การห้ามเลือดโดยทั่วไป จะใช้วิธีการอยู่ 2 วิธีคือ การใช้มือกด และการใช้ผ้ากดเพื่อพันแผล ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้กันอยู่ เพียงแต่จะมีเทคนิควิธีการที่ค่อนข้างเฉพาะจุด ซึ่งต้องทำความเข้าใจโดยวิธีการลงมือปฏิบัติ
1) การใช้มือกด สามารถห้ามเลือดได้โดยการใช้มือกด หรือใช้นิ้วกดบาดแผลโดยตรง นอกจากนี้ยังใช้มือหรือนิ้วบีบปากแผลเข้าหากัน ใช้สำหรับกรณีที่บาดแผลมีขนาดใหญ่ส่วนวิธีการใช้นิ้วกดเส้นเลือดแดงใหญ่เหนือบาดแผล ใช้ในบาดแผลบริเวณแขนขาที่เลือดออกมาก โดยส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดแดง และห้ามกดติดต่อกันนานเกิน 15 นาที เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อส่วนปลายขาดเลือดได้
2) การใช้ผ้ากดและการใช้ผ้าพันแผล มีด้วยกัน 3 วิธีคือขยุ้มผ้าสะอาดกดลงบนบาดแผลโดยตรงขยุ้มผ้าสะอาดกดลงบนบาดแผลแล้วใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันขยุ้มผ้าสะอาดกดลงบนบาดแผลแล้วใช้ผ้ายืดพันหากไม่มีกระดูกหัก ควรยกบริเวณที่มีเลือดออกให้สูงกว่าระดับหัวใจ และไม่ควรกดหรือพันแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้อวัยวะส่วยปลายที่กดหรือพันขาดเลือดได้ (ยกเว้นกรณีที่ห้ามเลือดโดยวิธีกดเส้นเลือดแดงใหญ่) หากนำผ้าปิดแผลชุ่มเลือดแล้วไม่ควรเอาออกและควรนำผ้าอีกชิ้นมาปิดทับบนผ้าชิ้นแรก

ยาที่ใช้ในการล้างแผลและยาที่ใส่แผล
ยาล้างแผล ยาที่ใช้สำหรับทำความสะอาดแผลหรือบาดแผลที่ผิวหนังในเบื้องต้น ก่อนที่จะใช้ยาเช็ดแผล หรือยาใส่แผลเพื่อทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไป มีประโยชน์ คือ
1.ใช้ชะล้างเชื้อโรครวมทั้งสิ่งสกปรก ที่อาจปนเปื้อนอยู่ที่แผลให้หลุดออกไปได้ เช่น กรณีบาดแผลที่ถลอกจากการหกล้ม ซึ่งมักจะมีเศษดิน หินหรือสิ่งสกปรกปนเปื้อน
2. ใช้ชะล้างสะเก็ดแผลให้หลุดลอกออกไป เช่นแผลพุพอง เป็นต้น
3. ช่วยให้เนื้อเยื่อรอบๆแผลอ่อนตัวลงได้ ทำให้น้ำยาเข้าไปทำความสะอาดได้ดีขึ้น
4. ช่วยให้ยาที่จะใช้ทาฆ่าเชื้อในขั้นตอนต่อไป ถูกดูดซึมได้ดีขึ้น สามารถฆ่าหรือทำลายเชื้อได้ดีขึ้น
5. ช่วยลดปริมาณเชื้อและลดอาการอักเสบจากการติดเชื้อได้ อันมีผลช่วยทำให้แผลหรือบาดแผลหายไวขึ้น
