สังเกตสิ่งแวดล้อมว่ามีสิ่งของอันตรายอยู่ใกล้เคียงหรือไม่ ลักษณะของผู้บาดเจ็บนั้นบ่งบอกว่าเป็นการฆ่าตัวตาย (suicide) หรือ ถูกทำร้าย (homocide) หรือ เป็นอุบัติเหตุที่แท้จริง
5.บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ อาการ ลักษณะของผู้บาดเจ็บเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลที่ได้ทำลงไป พร้อมทั้งนำติดตัวไปกับผู้บาดเจ็บเสมอเพื่อประโยชน์ในการรักษาต่อไป
6.อย่าทำการรักษาด้วยตนเอง ให้เพียงการปฐมพยาบาลที่จำเป็นอย่างถูกต้อง แล้วนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทันที
การปฐมพยาบาลผู้ที่กระดูกหัก
กระดูกหัก หมายถึง ภาวะที่ส่วนประกอบของกระดูกแตกแยกออกจากกัน อาจเป็นการแตกแยกโดยสิ้นเชิง หรืออาจมีบางส่วนติดกันอยู่บ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแรงที่มากระแทกต่อกระดูก ทำให้แนวการหักของกระดูกแตกต่างกันชนิดของกระดูกหัก
โดยทั่วไปแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
- กระดูกหักชนิดปิด (closed fracture)
- กระดูกหักชนิดเปิด (opened fracture) ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากการสังเกต
1. กระดูกหักชนิดปิด คือ กระดูกหักแล้วไม่ทะลุผิวหนังและไม่มีบาดแผลบนผิวหนังตรงบริเวณที่หัก
กระดูกส่วนต่างๆ ที่พบการแตกหักได้
1. กระดูกเชิงกรานหัก (Pelvic fracture)
2. กระดูกกระโหลกศีรษะแตก (Skull fracture)
3. กระดูกขากรรไกรล่างหัก (Lower Jaw fracture)
4. กระดูกไหปลาร้าหัก (Clavicle fracture)
5. กระดูกซี่โครงหัก (Ribs fracture)
6. กระดูกข้อมือหัก (Colle' s fracture)
7. กระดูกต้นแขนหัก
8. กระดูกสันหลังหัก (Spinal fracture)
____________________________________________________________
1. กระดูกเชิงกรานหัก (Pelvic fracture)
อาการและอาการแสดง
ปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหลังจากได้รับอุบัติเหตุ มีอาการเคล็ดหรือรอยฟกช้ำบริเวณเชิงกราน ยกขาข้างที่กระดูกเชิงกรานหักไม่ได้ขณะนอนหงาย ขาและเท้าข้างที่หักจะแบะออกข้างๆและอาจจะสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง ถ่ายปัสสาวะอาจมีเลือดปนออกมาด้วย
การปฐมพยาบาล
1. เข้าเฝือกชั่วคราวป้องกันไม่ให้บริเวณกระดูกเชิงกรานเคลื่อนไหว ด้วยการวางผ้านุ่มๆ ระหว่างขาทั้งสองข้างตั้งแต่หัวเข่าถึงปลายเท้า ใช้ผ้าพันไขว้กันเป็นเลข 8 บริเวณเท้าและพันเข่าทั้ง 2 ข้างให้ชิดกัน
2. เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ในท่านอนหงาย
2. กระดูกกะโหลกศีรษะแตก (Skull fracture)
