ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง
บาดแผลและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
บาดแผล เป็นคำเรียกลักษณะของการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกาย (Disruption of the anatomical continuity of tissue) ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับแรงกระแทกจากของแข็ง (Mechanical Forces) หรืออาจเกิดจากของมีคม บาดแผลจึงกลายเป็นสิ่งที่ตามมาของการเกิดอาการบาดเจ็บ (Trauma) การเกิดบาดแผลภายในร่างกาย ถ้าบาดแผลได้รับจากการทำร้ายร่างกายหรือเกิดจากการกระทำของผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ถึงกับเสียชีวิต บาดแผลจะกลายเป็นหลักฐานในการชี้ชัดถึงสาเหตุการตาย และเป็นหลักฐานสำคัญในการมัดตัวผู้กระทำความผิดในคดีฆาตกรรม

ในทางอาชญากรรม บาดแผลอาจเป็นเครื่องบ่งชี้เจตนาของผู้กระทำความผิด ถ้าบาดแผลที่ปรากฏตามร่างกายสาหัสและโหดเหี้ยมเพียงใด ก็จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาในการกระทำภายในจิตใจของผู้กระทำความผิด เพราะฉะนั้นในการวินิจฉัยบาดแผลที่ปรากฏตามร่างกาย ก็จะเป็นการวินิฉัยจิตใจของผู้กระทำความผิดด้วย ว่ามีเจตนา มุ่งร้ายหรือป้องกันตัวเองจากภัยอันตรายอย่างไร

ชนิดของบาดแผลที่พบ สามารถแบ่งออกได้เป็น ชนิด ดังต่อไปนี้
1) บาดแผลฟกช้ำ ห้อเลือด(CONTUSION หรือ BRUISE) 
การเกิดบาดแผลถลอก เกิดจากการที่ของแข็งที่มีผิวหยาบ มากระทบหรือเสียดสีกับผิวหนัง หรืออาจเกิดจากการขีดข่วนของของมีคมหรือของเล่ม เช่นลวดหนาม เส้นลวดหรือเศษไม้เป็นต้น ลักษณะของบาดแผลถลอกที่เกิดจากการขีดข่วนของของแหลมหรือของมีคม จะมีลักษณะเป็นเส้นหรือเป็นแนว ในการชันสูตรพลิกศพ ศพที่มีร่องรอยของบาดแผลถลอกจะมีลักษณะของบาดแผลเป็นสีน้ำตาล บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลถลอกจะแห้งและแข็งกว่าผิวหนังบริเวณอื่น เพราะน้ำที่อยู่ภายในร่างกาย สามารถระเหยออกไปได้มากกว่าที่อื่น
วิธีการปฐมพยาบาล ให้ประคบด้วยความเย็นทันทีภายใน 24 ชั่วโมงแรกและให้ประคบด้วยความร้อนภายใน 24 ชั่วโมงหลัง
2) บาดแผลถลอก(ABRASION)
 บาดแผลถลอก เป็นลักษณะของการเกิดบาดแผลที่บริเวณชั้นผิวหนังชั้นตื้น ซึ่งเป็นบาดแผลที่เกิดจากการฉีกขาดของผิวหนังที่เป็นหนังกำพร้า บาดแผลถลอกจะมีลักษณะเป็นขุยขาว ๆ ที่บริเวณชั้นผิวหนัง ซึ่งอาจจะมีเลือดหรือน้ำเหลืองซึมออกมาจากบาดแผลบ้างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับแรงที่มากระทำที่บริเวณผิวหนัง ตามปกติบาดแผลถลอกจะหายเองเมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 2-3 วัน ถ้าไม่มีการติดเชื้อและการอักเสบของบาดแผล ลักษณะของบาดแผลจะเปลี่ยนจากขุยขาว ๆ เป็นตกสะเก็ดสีน้ำตาล แผลจะแห้งและแข็ง แต่ถ้าภายหลังจาก 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดบาดแผลแล้วมีการติดเชื้อและแผลอักเสบ บริเวณบาดแผลจะมีน้ำเหลืองและหนองไหลเยิ้ม
การเกิดบาดแผลถลอก เกิดจากการที่ของแข็งที่มีผิวหยาบ มากระทบหรือเสียดสีกับผิวหนัง หรืออาจเกิดจากการขีดข่วนของของมีคมหรือของเล่ม เช่นลวดหนาม เส้นลวดหรือเศษไม้เป็นต้น ลักษณะของบาดแผลถลอกที่เกิดจากการขีดข่วนของของแหลมหรือของมีคม จะมีลักษณะเป็นเส้นหรือเป็นแนว ในการชันสูตรพลิกศพ ศพที่มีร่องรอยของบาดแผลถลอกจะมีลักษณะของบาดแผลเป็นสีน้ำตาล บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลถลอกจะแห้งและแข็งกว่าผิวหนังบริเวณอื่น เพราะน้ำที่อยู่ภายในร่างกาย สามารถระเหยออกไปได้มากกว่าที่อื่น    
วิธีการปฐมพยาบาล : เมื่อเกิดบาดแผลถลอกสิ่งที่จะตามมาก็คือ มีเลือดออกซิบๆ ดังนั้นให้รีบทำการล้างแผลทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอักเสบของแผล อาจล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือล้างแผล และทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
             
