การรักษาการบาดเจ็บข้อเข่า (Treatment)
การบาดเจ็บระดับ 1
แนะนำว่าให้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด การรักษาเบื้องต้นทำได้โดยใช้หลักการ "RICE" กล่าว คือ
R = rest คือการหยุดพักและงดจากการเล่น
I = ice คือ การใช้ความเย็นโดยใช้น้ำแข็ง
C = compression คือการประคบด้วยความเย็นเพื่อลดปวด ลดบวม
E = elevation คือการทำให้ส่วนที่บาดเจ็บยกสูงในที่นี้ก็คือยกขาสูงเพื่อที่จะช่วยลดการบวม จากนั้นหากเดินลงน้ำหนักไม่ได้ให้ใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดิน
การบาดเจ็บ ระดับ 2
การรักษานอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นหากข้อเข่าบวมมากในช่วงแรกอาจต้อง พัน compressive dressing ไว้ในช่วงแรกเพื่อ immobilization จากนั้นเมื่อยุบบวมก็มาประเมิณการบาดเจ็บซ้ำอีกครั้งหรือจะต้องส่ง investigation เพิ่มเติมเพื่อประกอบการรักษาหากเป็นแค่ sprain ของ MCL หรือ LCL ก็ใช้เป็น knee brace หรือ knee support หรือ strapping ก็ได้การบาดเจ็บระดับ 3
โดยมากการรักษายังคงเป็นการทำผ่าตัดเพื่อเข้าไปซ่อมโดยตรงยกเว้นเอ็นไขว้ หน้า และ ไขว้หลังซึ่งผลของการผ่าตัดทำการเย็บซ่อมทราบแล้วว่าได้ผลไม่ดีไปกว่าการผ่า ตัดสร้างเอ็นขึ้นมาใหม่ ส่วนเอ็นประกับเข่าด้านในหากบาดเจ็บระดับนี้สามารถรักษาโดยไม่ผ่าตัดได้ การรักษาจะใส่เฝือกไว้จากนั้นเปลี่ยนเป็น knee brace ที่ปรับองศาได้แต่หากบาดเจ็บร่วมกับเอ็นเส้นอื่นในกรณีที่เป็น knee dislocation และมี multiple ligaments injuries แนะนำทำการผ่าตัดซ่อม หากพบร่วมกับ ACL ควรรักษา MCL ให้ดีก่อนโดยการ conservative จากนั้นจึงค่อยพิจารณาทำ ACL reconstruction โดยวิธีการนี้จะลดปัญหา ข้อเข่าติดภายหลังการผ่าตัดได้มาก
กล้องส่องข้อ หรือ Arthoscope เป็นเครื่องมือพิเศษที่มีกล้องลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายตะเกียบ ขนาดประมาณ 2 ถึง 5 มิลลิเมตร ยาวประมาน 20 - 30 เซนติเมตร สำหรับการส่องตรวจดูพยาธิสภาพของข้อ อาทิ ความผิดปกติของเยื่อหุ้มข้อเข่า การฉีกขาดของเส้นเอ็นและกระดูกอ่อน ช่วยค้นหาสาเหตุของอาการบาดเจ็บและโรคต่าง ๆ รวมถึงใช้ในการผ่าตัดข้อต่าง ๆ โดยการเจาะรูเล็ก ๆ ขนาด 0.5 เซนติเมตร ราว 2-3 รู (ไม่ต้องเปิดเป็นแผลขนาดใหญ่) เพื่อใส่อุปกรณ์ และกล้องสำหรับส่องเข้าไปในข้อ โดยแสดงภาพที่จอคอมพิวเตอร์ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน ทำให้แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคกระดูกและข้อได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากแพทย์จะสามารถเห็นพยาธิสภาพของโรคภายในข้อได้โดยตรง โดยทำการรักษาทางบาดแผลที่เจาะเป็นรูเล็ก ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยลง หลังการผ่าตัด ทำให้บาดแผลหายเร็ว โดยทั่วไปหลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน ซึ่งฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเก่า แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดไม่มากนักก็สามารถรับประทานยาระงับอาการปวดได้ และสามารถกลับบ้านได้เลย
)
การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง (Arthroscopic surgery)
เป็นการตรวจภายในข้อเข่า จะได้การตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องชัดเจน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับการฉีดยาเข้าในเยื่อหุ้ม ไขสันหลังเพื่อให้ส่วนล่างของร่างกายชา ผู้ป่วยสามารถรับการผ่าตัดรักษาได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ใช้แผ่นรัดห้ามเลือดบริเวณ ต้นขา เพื่อที่ไม่ให้เลือดออกมากระหว่างการผ่าตัดรักษา เจาะรูบริเวณด้านหน้าเข่าชิดกับเอ็นลูกสะบ้า ใส่ท่อโลหะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 มิลลิลิตร ซึ่งมีเลนส์และท่อนำแสงส่องเข้าไปในข้อเข่าสามารถเห็นส่วนต่าง ๆ ภายในข้อเข่า โดยต่อภาพเข้ากับจอทีวีได้ ซึ่งจะเห็นส่วนต่าง ๆ ภายในข้อเข่า จะเป็นภาพขยายจากของจริงประมาณ 5 ถึง 10 เท่า สามารถจะอัดเป็นภาพวีดีโอ เพื่อมาดูภายหลังการผ่าตัดได้