ยาเช็ดแผล ยาหรือน้ำยาที่นำมาใช้เพื่อทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคบริเวณรอบๆ แผลไม่ใช้ใส่แผลโดยตรงเพราะจะทำให้เนื้อตายได้ เช่น Alcohol ชนิด Ethylalcohol หรือ Isopropylalcohol
คุณสมบัติ
- ใช้ได้ผลดีต่อเชื้อกรัมบวก,กรัมลบและเชื้อราแต่ไม่มีผลกับเชื้อที่สร้าง spore ได้
- ทำให้ผิวหนังสะอาดขึ้น
หมายเหตุ ไม่ควรให้โดนแผลโดยตรงเพราะจะทำให้แผลแสบและระคายเคืองได้ มีผลทำให้แผลหายช้าลงด้วย


ยาใส่แผล ยาที่ใช้ใส่แผลหรือทาแผลภายหลังจากได้ชำระล้างแผลและเช็ดแผลเรียบร้อยแล้ว ควรเลือกให้เหมาะกับชนิดของแผล ในกรณีของเด็กควรเลือกชนิดที่ระคายเคืองน้อยที่สุด
1. ชนิดน้ำ ได้แก่
- ทิงเจอร์ไอโอดีน ห้ามใช้กับผิวอ่อนเพราะจะแสบและระคายเคืองมาก
- ทิงเจอร์ไทเมอโรซอล เหมาะกับแผลสด แต่ไม่ควรใช้กับเด็กอ่อน และผิวอ่อน เนื่องมี alcohol ผสมอยู่ด้วย
- โพวิโดน-ไอโอดีน ใช้ได้ทั้งแผลทั่วไปและแผลไฟไหม้
- ยาแดง (mercurochrome 2%) นิยมใช้กับแผลสด
- ยาเหลือง เป็นยารักษษแผลเปื่อย แผลเรื้อรัง ฆ่าเชื้อได้น้อยและออกฤทธิ์ช้า ไม่นิยมใช้กับแผลสด
2. ชนิดครีมหรือขี้ผึ้ง ได้แก่
- Gentamicin ใช้ได้ผลทั้งกรัมบวกและกรัมลบและ pseudomonas ทั้งแผลสดและแผลเปื่อย
- Aminacrine cetrimide ใช้ได้กับแผลทั่วไปและแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก เช่น Burnol
- Mupirocin 2% ใช้ได้ผลทั้งกรัมบวกและกรัมลบรวมทั้งสายพันธุ์ที่ดื้อต่อ methicillin เช่น Bactex
- Fusidate มีฤทธิ์ในการต้านกรัมบวก และชนิดที่ดื้อต่อเพนนิซิลิน ใช้ได้ดีกับผิวหนังที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Fusidic ointment
- Oxytetracycline ใช้ได้ดีทั้งแผลสด แผลเปื่อย แผลมีหนองและแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก เช่น Aureomycin
3. ชนิดผง ไม่ค่อยนิยมใช้โดยเฉพาะกับแผลที่เป็นน้ำเหลือง เพราะผงยาจับตัวเป็นก้อน จนทำให้เกิดการระคายเองทำให้เป็นแหบล่งเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ มีผลทำให้แผลหายช้าด้วย

เทคนิคการล้างแผล

เทคนิคการล้างแผล
ก่อนการล้างแผล ต้องเข้าใจรูปแบบของการล้างแผลก่อน การล้างแผลมี 2 แบบ คือ ล้างแผลแบบแห้ง ( Dry dressing ) และ ล้างแผลแบบเปียก (Wet dressing)