อาการและอาการแสดงถ้ามีกระดูกแตกหรือร้าวเพียงอย่างเดียวมักจะมีอาการปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน แต่ถ้ากระดูกแตกแล้วบุ๋มไปกดสมอง ก็จะมีอาการทางสมอง คือ ซึมลง อาเจียนพุ่ง พฤติกรรมเปลี่ยนไป ขนาดของรูม่านตาไม่เท่ากัน แขนขาไม่มีแรงซีกใดซีกหนึ่ง อาจมีเลือดหรือน้ำไขสันหลังออกทางจมูกหรือหู และไม่รู้สึกตัว หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น
การปฐมพยาบาล
1. ประเมินบาดแผลและอาการของผู้บาดเจ็บ กรณีที่กะโหลกศีรษะแตกเล็กน้อย มีเลือดซึมไม่มาก หลังจากทำแผลแล้วแนะนำให้ญาติสังเกตอาการทางสมองต่ออีก 24-48 ชม. โดยในระยะนี้ไม่ควรให้ยาแก้ปวด เพราะอาจทำให้การประเมินอาการทางสมองผิดได้ และถ้ามีอาการทางสมองให้รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อการรักษาในขั้นต่อไป
2. พยายามช่วยเหลือให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าสุขสบายที่สุด ถ้ารู้สึกตัวจัดให้อยู่ในท่าครึ่งนั่งครึ่งนอน หาเบาะรองศีรษะและไหล่ไว้ ถ้ามีเลือดหรือน้ำไขสันหลังออกจากหู ให้เอียงศีรษะมาทางด้านที่บาดเจ็บ โดยใช้ผ้าสะอาดปิดหูไว้แต่อย่าอุดหู ถ้าไม่รู้สึกตัวให้จัดอยู่ในท่านอนราบศีรษะเอียงไปทางด้านที่บาดเจ็บ พร้อมทั้งตรวจนับอัตราการหายใจ การเต้นของชีพจร ระดับความรู้สึกตัวของผู้บาดเจ็บ ถ้าหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นให้รีบปฏิบัติการกู้ชีวิตทันที
3.ในรายที่มีอาการทางสมองหรือไม่รู้สึกตัวให้งดอาหารและน้ำดื่มทางปาก และนำส่งโรงพยาบาล
3. กระดูกขากรรไกรล่างหัก (Lower Jaw fracture)
1. ประเมินบาดแผลและอาการของผู้บาดเจ็บ กรณีที่กะโหลกศีรษะแตกเล็กน้อย มีเลือดซึมไม่มาก หลังจากทำแผลแล้วแนะนำให้ญาติสังเกตอาการทางสมองต่ออีก 24-48 ชม. โดยในระยะนี้ไม่ควรให้ยาแก้ปวด เพราะอาจทำให้การประเมินอาการทางสมองผิดได้ และถ้ามีอาการทางสมองให้รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อการรักษาในขั้นต่อไป
2. พยายามช่วยเหลือให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าสุขสบายที่สุด ถ้ารู้สึกตัวจัดให้อยู่ในท่าครึ่งนั่งครึ่งนอน หาเบาะรองศีรษะและไหล่ไว้ ถ้ามีเลือดหรือน้ำไขสันหลังออกจากหู ให้เอียงศีรษะมาทางด้านที่บาดเจ็บ โดยใช้ผ้าสะอาดปิดหูไว้แต่อย่าอุดหู ถ้าไม่รู้สึกตัวให้จัดอยู่ในท่านอนราบศีรษะเอียงไปทางด้านที่บาดเจ็บ พร้อมทั้งตรวจนับอัตราการหายใจ การเต้นของชีพจร ระดับความรู้สึกตัวของผู้บาดเจ็บ ถ้าหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นให้รีบปฏิบัติการกู้ชีวิตทันที
3.ในรายที่มีอาการทางสมองหรือไม่รู้สึกตัวให้งดอาหารและน้ำดื่มทางปาก และนำส่งโรงพยาบาล
3. กระดูกขากรรไกรล่างหัก (Lower Jaw fracture)
สาเหตุอาจเกิดจากการถูกตี หกล้มคางกระแทกพื้น ถูกต่อยหรืออุบัติเหตุบนท้องถนน
อาการและอาการแสดง
ปวดเมื่ออ้าปาก หรือหุบปาก และพูดลำบาก คางผิดรูป อาจมีเลือดและน้ำลายไหลออกจากปาก เหงือกฉีกเป็นแผล ฟันหักหรือโย้เย้ผิดรูป ฟันไม่สบกัน อาจมีแผลบริเวณคางหรือภายในช่องปาก