3) บาดแผลฉีกขาด (LACERATION)
   หมายถึง แผลฉีกขาดลึกกว่าชั้นผิวหนังและขอบแผลไม่เรียบ ถ้าขอบแผลกระรุ่งกระริ่งให้เติมคำว่า กระรุ่งกระริ่งลงไปด้วย และอธิบายรูปลักษณะของแผลฉีกขาดต่อท้าย เช่น แผลฉีกขาดขอบไม่เรียบเป็นรูปดาว เป็นต้น ถ้าฉีกขาด จนหนังหายไปหรือเปิดออก (AVULSION) ก็ให้ต่อท้ายลักษณะแผลฉีกขาดนั้นเช่นเดียวกัน
แผลฉีกขาดของเรียบ (CUT WOUND) หมายถึง บาดแผลถูกของมีคม
วิธีการปฐมพยาบาล ล้างบาดแผลและรอบบาดแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทำความสะอาดสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในบาดแผลออกกดบาดแผล ห้ามเลือดด้วยผ้าสะอาด ประมาณ 3-5 นาที ทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและปิดแผลด้วยพลาสเตอร์หรือผ้าปิดแผลส่วนการดูแลแผลถลอก และ บาดแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ควรรีบทำการห้ามเลือด และรีบนำส่งโรงพยาบาล



4) บาดแผลถูกแทง (STAB หรือ PUNCTURE WOUND) 
หมายถึง แผลที่มีความลึกมากกว่าความยาวและความกว้าง ขอบแผลเรียบหรือไม่เรียบให้อธิบายต่อท้ายด้วย             
วิธีการปฐมพยาบาล ให้ทำการห้ามเลือด และรีบนำส่งโรงพยาบาลถ้ามีวัตถุปักคาอยู่ห้ามดึงออก ให้ใช้ผ้าสะอาด กดรอบแผลและใช้ผ้าพันไว้ ก่อนรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

5) บาดแผลอวัยวะถูกตัดขาด (Ambutation Wound)
 อุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรมทำให้เกิดความสูญ – เสีย มากมายทั้งทางร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจ สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่พบบ่อย มีดังนี้

  1. ความประมาทเลินเล่อของผู้ปฏิบัติงาน
  2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้หรือควบคุมการทำงานของเครื่องจักรไม่เพียงพอ
  3. ความชำนาญในงานที่ทำมีน้อย
  4. ขาดการประสานงานที่ดี ทำงานไม่เป็นไปตามขั้นตอนหรือระบบ
การต่ออวัยวะที่ถูกตัดขาดได้ผลดีขี้นอยู่กับ
     1. ตำแหน่งถูกตัดขาดเป็นบริเวณที่เส้นเลือดแดงไปเลี้ยงได้ถึง
     2. วัตถุที่ตัดอวัยวะไม่ทำให้อวัยวะบริเวณที่ถูกตัด บอบช้ำเสียหาย
     3. วิธีการเก็บที่ถูกต้อง
     4. ความชำนาญและความสามารถของแพทย์ผู้ผ่าตัดต่ออวัยวะซึ่งควรเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาจุล – ศัลยกรรม ( Microsurgery )   
       