การล้างแผลแบบแห้ง เหมาะสำหรับแผลแห้ง แผลที่ไม่มีลักษณะของการอักเสบ ไม่มีสารคัดหลั่ง
วิธีล้างแผล ก็ล้างแบบแห้ง อย่าให้แผลเปียก โดยเช็ดบริเวณรอบแผลด้วย 70% alcohol เช็ดวนจากขอบแผลด้านในแล้ววนออกด้านนอก ไม่เช็ดวนซ้ำรอยเดิม
ขณะเช็ด ให้ใช้สายตาสังเกตลักษณะของแผลด้วยว่า มีอาการอักเสบหรือไม่ หรือแผลแห้งสนิทแล้วหรือยังถ้าแผลแห้งดี ก็ป้ายน้ำยาฆ่าเชื้อไปที่บริเวณแผล และปิดด้วยผ้าปิดแผล ติดยึดด้วยพลาสเตอร์ปิดแผลแต่ถ้าแผลเริ่มมีอาการอักเสบหรือมีสารคัดหลั่ง ให้ล้างแผลแบบเปียก
การล้างแผลแบบเปียก เหมาะสำหรับแผลเปียก แผลที่ยังไม่แห้ง แผลอักเสบ มีสารคัดหลั่ง
ขั้นตอนที่ 1 เปิดผ้าปิดแผล
ก่อนล้างแผลจะต้องเปิดผ้าปิดแผลเดิมออกก่อน การเปิดแผลนี่แหละขั้นตอนสำคัญ ผู้ป่วยจะประทับใจหรือ จำฝังใจกับพยาบาลผู้ล้างแผล ก็ตอนนี้แหละ เริ่มต้นจากพลาสเตอร์ปิดแผลที่อยู่ชั้นบนสุดก่อน พลาสเตอร์บางชนิดเมื่อประทับไปบนผิวหนังของผู้ป่วยแล้วจะติดเหนียวทนทานมาก
การลอกพลาสเตอร์ ต้องลอกไปตามแนวเดียวกับแนวขน อย่าลอกย้อนแนวขน เพราะผู้ป่วยเจ็บ ระหว่างลอกพลาสเตอร์ให้ใช้นิ้วกดผิวหนังบริเวณรอบไว้ด้วย จะช่วยลดการดึงรั้งของผิวหนัง ไม่ใช่ดึงจนหนังยาวยืด หลังจากลอกพลาสเตอร์ออกแล้ว อาจมีคราบเหนียวของพลาสเตอร์ติดอยู่ ให้ใช้สำลีชุบเบนซินเช็ดคราบเหนียวออก และ เช็ดตามด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เพื่อป้องกันผิวหนังระคายเคือง และกำจัดกลิ่นเบนซิน เมื่อลอกพลาสเตอร์ที่ติดผิวหนังออกได้แล้วก็ค่อยๆลอกผ้าปิดแผลออก กรณีที่พบว่าผ้าปิดแผล แห้งติดกับเนื้อแผลลอกออกยาก ให้ใช้น้ำเกลือล้างแผลชโลมไว้ให้ทั่วผ้าปิดแผล รอจนน้ำเกลือซึมผ่านผ้าปิดแผล แล้วค่อยลอกออก วิธีนี้จะช่วยลดการทำลายของเนื้อเยื่อที่เกิดใหม่ และลดความเจ็บปวดจากการล้างแผล
เมื่อลอกผ้าปิดแผลออกได้แล้วอย่าเพิ่งทิ้งลงถัง จนกว่าจะสำรวจดูลักษณะของ discharge ที่ติดอยู่บนผ้าปิดแผลทั้งรูปแบบ สี กลิ่น ปริมาณ จนถี่ถ้วนแล้ว จึงค่อยทิ้งผ้าปิดแผลลงถัง อย่าลืมทิ้งให้ถูกต้องตามประเภทของขยะติดเชื้อ
ขั้นตอนที่ 2 ล้างแผล
เริ่มจาก เช็ดบริเวณรอบแผลด้วย 70% alcohol เช็ดวนจากขอบแผลด้านในแล้ววนออกด้านนอก ไม่เช็ดวนซ้ำรอยเดิม หลังจากเช็ดรอบขอบแผลแล้ว จึงใช้สำลีชุบน้ำเกลือสำหรับล้างแผล เช็ดล้างสารคัดหลั่งภายในบริเวณแผล โดยการเช็ดยึดหลักการเดิม เช็ดจากด้านในออกด้านนอก ไม่วนซ้ำรอยเดิม ถ้าแผลยังไม่สะอาดให้เปลี่ยนสำลีก้อนใหม่ และเช็ดซ้ำจนกว่าแผลจะสะอาด
