แนวทางการให้ยาและการคำนวณขนาดยาสำหรับเด็ก
ประสิทธิภาพของการใช้ยารักษาโรคหรือภาวะผิดปกติในเด็ก นอกจากจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องแม่นยำแล้ว การเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคหรือภาวะของผู้ป่วย การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงเภสัชวิทยา ขนาดยา พิษและผลข้างเคียงของยาที่ใช้ โดยทั่วไปการให้ยาแก่เด็กควรคำนึงถึง ดังนี้
- ขนาดสูงสุด (maximal dose) ที่คำนวณได้โดยใช้น้้ำหนักของเด็กเป็นหลัก ถ้าเกินขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่ต้องให้ขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่
- เด็กอ้วนมี metabolic rate ต่ำ เพราะไขมันเป็น metabolically insert tissue อาจต้องใช้ ideal body weight หรือ weight for height มาคำนวณในบางกรณี
- เด็กที่บวม (edema) ต้องคิดขนาดยาจากน้ำหนักตัวก่อนบวมหรือน้ำหนักซึ่งน้อยกว่าที่ชั่งได้ในขณะบวม
- เด็กที่มีการทำงานของไตลดลงหรือเสียไป (renal impairment/renal failure) จะต้องปรับลดขนาดยาที่ขับออกทางไต
ข้อควรคำนึงถึง
1.เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่ตัวเล็ก
- การดูดซึมของกระเพาะเด็กและทารกมีการทำงานของกระเพาะและลำไส้ที่ช้ากว่า
- การเมตาบอลิซึมของตับ : การทำงานของทารกแรกเกิดมีเพียง 20-40% ของผู้ใหญ่
- การกำจัดของไต : ไตของเด็กแรกเกิดมีการทำงานเพียง 30% ของผู้ใหญ่และมีการทำงานเทียบเท่าผู้ใหญ่ เมื่ออายุราว 1 ขวบ
- การดูดซึมของผิวหนัง : ผิวหนังของเด็กมีการดูดซึมได้ดีกว่า จึงดูดซึมยาที่ทาทางผิวหนังได้ดีกว่า
2.ยาที่บดเป็นผงแล้วเหมาะสำหรับเด็กมากกว่า?
- ยาของผู้ใหญ่ที่บดเป็นผงแล้วจะเสียได้ง่าย มีความคงตัวของยาต่ำและเก็บรักษาได้ไม่นาน
- การบดยาหลายประเภทเข้าด้วยกันมักทำให้เสียและเกิดปฏิกิริยาต่อกันและปริมาณยาที่แบ่งไม่เท่ากัน
- เด็กที่มีอายุมากขึ้นสามารถฝึกการกลืนและกลืนพร้อมอาหารในปริมาณน้อยได้
3.ข้อควรทราบในการให้ยาเด็ก
- ไม่ใช่ยาทั้งหมดที่เหมาะสำหรับบดเป็นผง : ยาที่บดเป็นผงมักเสื่อมสภาพไว มีความคงที่น้อย ช่วงเวลาการเก็บรักษาน้อย และอาจเกิดปฏิกิริยาที่ไม่ดีระหว่างยาแต่ละประเภท
- สามารถสั่งยาสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เช่น ยาน้ำ ยาน้ำประเภทน้ำหวาน สารละลาย สารแขวนลอย
- ยาที่บดเป็นผงแล้วควรรับประทานให้หมดในคราวเดียว เพื่อรักษาคุณภาพยา
4.คำเตือนวิธีการบริโภคยาน้ำที่เป็นน้ำหวานและสารแขวนลอย
- เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องหากยังไม่ได้เปิดใช้
- ยาน้้ำที่เป็นผงอยู่ด้านในให้ใส่น้ำเข้าไปตามคำชี้แจง และเขย่าก่อนใช้ ยาทุกครั้งเพื่อใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสม
- เมื่อเปิดใช้งานแล้วจะต้องเก็บยาตามที่กำหนดไว้ในตู้เย็นหรือในอุณหภูมิห้อง และให้คอยตรวจสอบวันหมดอายุ
5.วิธีการให้ยาเด็กทารก
- ควรใช้สลิง (Syringe) ที่ชี้บอกปริมาณในการให้ยาแต่ละครั้ง
- วางไว้บนตักจับศีรษะเอาไว้
- ให้ยาในปริมาณน้อยในแต่ละครั้งเพื่อป้องกันการสำลักยา
- หยอดยาไว้ในปากหรือริมฝีปาก
- กล่อมเด็กไปด้วยขณะให้ยา
6.วิธีการให้ยาเด็กเล็ก
- เลือกท่าที่เด็กเล็กต้องการในการทานยา และให้เด็กคุ้นเคยกับอุปกรณ์ให้ยา
- ใช้อาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อกลบกลุ่นหากจำเป็น เมื่อทานยาแล้วให้ ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเพื่อลดกลิ่น
