ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง
ผลของสุราต่อภาวะสุขภาพ
การดื่มสุรามีผลต่อร่างกาย แบบ คือ แบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง

  1. แบบเฉียบพลัน (acute) จะเกิดการเสียการควบคุมระบบกล้ามเนื้อ (muscular incoordination) (Sullivan, 1995) ระยะเวลาการตัดสินใจช้าลง สมรรถภาพการมองเห็นลดลง ขาดความยับยั้งชั่งใจ มีความกล้ามากขึ้น ขับรถด้วยความประมาท มึนงง (stuporous) พบระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การหายใจและการเต้นของหัวใจถูกกด (Johnson, 1995) ประสาทสัมผัสต่าง ๆ จะเสียไป ไม่รู้สึกตัว (unconciousness) การหายใจช้าลง และอาจเสียชีวิตได้ 
  2. แบบเรื้อรัง (chronic) ผู้ที่ดื่มสุราติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเป็นพิษต่ออวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้ คือ 

  • ผลต่อสมอง แอลกอฮอล์มีผลต่อเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท (membranes of neuron) โดยไปเพิ่มความไม่มั่นคงต่อผนังเซลล์ จะทำให้คุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ตัวรับสื่อประสาท สัมพันธ์กับช่องทางไหลเข้าออกของประจุไฟฟ้าบนผนังเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานเพิ่มขึ้นของ นิโคตินิค อะซิติลโคลีน (nicotinic acytylcholine) ซีโรโตนีน (serotonin), ตัวรับกาบ้าชนิดเอ (GABA type A receptors) และยับยั้งการทำงานของ กลูตาเมท รีเซบเตอร์ (glutamate receptors) ซึ่งเกี่ยวข้องกับช่องทางเข้าออกของประจุแคลเซียม (voltage-gated calcium channels) และตัวรับโปรตีนที่มาจับกับผนังเซลล์อื่น ๆ (membrane-bound function protines) เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระยะสั้น ๆ และ ถ้าดื่มแอลกอฮอล์ไปนาน ๆ จะมีผลทำให้ผนังเซลล์เริ่มกรอบ และแข็ง ผลต่อการนอนหลับ พบว่า มีผลทำให้วงจรการนอนหลับเสีย กล่าวคือ แอลกอฮอล์ลดวงจรการนอนระยะ REM (rapid eye movement) sleep และระยะหลับลึก (NREM stage 4) ทำให้วงจรการนอนขาดเป็นช่วง ๆ (increased sleep fragmentation) เป็นผลทำให้นอนหลับไม่สนิทหลับ ๆ ตื่น ๆ จนถึงนอน  ไม่หลับทั้งคืน
  • ผลต่อตับ เนื่องจากตับเป็นแหล่งสันดาป ที่สำคัญของ แอลกอฮอล์ ดังนั้น ตับจึงเป็นอวัยวะที่รับพิษของแอลกอฮอล์มากกว่าอวัยวะอื่น (Naegle & D’Avanzo, 2001) พิษของแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดการสะสมไขมันและโปรตีนในตับ นำไปสู่โรคตับเหลือง (fatty liver) ตับอักเสบเนื่องจากพิษของสุรา (alcoholic hepatitis) และตับแข็ง (cirrhosis)