ขั้นตอนที่ 3 ป้ายน้ำยาฆ่าเชื้อลงบนแผล
แผลที่ยังมีสารคัดหลั่งอยู่มาก ให้ใช้ผ้าก๊อสชุบน้ำยาฆ่าเชื้อปิดทับบนแผล
บาดแผลเป็นหลุมลึกมาก หลักสำคัญของการดูแลแผลหลุมลึก คือ ต้องระวังอย่าให้ปากแผลปิดก่อนที่ก้นแผลจะแห้ง เพราะจะเกิดการอักเสบจากที่สิ่งคัดหลั่งระบายออกไม่ได้ เวลาล้างแผล ต้อง ใส่ผ้าก็อสยาวๆ แหย่ให้ลึกถึงก้นแผล และค้างไว้ที่ปากแผล เพื่อให้เป็นช่องทางในการระบายสิ่งคัดหลั่ง
ขั้นตอนที่ 4 ปิดผ้าปิดแผล
และติดพลาสเตอร์ ขั้นตอนนี้แหละดูเหมือนจะง่าย แต่ก็ไม่ใช่ง่ายๆ ต้องใช้ศิลปะล้วนๆ
ปริมาณและขนาดของผ้าปิดแผลที่จะใช้ ต้องเหมะสมกับขนาดของบาดแผล ไม่ใช่ปิดแผลเสียใหญ่โต เปิดออกมามองหาแผลแทบไม่เห็น ส่วนปริมาณชั้นของผ้าปิดแผล ก็ให้ประเมินจากผ้าปิดแผลอันเดิม ที่ให้พิจารณาสารคัดหลั่งที่ติดอยู่ก่อนทิ้งลงถังไป ในขั้นตอนที่ 1 ถ้าพิจารณาแล้วว่า ปริมาณสารคัดหลั่งไม่ซึมทะลุถึงผ้าปิดแผลชั้นนอก ก็ใช้ผ้าปิดแผลปริมาณเท่าเดิม หรือน้อยกว่าเดิมได้
การติดพลาสเตอร์ ให้ติดตามแนวขวางของลำตัว ไม่ควรติดพลาสเตอร์เป็นกากบาท ทั้งแบบ + และ X แบบที่เคยเห็นในการ์ตูน เว้นเสียแต่ผู้ป่วยจะเห็นชอบด้วย
ผู้ป่วยบางคนมีผิวมัน ก่อนติดพลาสเตอร์ให้ใช้ 70% alcohol เช็ดทำความสะอาดผิวก่อน จะช่วยให้พลาสเตอร์ติดแน่นขึ้น ความยาวของพลาสเตอร์ต้องเรียบเสมอกัน บ่อยครั้งที่เห็นติดมาแบบฟันเลื่อย เนื่องจากที่ตัดพลาสเตอร์เป็นลักษณะฟันเลื่อย ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้กรรไกรเล็มขอบพลาสเตอร์ก่อนติดบนตัวผู้ป่วย บางคนพอติดเข้าไปแล้ว เพิ่งคิดได้ จะดึงออก ก็เสียดายพลาสเตอร์ จะปล่อยไว้แบบนี้ก็ไม่สวยงาม จะเป็นที่ครหาว่าไม่มีศิลปะ อย่ากระนั้นเลย ยังงัยก็ต้องเล็มขอบตามที่ได้ร่ำเรียนมา ว่าแล้ว.....เธอจึงยกกรรไกรขึ้นเล็ม ทั้งที่พลาเตอร์ยังติดอยู่บนหน้าผู้ป่วย.... ...ดูเธอทำ....
หมายเหตุ... ก่อนลงมือล้างแผลควรเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อม จัดวางในบริเวณที่สามารถหยิบใช้ได้สะดวก

ขอบคุณที่มา : http://www.urnurse.net เรื่องเทคนิคการทำแผล