ตารางขนาดยาในเด็กที่ใช้บ่อยในหน่วยบริการปฐมภูมิ

Analgesic/Antipyretic drug (ยาลดไข้) เช่น Paracetamol
Paracetamol syrup (120, 125 mg/5 ml)
ขนาดยาที่แนะนำ : 10-15 mg/kg/dose ทุก 4-6 ชั่วโมงผลข้างเคียง : ผื่นคันบริเวณผิวหนัง เกิดลมพิษ บวมบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก
ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : ควรระวังในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต โรคลมชัก
Respiratory Drugs กลุ่มยาที่ใช้ในระบบทางเดินหายใจ
1.Antihistamine (ยาแก้แพ้) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 First generation หรือ Sedating Antihistamine เช่น Chlorpheniramine, Diphenhydramine, Hydroxyzine, Brompheniramine เป็นต้น ยากลุ่มนี้ผ่าน blood brain barrier ได้ดี จึงมีฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาท- Diphenhydramine HCI (Benadryl®) Syr. (12.5 mg/5 ml)(**Benadryl มี pseudoephedrine 30 mg/5 ml) ขนาดยาทีแนะนำ : 5 mg/kg/day ทุก 6-8 ชั่วโมง
- Hydroxyzine Syr.(10 mg/5 ml) ขนาดยาที่ แนะนำ : 2 mg/kg/day ทุก 6-8 ชั่วโมง
ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และในเด็กเล็ก ถ้าใช้ขนาดมากเกินไป อาจทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายหรือชักได้ และยานี้อาจทำให้เสมหะเหนียว ขับออกยาก จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไอมี เสมหะ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หืด เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 Second generation หรือ Nonsedating Antihistamine ได้แก่ Loratadine และ Cetirizine เป็นต้น
Cetirizine Syr. (5 mg/5 ml) ขนาดยาที่แนะนำ : 0.25 mg/kg/day ทุก 12-24 ชั่วโมง
- อายุ 2-6 ปี : 2.5 mg ทุก 12 ชั่วโมง หรือ 5 mg ทุก 24 ชั่วโมง
- อายุ > 6 ปี : 5-10 mg ทุก 24 ชั่วโมง
- น้ำหนัก < 30 kg = 5 mg ทุก 24 ชั่วโมง
- น้าหนัก > 30 kg = 10 mg ทุก 24 ชั่วโมง
ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : อาจพบ Prolonged QT interval ถ้าให้ร่วมกับยา Ketoconazole, Itraconazole, Erythromycin, Clarithromycin และแนะนำให้ใช้ในเด็กอายุ ≥ 2 ปี
กลุ่มที 3 Third generation เป็น active metabolites ของ Second generation ได้แก่ Fexofenadine, Descarboethoxy-loratadine
2.Decongestant (ยาลดการคั่งของน้้ำมูก)
Nasal decongestant : 0.25% Ephedrine- ข้อบ่งใช้ : ช่วยลดอาการแน่นคัดจมูกหรือมีอาการบวมของเยื่อบุจมูก
- วิธีการใช้ : ป้ายหรือหยดจมูกวันละ 2-4 ครั้ง/วัน
- ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : ไม่ควรใช้เกิน 3-5 วัน ในเด็กทุกอายุ เพราะอาจทำให้เกิดอาการกลับมาคัดจมูก ได้ (rebound congestion) เมื่อหยุดยา
- ข้อบ่งใช้ : ช่วยลดอาการแน่นคัดจมูกหรือมีอาการบวมของเยื่อบุจมูก
- วิธีการใช้ : พ่นจมูกวันละ 2-3 ครั้ง/วัน
- ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : ไม่แนะนำในเด็ก <1 5="" li="">1>
Oral decongestant : Pseudoephedrine Syr. (30 mg/5 ml)
- ข้อบ่งใช้ : ช่วยลดอาการแน่นคัดจมูกหรือมีอาการบวมของเยื่อบุจมูก
- ขนาดยาที่ แนะนำ : 3-5 mg/kg/day ทุก 6-8 ชั่วโมง
- ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายท้องและท่าให้หัวใจเต้นเร็วได้
- ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เพราะอาจมีผลข้างเคียงได้

3 Expectorants (ยาขับเสมหะ) เช่น Glyceryl guiacolate หรือ Guaifenasin
Glyceryl Guiacolate Syr. (100 mg/5 ml)- ขนาดยาที่แนะนำ : 50-100 mg/dose ทุก 6-8 ชั่วโมง
- ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน
- ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : เป็นยาที่ใช้บ่อยในเด็ก ซึ่งค่อนข้างปลอดภัย ไม่ค่อยมีผลข้างเคียง
4.Mucolytics (ยาละลายเสมหะ) ได้แก่ Carbocysteine, Bromhexine เป็นต้น
Carbocysteine Syr. (100, 250 mg/ 5 ml)- ขนาดยาที่แนะนำ : อายุ < 5 ปี = 125 mg, 5-12 ปี =250 mg, >12 ปี = 500 mg ทุก 8 ชั่วโมง
- ผลข้างเคียง : hypersensitivity reaction, คลื่นไส้ อาเจียน
- ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : ระวังการใช้ยาชนิดนี้ในคนเป็น Asthma เนื่องจากเกิด Bronchospasm และระวังในคนที่มีประวัติ peptic ulcer และมีความปลอดภัยในเด็กที่อายุมากกว่า 2 ปี
ขนาดยาที่แนะนำ :
- อายุ < 2 ปี = 1 mg ทุก 8-12 ชั่วโมง
- 2-5 ปี = 2 mg ทุก 8-12 ชั่วโมง
- 5-10 ปี = 4 mg ทุก 8-12 ชั่วโมง
- >10 ปี = 8 mg ทุก 8-12 ชั่วโมง
ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : ระวังการใช้ยาชนิดนี้ในคนที่มีประวัติ peptic ulcer และ asthma
ระวังการให้ Bromhexine ทาให้ความเข้มข้นของ Antibiotic บางชนิดเพิ่มขึ้น เช่น Erythromycin และ Amoxicillin
5.Bronchodilators (ยาขยายหลอดลม) เช่น กลุ่ม Beta -2-agonists ออกฤทธิ์ขยายหลอดลมโดยกระตุ้น Beta-2mm receptors ได้แก่ Salbutamol, Terbutaline เป็นต้น
Salbutamol Syr. (2 mg/5 ml) ,Inhalerขนาดยาที่แนะนำ : 0.1-0.2 mg/kg/dose ทุก 6-8 ชั่วโมง
อายุ < 12 ปี พ่นครั้งละ 1-2 puff วันละ 4 ครั้งหรือ PRN
- ผลข้างเคียง : หัวใจเต้นเร็ว, คลื่นไส้ อาเจียน, กระวนกระวาย
- ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : ในกรณีที่เป็นยาพ่นอาจจะใช้ Tube spacer เพื่อจะได้รับยาอย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้นและลดอาการข้างเคียงได้
Antiemetic drug (ยาแก้อาเจียน) บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน
Domperidone Syr. (5 mg/5 ml)
- ขนาดยาที่แนะนำ : 0.2-0.5 mg/kg/dose ทุก 6-8 ชั่วโมง ก่อนอาหาร (Max. dose 2.4 mg/kg/day)
- ผลข้างเคียง : ปวดศีรษะ, เวียนศีรษะ, ง่วงซึม, เต้านมโตในผู้ชาย, น้ำนมไหล, extrapyramidalxx symptoms
- ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : ห้ามใช้ร่วมกับ Erythromycin, Ketoclonazole (CYP 3A4 inhibitor) เพราะ จะทำให้ระดับยา Domperidone ในเลือดสูงขึ้น
Anti-Helminthics (ยาถ่ายพยาธิ)
Albendazole Susp. (100 mg/5 ml)
ถ่ายพยาธิตัวกลม (พยาธิไส้เดือน, พยาธิปากขอ, พยาธิแส้ม้า, พยาธิเข็มหมุด) และพยาธิตัวแบน (พยาธิเส้นด้าย, พยาธิใบไม้, พยาธิตัวตืด)
- ขนาดยาที่แนะนำ : อายุ 1-2 ปี : 200 mg OD , > 2 ปี : 400 mg OD (พยาธิตัวกลม : ให้ครั้งเดียว, พยาธิตัวแบน : ให้นาน 3 วัน)
- ผลข้างเคียง : ปวดศีรษะ, ปวดท้อง, คลื่นไส้
- ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : การรับประทานอาหารที่มีไขมันจะช่วยให้ยา Albendazole ดูดซึมได้ดีขึ้น