วิธีการปฐมพยาบาล 
  • ห้ามเลือดให้กับผู้ป่วยเป็นอันดับแรก
  • ห้ามวางอวัยวะที่ขาดบนน้ำแข็งโดยเด็ดขาด
  • น้ำที่แช่อวัยวะที่จะต้องมีอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส โดยใช้น้ำแข็งผสมน้ำและต้องมีก้อนน้ำแข็งลอยอยู่ถ้าไม่มีก้อนน้ำแข็ง แสดงว่าอุณหภูมิน้ำนั้นสูงกว่า 4 องศาเซลเซียส ให้เติมน้ำแข็งลงไปอีก 
  • หากอวัยวะที่ขาดสกปรกมาก เช่น มีทรายติดอยู่ให้ใช้น้ำเกลือทางการแพทย์ราดเพื่อล้างสิ่งสกปรกก่อนใส่ถุง 
  • ไม่ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลจนเกินไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุก่อนถึงโรงพยาบาลจนเกินไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุก่อนถึงโรงบาลเพราะถ้าแช่อวัยวะที่ขาดในที่ที่มีอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส อย่างถูกต้องเคยมีรายงานว่านานถึง 27 ชั่วโมง แล้วยังสามารถผ่าตัดต่อได้สำเร็จ หากอวัยวะนั้นไม่ช้ำจนเกินไป แต่กรณีเป็นแขนขาดมีกล้ามเนื้อแดง ๆ ติดอยู่ด้วยควรผ่าตัดภายใน 6 – 8 ชั่วโมง


6) บาดแผลถูกยิง
บาดแผลจากกระสุนปืนลูกโดด แบ่งเป็น บาดแผลทางเข้าและบาดแผลทางออก
บาดแผลทางเข้ากระสุนปืนลูกโดด
มีผิวหนังทะลุลักษณะเป็นวงกลมหรือ รี ส่วนใหญ่มีขนาดบาดแผลใกล้เคียงกับขนาดหัวกระสุน อาจแตกฉีกออกเป็นรูปดาวหลายแฉกได้ ถ้ายิงระยะประชิดและมีกระดูกรองใต้ผิวหนังนั้น เช่น กะโหลก - พบรอยถลอกรอบแผล จากกระสุนเสียดสีผิวหนัง    (abrasion collar or marginal abrasion) - พบรอยน้ำมันรอบแผล (grease ring) มักพบกรณีกระสุนสัมผัสผิวหนังโดยตรงไม่ผ่านเสื้อผ้า หรือ ตัวกลางอื่นมาก่อน - พบเศษวัสดุชิ้นส่วนของเสื้อผ้า หรือตัวกลางอื่นที่กระสุนทะลุผ่าน - พบองค์ประกอบที่เกิดจากการยิงบริเวณบาดแผล ได้แก่ เปลวไฟ ควันไฟ เขม่าดินปืน ที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ที่มากระแทกผิวหนังเกิดลักษณะคล้ายรอยสัก หรือรอยโรยพริกไทย ซึ่งสามารถกะระยะยิงโดยประมาณได้ โดยนำปืนกระบอกที่ยิงและกระสุนชนิดเดียวกันมาทดสอบเพื่อประเมินหาระยะยิง - กรณียิงทะลุกระดูกใต้ผิวหนัง จะทิ้งลักษณะพิเศษไว้ที่กระดูกเป็นรูรอยแตกคล้ายรูปครก (Beveling)บาดแผลทางออกกระสุนปืนลูกโดด - ส่วนใหญ่ลักษณะไม่แน่นอน อาจกลม รี แฉก หรือเป็นรูปเหลี่ยม ก็ได้ และมักมีขนาดใหญ่กว่าบาดแผลทางเข้า - อาจพบเศษอวัยวะ หรือเนื้อเยื่อต่างๆ จุกอยู่บริเวณบาดแผล