ในการตรวจโดยวิธีส่องกล้อง จะเห็นพยาธิสภาพต่าง ๆ ในข้อเข่า เช่น ผิวข้อซึ่งเป็นกระดูกอ่อน, เอ็นไขว้หน้า, เอ็นไขว้หลัง, หมอนรองข้อเข่า, เยื่อบุข้อ เพื่อพบพยาธิสภาพหรือการผิดปกติก็สามารถผ่าตัดแก้ไขได้ เช่น การทำผิวข้อให้เรียบ การเอาส่วนของหมอนรองข้อเข่าขวาออกรวมทั้งการผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้า, เอ็นไขว้หลังได้

ผู้ป่วยจะได้รับการพันเข่าด้วยสำลีหนา ๆ แล้วรัดด้วยผ่ายืดให้แน่นเพื่อไม่ให้บวมประมาณ 3 – 4 วันหลังจากนั้น ให้ผู้ป่วยเริ่มบริหารกล้ามเนื้อหัวเข่าได้อย่างไรก็ตามการผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า เป็นการแก้ ปัญหาข้อเข่าหลวมได้ดี อย่างไรก็ตามต้องใช้เวลาประมาณ 8 เดือน กว่าเส้นเอ็นใหม่จะแข็งแรงพอที่เราจะสามารถกลับมาวิ่งหรือเล่นกีฬาได้ และเราไม่สามารถที่จะทำให้เส้นเอ็นใหม่นี้แข็งแรงเท่าเส้นเอ็นดั้งเดิมได้ส่วนใหญ่แล้ว มักจะผ่าตัดในคนอายุน้อยอยู่ และต้องการกลับไปเล่นกีฬาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ผ่าตัดแล้ว ต้องขยันทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อกลับมาให้ได้ปกติ ผลการรักษาจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด
การรักษาเพิ่มเติม
ใน ทุกระดับของการบาดเจ็บควรจะต้องให้ยา ลดปวด พวก Analgesics เช่น paracetamal ยากลุ่ม NSAIDS เพื่อลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ (tissue inflammation) การกายภาพบำบัดอันได้แก่ การประคบด้วยความร้อน การเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหว การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆเข่า การบริหารกล้ามเนื้อเมื่ออยู่ในเฝือก
เวลาที่เหมาะสมในการกลับไปเล่นกีฬาใหม่
ขอบคุณเจ้าของภาพประกอบ
ควรที่จะต้องรอให้เอ็นที่รักษาหายสนิทดีเสียก่อนโดยดูได้จาก การงอ การเหยียดข้อจะต้องไม่ติดขัด ข้อจะต้องมีความมั่นคงแข็งแรงที่พอเพียง สามารถวิ่งได้ กระโดดโดยไม่เจ็บเมื่อใช้ข้อข้างนั้น สามารถวิ่งซิกแซกเป็นรูปเลข 8 ได้ และควบคุมการหยุดได้ดีในขณะวื่ง นอกจากนี้ขนาดกล้ามเนื้อรอบเข่าต้องได้ใกล้เคียงเข่าข้างปกติ
โดย ทั่วไปมักจะใช้เวลา 3-4 เดือนในการบาดเจ็บระดับ 2 ส่วนระดับ 3 อาจใช้เวลายาวนานกว่าขึ้นอยู่กับความรุนแรง วิธีการรักษา ชนิดของวัสดุที่ใช้ผ่าแทนเอ็น โดยทฤษฎีแล้วเอ็นไขว้หน้าหลังจากผ่าตัดจะมีสภาพแข็งแรงพอที่จะออกกำลังกาย เบาได้ที่ 6 เดือน หายสมบูรณ์ที่ 9 เดือน เมื่อใช้เอ็นลูกสะบ้ามาใช้ทดแทน
การบาดเจ็บจากการกีฬาเป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะการบาดเจ็บของนักกีฬาซึ่งเป็นความหวังของทีมหรือนักกีฬาอาชีพ จากสถิติพบว่าการบาดเจ็บที่บริเวณข้อเข่านั้นมีอุบัติการณ์ที่เกิดการบาด เจ็บสูงมาก โดยเฉพาะบริเวณเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าในนักกีฬาฟุตบอล ซึ่งปัจจุบันเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูง การรักษาของแพทย์ในปัจจุบันถ้าไม่ผ่าตัดจะแนะนำให้สร้างความแข็งแรงของกล้าม เนื้อต้นขา แต่ในรายที่จำเป็นต้องผ่าตัดแพทย์นิยมใช้วิธีผ่าตัด 2 วิธีคือวิธีแรกนำเอ็นที่1/3กึ่งกลางลูกสะบ้ามาใช้ทดแทนเอ็นที่ขาด อีกวิธีคือการนำเอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังมาทดแทน
การ รักษาการบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดนั้นมีความหลากหลายซึ่งแต่ละวิธี นั้นจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันจึงจำเป็นต้องมีขั้นตอน วิธีการฟื้นฟูที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยลดปัญหา การบาดเจ็บเรื้อรัง และการบาดเจ็บซ้ำซ้อน จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อในน้ำช่วยลดการอักเสบบวมรวมถึงหน้าที่ การทำงานของข้อต่อดีกว่าการฟื้นฟูบนบกภายหลังการผ่าตัด 8 สัปดาห์ ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะนำการฟื้นฟูด้วยการออกกำลังกายในน้ำ ในการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะแรก หลังจากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแล้ว 2 วัน ซึ่งผู้ป่วยยังไม่สามารถลงน้ำหนักได้เต็มที่
ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า ที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา มุมการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ระดับความเจ็บปวด เส้นรอบวงของข้อเข่าระหว่างการออกกำลังกายในน้ำลึก กับการออกกำลังกายเพื่อการรักษาโดยทั่วไปภายหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บาดเจ็บเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการอาสาสมัคร แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มโดยการจัดเข้ากลุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 10 คน กลุ่มที่ 1 ให้โปรแกรมการออกกำลังกายในน้ำลึก กลุ่มที่ 2 ให้โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการรักษาทั่วไป 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบไอโซเมตริก วัดมุมการเคลื่อนไหวของข้อเข่า วัดระดับความปวด และวัดเส้นรอบวงข้อเข่า ก่อนการผ่าตัดและภายหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์
ผลการวิจัยพบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาท่าเหยียดและท่างอ มุมการเคลื่อนไหวท่างอข้อเข่า และ เส้นรอบวงของข้อเข่า ก่อนและภายหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งสองกลุ่ม และจากการเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายระหว่างกลุ่มการออกกำลังกายในน้ำลึก และ การออกกำลังกายเพื่อการรักษาทั่วไป พบว่า มุมการเคลื่อนไหวท่าเหยียดและงอข้อเข่า และระดับความเจ็บปวด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภายหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าการออกกำลังกายในน้ำจะช่วยเพิ่มมุมการเคลื่อน ไหวของผู้ป่วย และลดระดับความเจ็บปวดของข้อเข่าภายหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดซ่อมสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าระยะเฉียบพลัน
การป้องกัน
1. ฝึกทักษะในกีฬาที่จะเล่นและหลีกเลี่ยงการปะทะที่รุนแรง ในประเทศไทยผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บ ของข้อเข่าจากการเล่นกีฬา (มากกว่า 200 รายต่อปี) โดยพบว่ามีสาเหตุหลักเกิดจากการเล่นฟุตบอลมากที่สุด2. ฝึกซ้อมให้มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อรอบเข่า quadriceps และ hamstrings
3. ฝึกซ้อมให้มีความยืดหยุ่นของร่างกายและการฝึกเกี่ยวกับการทำงานประสาน (coordination) และการทรงตัว
5. การใช้อุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บ ช่วยลดแรงกระแทก และความรุนแรงของการบาดเจ็บได้ แม้อาจจะไม่สะดวกนักในระยะแรก ๆ ของการสวมใส่ แต่หากแลกกับความปลอดภัยได้ผลคุ้มค่าทีเดียว