การปฐมพยาบาล
1.ค่อยๆ จับขากรรไกรทั้งสองหุบ เพื่อให้ขากรรไกรล่างที่หักยันขากรรไกรบนไว้ ใช้ผ้าประคองไว้ โดยผูกปลายผ้าแบบหูกระต่าย เพื่อจะได้แก้ออกง่ายเมื่อผู้ป่วยอาเจียน และจัดให้อยู่ในท่าศีรษะสูงหรือนอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลักเลือด
2. ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง เนื่องจากทางเดินหายใจอาจถูกปิดกั้นจากน้ำลาย เลือด หรือฟันที่หักหลุดเข้าหลอดลม และเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล
อาจเกิดจากการถูกตีที่ไหปลาร้า หรือหกล้มเอาไหปลาร้ากระแทกวัตถุของแข็ง หกล้มในท่ามือยันพื้นและแขนเหยียดตรง จะทำให้มีกระดูกไหปลาร้าหัก
อาการและอาการแสดง
บริเวณไหปลาร้าที่หักจะบวมและเจ็บปวด คลำพบรอยหักหรือปลายกระดูกที่หัก ถ้าจับกระดูกไหปลาร้าโยกดูจะพบเสียงกรอบแกรบ ยกแขนข้างนั้นไม่ได้ ผู้บาดเจ็บจะอยู่ในลักษณะหัวไหล่ตกและงุ้มมาข้างหน้า
วิธีที่ 1 ใช้ผ้าผืนโตๆ 2 ผืน ผืนหนึ่งทำเป็นผ้าคล้องคอให้ห้อยแขนข้างที่มีกระดูกไหปลาร้าหักนั้นเอาไว้ ให้ต้นแขนแนบกับทรวงอก แล้วใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งพันรอบใต้แขนนั้นอยู่ติดกับทรวงอก ใต้รักแร้ข้างดี โดยวิธีเช่นนี้จะเป็นการกันไม่ให้แขนข้างนั้นเคลื่อนไหว กระดูกไหปลาร้าที่หักจะได้อยู่นิ่ง
วิธีที่ 2 ใช้วิธีพันผ้ายืดเป็นรูปเลขแปด บริเวณหัวไหล่

1. หักอย่างธรรมดา คือกระดูกหักแล้วไม่มีการทิ่มตำอวัยวะอื่นที่สำคัญ
2. หักแล้วปลายที่หักนั้นทิ่มแทงอวัยวะภายใน เช่น ทิ่มทะลุเยื่อหุ้มปอด เนื้อปอด หัวใจ หรือหลอดเลือดเป็นเหตุให้มีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงยิ่งขึ้น
อาการและอาการแสดง
1. หักอย่างธรรมดา จะมีอาการเจ็บหน้าอกบริเวณที่ถูกกระแทก และจะเจ็บอย่างมากเมื่อให้หายใจเข้าออกแรงๆ หรือเมื่อไอ หายใจจะมีลักษณะหายใจตื้นๆสั้นๆและถี่ๆ เพราะหายใจแรงๆ จะเจ็บอกมาก
2. หักแล้วปลายที่หักทิ่มแทงอวัยวะภายในจะมีอาการรุนแรงขึ้น คือ หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ซึ่งบ่งบอกถึงการตกเลือดภายใน ไอเป็นเลือด หายใจขัด หรือมีบาดแผลเปิดบริเวณหน้าอกเป็นปากแผลดูดขณะหายใจเข้า

การปฐมพยาบาล
ใช้ผ้าแถบยาว 3 ผืน (ผ้าสามเหลี่ยมพันให้เป็นแถบยาว) พันรอบทรวงอก แต่ละผืนกว้างประมาณ 4 นิ้ว ผืนที่หนึ่งวางตรงกลางใต้ราวนมเล็กน้อย แล้วผูกให้แน่นพอควรใต้รักแร้ข้างที่กระดูกซี่โครงไม่หัก ขณะผูกต้องบอกให้ผู้บาดเจ็บหายใจออกเพื่อจะได้ไม่หลวมและหลุดออกง่าย
ผืนที่สองและผืนที่สามวางเหนือและใต้ผืนที่หนึ่งแล้วผูกเช่นเดียวกัน ก่อนผูกผ้าทั้ง 3 ผืนควรหาผ้าพับตามยาววางใต้รักแร้ เพื่อรองรับปมผ้าที่ผูกและป้องกันปมผ้ากดเนื้อบริเวณใต้รักแร้