บาดแผลทางเข้ากระสุนปืนลูกปราย มีลักษณะต่างกันตามระยะยิงดังนี้

     - ระยะประชิด เป็นรูเดียวขนาดใหญ่ ขนาดใกล้เคียงกับเส้นผ่าศูนย์กลางลำกล้องปืน (ในปืนลูกซองมาตรฐานอาจพบลักษณะเช่นนี้ได้ในระยะยิงไม่เกิน เมตร) หากมีกระดูกรองใต้ผิวหนัง เช่นกระดูกแกนกลางอก กะโหลก แผลจะฉีกขาดหลายแฉกร่วมกับพบเขม่าดินปืนใต้บาดแผล หรือรอยไหม้จากเปลวไฟ ควันไฟ บริเวณรอบแผล
-  ระยะใกล้ แผลจะเป็นรูเดียวขนาดใหญ่ใกล้เคียงเส้นผ่าศูนย์กลางลำกล้องปืนร่วมกับพบเขม่าดินปืนที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ กระแทกผิวเป็นสัก (Tattooing) ได้
ระยะยิงปานกลาง แผลจะมีรูใหญ่ตรงกลางร่วมกับมี รูเล็กๆ ที่เกิดขึ้นจากเม็ดลูกปรายที่เริ่มกระจายตัวรอบๆ ไม่พบรอยเขม่าควัน หรือรอยกระแทกของดินปืน อาจพบรอยกระแทกจากหมอนรองกระสุนบริเวณบาดแผล (ประมาณระยะยิง 1-3 หลา หากยิงจากปืนลูกซองมาตรฐาน
ระยะไกลหรือค่อนข้างไกล พบลักษณะรูบาดแผลขนาดใกล้เคียงเม็ดลูกปรายหลายรูกระจายตัว และอาจพบรอยกระแทกจากหมอนรองกระสุนบริเวณบาดแผลได้ (ซึ่งเจอได้ในระยะยิงประมาณ 2-5 เมตร)
บาดแผลทางออกกระสุนปืนลูกปราย
มีได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับชนิดของปืนลูกปรายที่ใช้ยิง ระยะยิง และตำแหน่งที่ถูกยิง
กรณียิงประชิดหรือค่อนข้างใกล้  หรือถูกบริเวณที่อ่อนเช่นลำคอ จะทำให้แผลฉีกขาดขอบรุ่งริ่งและมีขนาดใหญ่ แต่หากเป็นบริเวณที่ค่อนข้างหนาเช่นลำตัว ทรวงอก บาดแผลจะเป็นรูที่เกิดจากลูกปราย โดยจะมีเม็ดลูกปรายบางส่วนค้างอยู่ ถ้าระยะยิงค่อนข้างไกล
ก็จะมีเม็ดลูกปรายส่วนใหญ่ค้างอยู่ในร่างกาย

บาดแผลจากกระสุนปืนลูกปราย แบ่งเป็นบาดแผลทางเข้าและบาดแผลทางออกเช่นกัน
***การนำอาวุธปืนและกระสุนที่ใช้ยิงในรายนั้นๆ มาลองยิงในระยะต่างๆ จะเป็นการประเมินที่ใกล้เคียงจริงที่สุด          
วิธีการปฐมพยาบาล ให้ทำการห้ามเลือดและรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที เนื่องจากมีการเสียเลือดค่อนข้างมาก


7) บาดแผลถูกความร้อน / ไฟไหม้
วิธีการปฐมพยาบาล ให้รีบถอดหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกความร้อนออก และรีบถอดเครื่องประดับ เปิดน้ำเย็นให้ไหลผ่านบริเวณบาดแผล ให้ทายาสำหรับแผลไฟไหม้ แล้วปิดด้วยผ้าปิดแผลสะอาด ถ้าแผลกว้างและลึก หรือถูกอวัยวะสำคัญ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล

อ่านต่อ >>>> การห้ามเลือดและยาที่ใช้ล้างและใส่แผล