  • ผลต่อระบบทางเดินอาหาร แอลกอฮอล์จะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนเกสตริน (hormone gastrin) เพิ่มขึ้นทำให้มีการเป็นกรดมากขึ้น ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer) โรคหลอดอาหารอักเสบ (esophagitis) กระเพาะอาหารอักเสบ (gastritis) หลอดเลือดดำโป่งพองบริเวณหลอดอาหารส่วนปลาย (esophageal varices) โรคมะเร็งตับอ่อน (pancreatic cancer) โรคขาดวิตามินอย่างรุนแรง (serious vitamin deficiency) เช่น การขาดวิตามินบี บี 12   โฟลิค   ไนอาซีน  (B1, B12, Folic acid, Niacin)  โรคตับอ่อนอักเสบ  (pancreatritis)    เป็นต้น 
  • ผลต่อหัวใจและระบบการไหลเวียนโลหิต เกิดภาวะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (alcohol heart failure) โดยจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบวมโต การเต้นของหัวใจผิดปกติ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย (congestive heart failure) เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้การสังเคราะห์ไขมันพวกไตรกลีเซอร์ไรด์สูงและจะยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของกล้ามเนื้อหัวใจทำให้สมรรถภาพการทำงานลดลงทำให้ความดันโลหิตสูง   
  • ผลต่อต่อมไร้ท่อ ทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงขึ้นในเพศชาย ฮอร์โมนเทสโต-สเทอโรน จะต่ำลง แต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ทำให้อัณฑะฝ่อ (testicular atrophy) มีเต้านม (gynecomastia) ในเพศหญิงการทำงานของรังไข่จะล้มเหลว (ovarian failure) 
  • ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง การขาดวิตามินบี หรือ ไทอามีน (thiamin) ทำให้มีอาการสับสน (mental confusion) เดินเซ (truncal ataxia) มีอาการสมองฝ่อเพราะเหล้า (alcoholic dementia) มีอาการของ สมองเสื่อม (dementia) คือ สติปัญญาเสื่อมเกิดจากสมอง        บางส่วนถูกทำลายเพราะเหล้า หรือจากการขาดวิตามินบี 1  มีอาการทรงตัวไม่ได้ (ataxia) ตาแกว่ง (nystagmus) การพูดพิการ (speech impaired) โรคเหน็บชา (polyneuropathy) มีอาการชาที่ปลายประสาท 
  • ผลต่อไต   แอลกอฮอล์จะลดการผลิตฮอร์โมนแอนตี้ไดยูเรติค   (antidiuretic hormone) ของต่อม พิทูอิทารี (pituitary) จะทำให้ร่างกายสูญเสียโซเดียมออกมามาก ร่างกายจะ    ดูดน้ำเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดทีละมาก ๆ อาจทำให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษได้ 
  • ผลต่อทารกในครรภ์ จะทำให้ทารกเจริญเติบโตช้า รูปร่างผิดปกติ และพิการ 
  • ผลต่อสุขภาพจิต  ผลของแอลกอฮอล์สามารถก่อให้เกิดอาการทางจิต ได้ เช่น อาการหูแว่ว ประสาทหลอน เป็นโรคจิตจากสุรา  