ในรายหักแล้วมีอันตรายต่ออวัยวะภายใน อย่าผูกให้แน่นเกินไป เมื่อพันผ้าแล้วให้ ผู้บาดเจ็บนอนในเปลหามในท่านอนตะแคงทับทรวงอกข้างที่เจ็บ เพื่อให้ปอดข้างที่ดีทำหน้าที่ได้เต็มที่ (ถ้ากระดูกหักแล้วกระดูกซี่โครงแทงทะลุผิวหนังออกมา ผ้าผืนที่หนึ่งต้องพันทับลงไปตรงตำแหน่งที่กระดูกโผล่) หรืออาจใช้ พลาสเตอร์ชนิดเหนียวปิดยึดบริเวณกระดูกซี่โครง
สาเหตุ
เกิดจากการหกล้มเอามือยันพื้น
อาการและอาการแสดง
ปวด บวม และข้อมือผิดรูปทันที เคลื่อนไหวข้อมือไม่ได้ หรือเจ็บปวดมากเมื่อเคลื่อนไหว อาจได้ยินเสียงกรอบแกรบจากปลายกระดูกที่ถูกัน ลักษณะข้อมือเหมือน "ส้อม" ที่ใช้ในการรับประทานอาหาร
การปฐมพยาบาล
1. ประคบน้ำแข็งทันที ประมาณ 15-20 นาที
2. ดามมือไว้ด้วยแผ่นไม้ อย่าพยายามดึงเข้าที่เอง เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายเพิ่มมากขึ้น
3. ห้อยแขน รีบส่งแพทย์ทันที
สาเหตุ
เกิดจากแรงกระแทกโดยตรงที่ต้นแขน ตกจากที่สูง ล้มในท่าแขนเหยียดตรง
อาการและอาการแสดง
ปวดบริเวณต้นแขนที่หักและปวดมากเวลาขยับ กดเจ็บ และมีเสียงกรอบแกรบ บริเวณที่หักจะโก่งนูน ยกแขนไม่ได้และเหยียดข้อศอกไม่ได้ อาจทำให้ข้อมือตก กระดกนิ้วมือไม่ได้ มือชา
การปฐมพยาบาล
1. ให้ผู้บาดเจ็บนั่งลง ค่อย ๆ วางแขนข้างที่บาดเจ็บที่หน้าอกในตำแหน่งที่ทำให้เจ็บน้อยที่สุด ถ้าทำได้ขอให้ผู้บาดเจ็บช่วยประคองแขนตัวเอง
2. ใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขนช่วยพยุงยึดแขนกับหน้าอก วางผ้านุ่มๆ ระหว่างแขนกับหน้าอก และผูกผ้าทับผ้าคล้องแขนรอบหน้าอก
3. เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลในท่านั่งหรือนอนหงาย
4. กระดูกไหปลาร้าหัก (Clavicle fracture)
สาเหตุอาจเกิดจากการถูกตีที่ไหปลาร้า หรือหกล้มเอาไหปลาร้ากระแทกวัตถุของแข็ง หกล้มในท่ามือยันพื้นและแขนเหยียดตรง จะทำให้มีกระดูกไหปลาร้าหัก
อาการและอาการแสดง
บริเวณไหปลาร้าที่หักจะบวมและเจ็บปวด คลำพบรอยหักหรือปลายกระดูกที่หัก ถ้าจับกระดูกไหปลาร้าโยกดูจะพบเสียงกรอบแกรบ ยกแขนข้างนั้นไม่ได้ ผู้บาดเจ็บจะอยู่ในลักษณะหัวไหล่ตกและงุ้มมาข้างหน้า
การปฐมพยาบาล
วิธีที่ 1 ใช้ผ้าผืนโตๆ 2 ผืน ผืนหนึ่งทำเป็นผ้าคล้องคอให้ห้อยแขนข้างที่มีกระดูกไหปลาร้าหักนั้นเอาไว้ ให้ต้นแขนแนบกับทรวงอก แล้วใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งพันรอบใต้แขนนั้นอยู่ติดกับทรวงอก ใต้รักแร้ข้างดี โดยวิธีเช่นนี้จะเป็นการกันไม่ให้แขนข้างนั้นเคลื่อนไหว กระดูกไหปลาร้าที่หักจะได้อยู่นิ่ง
5. กระดูกซี่โครงหัก (Ribs fracture)

สาเหตุ
กระดูกซี่โครงหัก อาจเกิดจากการถูกตี ถูกชนหรือหกล้ม พวงมาลัยรถกระแทกหน้าอก ซึ่งแบ่งออกได้ 2 แบบด้วยกันคือ1. หักอย่างธรรมดา คือกระดูกหักแล้วไม่มีการทิ่มตำอวัยวะอื่นที่สำคัญ