Antispasmodic drug (ยาคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ)
บรรเทาอาการปวดเกร็งในช่องท้อง
Hyoscine N-butyl bromide Syr. (5mg/5ml) inj. (20 mg/ml)
ขนาดยาที่แนะนำ
- อายุ < 1 ปี : 2.5 mg/dose ทุก 6-8 ชั่วโมง
- 1-6 ปี : 5-10 mg/dose ทุก 6-8 ชั่วโมง
- > 6 ปี : 10-20 mg/dose ทุก 6-8 ชั่วโมง
ยาชนิดฉีด 0.3-0.6 mg/kg/dose IV, IM ทุก 6-8 ชั่วโมง
ผลข้างเคียง : ปากแห้ง, ใจสั่น, ท้องผูก, ผิวแห้ง, ความดันต่าขณะเปลี่ยนอิริยาบถ
Antacid (ยาลดกรด)
ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยเนื่องจากแผลที่ทางเดินอาหาร (ulcer dyspepsia) อาการปวดจุกแน่นท้อง เรอเปรี้ยว จากการมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป และกรดไหลย้อนที่ไม่ได้เป็นแผล (non-erosive GERD)
(Aluminum hydroxide + magnesium hydroxide (Alum milk®)
- ขนาดยาที่แนะนำ : 0.5-1 ml/kg/dose ทุก 6 ชั่วโมง
- ผลข้างเคียง : คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องเสีย
- ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : อาจเกิด hypermagnesaemia ในผู้ป่วยไตวาย
- ควรกินห่างจากยาอื่น 2 ชั่วโมง เนื่องจากอาจมีผลลดการดูดซึมของยาอื่น, เขย่าขวดก่อนรับประทาน
Antiflatulances (ยาขับลม)
ใช้บรรเทาอาการท้องอืด เนื่องจากมีแก๊สมากในกระเพาะอาหาร ลำไส้
Simethicone (40 mg/0.6 ml)
ขนาดยาที่แนะนำ
- อายุ < 2 ปี : 0.3 ml ทุก 6 ชั่วโมง
- 2-6 ปี : 0.6 ml ทุก 6 ชั่วโมง
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน
Anti acute diarrhea drugs (ยาที่รักษาอาการท้องร่วงเฉียบพลัน)
ผงน้าตาลเกลือแร่ (ORS)
เพื่อทดแทนการสูญเสียน้าและเกลือแร่ในร่างกายจากอาการท้องร่วงหรืออาเจียน
ขนาดยาที่แนะนำ
- อายุ < 2 ปี : ให้ ORS ดื่มวันละ 1-2 แก้ว
- 2-10 ปี : ให้ ORS ดื่มวันละ 3-4 แก้ว
- > 10 ปี : ให้ตามต้องการ
คำแนะนำ : ละลายผงยาในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้ว (ประมาณ 250 ml) และให้ผู้ป่วยจิบบ่อยๆ เมื่อชง แล้วควรจิบให้หมดภายใน 1 วัน หากทิ้งไว้นาน อาจมีเชื้อแบคทีเรียขึ้นได้
ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Fluoroquinolones เช่น Norfloxacin, Ofloxacin
ขนาดยาที่แนะนำ
- Norfloxacin 15-20 mg/kg/day ทุก 12 ชั่วโมง ก่อนอาหารนาน 5 วัน
- Ofloxacin 10-20 mg/kg/day ทุก 12 ชั่วโมง ก่อนอาหารนาน 5 วัน
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดศีรษะ
ข้อควรระวัง/คำแนะนำ : ไม่ควรกินยากลุ่ม Fluoroquinolones ร่วมกับนม แคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุ สังกะสี หรือยาลดกรด เพราะอาหารและยาเหล่านี้จะจับกับ Fluoroquinolones ทำให้ยาดูดซึมได้น้อยลง ถ้าจำเป็นต้องกินร่วมกันให้กินยาเหล่านี้ห่างจากยากลุ่ม Fluoroquinolones ประมาณ 2 ชั่วโมงและไม่ แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุต่ากว่า 18 ปี เนื่องจากมีผลต่อกระดูกและข้อได้ในเด็กที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มวัย
กลุ่มยาปฏิชีวนะAntibiotic Drugs


เรียบเรียงโดย นายนภัสดลย์ ดลกวีศิลป์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
เอกสารอ้างอิง :
เอกสารอ้างอิง :
- คู่มือการใช้ยาในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- Drug information Handbook edition 20th 3.IDSA Guideline 2012.