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ( Laboratory  finding )

ในผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานานพอสมควร  เมื่อตรวจเลือดจะพบความผิดปกติดังต่อไปนี้
  1. ระดับเอนไซด์ตับชนิด  r – glutamic-  transpeptidase  or  GGT  จะสูงขึ้น 
  2. ระดับเอนไซม์ตับชนิด  serum  glutamic-oxloacetic  transminase ( SGOT )or  aspartate  aminotransferase ( AST )  จะสูงขึ้น
  3. ระดับเอนไซม์ตับชนิด serum  glutamic-pyruvic transminase ( SGPT ) oralanine aminotransferase ( ALT )  จะสูงขึ้น
  4. ระดับกรดยูริค ( uric  acid )  มีค่าสูงขึ้น 
  5. ระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ( serum  triglyceride )  มีค่าสูงขึ้น
  6. ระดับปริมาตรเฉลี่ของเม็ดเลือดแดง ( mean  corpuscular  volume  or  MCV )มีค่าสูงขึ้น  แสดงถึงลักษณะของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ  มีขนาดใหญ่ขึ้นเนื่องจากขาดวิตามินบางรายมีค่าลดลงเนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กลงเพราะขาดธาตุเหล็กและ  Folic  acid


ก.  ภาวะถอนพิษสุรา (alcohol  withdrawal)   
เมื่อหยุดหรือลดการดื่มสุราหลังจากมีการดื่มอย่างมากและเป็นเวลานาน โดยมีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย ข้อได้แก่
  1. autonomic  hyperactivity (เช่น เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที มีไข้   ความดันโลหิตสูง)
  2. มือสั่น ทดสอบโดยการให้ผู้ป่วยเหยียดแขนตรง และกางนิ้วออก
  3. นอนไม่หลับ ฝันร้าย
  4. คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  5. กระสับกระส่าย อยู่ไม่ติดที่
  6. ประสาทหลอน  เช่น  หูแว่ว  ภาพหลอน  เหมือนมีแมลงไต่ตามตัว หรือแปลสิ่งเร้าผิดปกติไป เช่น เห็นเชือกเป็นงู
  7. วิตกกังวล
  8. grand mal หรือ generalized tonic-clonic  seizures (ชักเกร็งกระตุกทั้งตัว)
  9. อาการอื่น ๆ ที่พบร่วม เช่น อารมณ์เปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะ เป็นต้น
ข.  ภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรง (complicated alcohol withdrawal) 
เป็นภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรง อาการเกิดต่อเนื่องจากภาวะถอนพิษสุราที่ไม่ได้รับการรักษา และมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น สั่นมาก เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงและกระสับกระส่ายมากขึ้น หรือมีอาการชัก อาการเพ้อสับสน หูแว่ว ระแวง โดยอาการมักเริ่มรุนแรงภายใน 2-3 วันหลังหยุดดื่ม และรุนแรงที่สุดในวันที่ 4-5 ส่วนใหญ่อาการมักดีขึ้นภายใน 10 วัน แต่ในบางรายอาจมีอาการนานถึง  4-5 สัปดาห์ได้ ภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรงนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ เนื่องจากมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 1-30 ขึ้นอยู่กับศักยภาพของสถานบริการ

ค. alcohol  withdrawal delirium หรือ delirium tremens 

เป็นอาการถอนพิษที่รุนแรงร่วมกับอาการเพ้อสับสน (delirium) ให้การวินิจฉัย ดังนี้
  1. ระดับสติสัมปชัญญะและความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป สับสน
  2. มีการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับความคิด ความจำ การรับรู้เสียไป เช่น สับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่ และบุคคล (disorientation) พูดสับสน มีอาการหูแว่ว ประสาทหลอนได้ อาการประสาทหลอนทางการสัมผัสพบได้บ่อย เช่น รู้สึกเหมือนมีมด แมลง ใยแมงมุมตามตัว หรือแสดงอาการหยิบดึงผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน หรือทำมือในท่าหยิบอะไรสักอย่างอยู่เรื่อยไป
  3. อาการผู้ป่วยจะดีขึ้น แย่ลงเป็นพัก ๆ โดยเฉพาะเวลากลางคืนอาการจะรุนแรงมากขึ้นและสงบลงในช่วงกลางวัน
ง.  Alcohol Withdrawal Seizure หรือ Rum fits 
อาการชักที่เกิดจากภาวะถอนพิษสุรา      พบได้ประมาณร้อยละ ของผู้ที่มีอาการถอนพิษสุรา   ทั้งหมด ประมาณร้อยละ 28 จะมีอาการชักนำมาก่อนการเกิดภาวะ delirium ลักษณะอาการชักเป็นแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว (generalized tonic-clonic) ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 95 พบภายใน 48   ชั่วโมงหลังหยุดดื่ม โดยมีโอกาสเกิดมากที่สุดในช่วง 12-24 ชั่วโมงหลังการชักครั้งแรก
               
อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่มีอาการชักดังกล่าวควรจะหาสาเหตุอื่น ๆ ของการชักด้วย เช่น head injuries, CNS infection, CNS neoplasm, other cerebrovascular diseases และ metabolic disturbance เช่น hypoglycemia เป็นต้น ผู้ที่มีอาการถอนพิษสุราแบบรุนแรง มักเกิดภาวะแทรกซ้อนทางกายได้ง่าย จากอาการกระสับกระส่ายและเหงื่อออกอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยขาดน้ำได้ง่าย และมี electrolyte imbalance ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ นอกจากนี้ภาวะติดเชื้อทั้ง ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือปอดบวมก็พบได้บ่อย ผู้ป่วยมักจะดูแลยาก ไม่อยู่นิ่ง ต้องผูกมัด ทำให้การดูแลอาการทางกายซับซ้อนมากขึ้น ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะถอนพิษสุราและภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรงมีความต่อเนื่องของอาการขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผ่านไป ซึ่งเป็นผลจากระดับแอลกอฮอล์ในเลือดลดต่ำ