2. หักแล้วปลายที่หักนั้นทิ่มแทงอวัยวะภายใน เช่น ทิ่มทะลุเยื่อหุ้มปอด เนื้อปอด หัวใจ หรือหลอดเลือดเป็นเหตุให้มีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงยิ่งขึ้น
อาการและอาการแสดง
1. หักอย่างธรรมดา จะมีอาการเจ็บหน้าอกบริเวณที่ถูกกระแทก และจะเจ็บอย่างมากเมื่อให้หายใจเข้าออกแรงๆ หรือเมื่อไอ หายใจจะมีลักษณะหายใจตื้นๆสั้นๆและถี่ๆ เพราะหายใจแรงๆ จะเจ็บอกมาก
2. หักแล้วปลายที่หักทิ่มแทงอวัยวะภายในจะมีอาการรุนแรงขึ้น คือ หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ซึ่งบ่งบอกถึงการตกเลือดภายใน ไอเป็นเลือด หายใจขัด หรือมีบาดแผลเปิดบริเวณหน้าอกเป็นปากแผลดูดขณะหายใจเข้า

การปฐมพยาบาล
ใช้ผ้าแถบยาว 3 ผืน (ผ้าสามเหลี่ยมพันให้เป็นแถบยาว) พันรอบทรวงอก แต่ละผืนกว้างประมาณ 4 นิ้ว ผืนที่หนึ่งวางตรงกลางใต้ราวนมเล็กน้อย แล้วผูกให้แน่นพอควรใต้รักแร้ข้างที่กระดูกซี่โครงไม่หัก ขณะผูกต้องบอกให้ผู้บาดเจ็บหายใจออกเพื่อจะได้ไม่หลวมและหลุดออกง่าย
ในรายหักแล้วมีอันตรายต่ออวัยวะภายใน อย่าผูกให้แน่นเกินไป เมื่อพันผ้าแล้วให้ ผู้บาดเจ็บนอนในเปลหามในท่านอนตะแคงทับทรวงอกข้างที่เจ็บ เพื่อให้ปอดข้างที่ดีทำหน้าที่ได้เต็มที่ (ถ้ากระดูกหักแล้วกระดูกซี่โครงแทงทะลุผิวหนังออกมา ผ้าผืนที่หนึ่งต้องพันทับลงไปตรงตำแหน่งที่กระดูกโผล่) หรืออาจใช้ พลาสเตอร์ชนิดเหนียวปิดยึดบริเวณกระดูกซี่โครง
6. กระดูกข้อมือหัก (Colle' s fracture)
เกิดจากการหกล้มเอามือยันพื้น
อาการและอาการแสดง
ปวด บวม และข้อมือผิดรูปทันที เคลื่อนไหวข้อมือไม่ได้ หรือเจ็บปวดมากเมื่อเคลื่อนไหว อาจได้ยินเสียงกรอบแกรบจากปลายกระดูกที่ถูกัน ลักษณะข้อมือเหมือน "ส้อม" ที่ใช้ในการรับประทานอาหาร
การปฐมพยาบาล
1. ประคบน้ำแข็งทันที ประมาณ 15-20 นาที
2. ดามมือไว้ด้วยแผ่นไม้ อย่าพยายามดึงเข้าที่เอง เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายเพิ่มมากขึ้น
3. ห้อยแขน รีบส่งแพทย์ทันที
7. กระดูกต้นแขนหัก (Fracture Humerus)
เกิดจากแรงกระแทกโดยตรงที่ต้นแขน ตกจากที่สูง ล้มในท่าแขนเหยียดตรง
อาการและอาการแสดง
ปวดบริเวณต้นแขนที่หักและปวดมากเวลาขยับ กดเจ็บ และมีเสียงกรอบแกรบ บริเวณที่หักจะโก่งนูน ยกแขนไม่ได้และเหยียดข้อศอกไม่ได้ อาจทำให้ข้อมือตก กระดกนิ้วมือไม่ได้ มือชา
การปฐมพยาบาล
1. ให้ผู้บาดเจ็บนั่งลง ค่อย ๆ วางแขนข้างที่บาดเจ็บที่หน้าอกในตำแหน่งที่ทำให้เจ็บน้อยที่สุด ถ้าทำได้ขอให้ผู้บาดเจ็บช่วยประคองแขนตัวเอง
2. ใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขนช่วยพยุงยึดแขนกับหน้าอก วางผ้านุ่มๆ ระหว่างแขนกับหน้าอก และผูกผ้าทับผ้าคล้องแขนรอบหน้าอก
3. เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลในท่านั่งหรือนอนหงาย