ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง
เอ็นไขว้หน้าฉีกขาดและการบาดเจ็บของเข่า

หัวเข่าเป็นข้อที่รับน้ำหนักของร่างกายและเคลื่อนไหวเพื่อให้เราเดิน ลุก นั่ง นอน ได้ ข้อเข่ายังทำหน้าที่เป็นตัวลดแรงกระแทกจากการวิ่งหรือกระโดดโดยการผ่อนถ่ายน้ำหนักของร่างกายอีกด้วย ข้อเข่าจึงเปรียบได้กับส่วนโช๊คอัพของรถยนต์ เมื่ออายุมากขึ้น ข้อเข่าที่ทำงานมานานก็มีโอกาสเกิดโรคเข่าเสื่อม ปวดข้อ ข้อบวม สำหรับผู้ที่เล่นกีฬาหรือได้รับการบาดเจ็บของข้อเข่าจากอุบัติเหตุ เส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนในข้อเข่าก็จะฉีดขาดได้ ทำให้มีเลือดออกในข้อเข่า เจ็บปวดเรื้อรัง และไม่สามารถขยับข้อเข่าได้ตามปกติ  ประสบการณ์การตรงของ Admin เองที่เคยได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นฟุตบอลและลงท้ายที่สุดด้วยการผ่าตัด บทความนี้จึงขอนำข้อมูลมาให้ผู้อ่านได้ศึกษากันครับว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง เมื่อเกิดการบาดเจ็บของข้อเข่าและการรักษา ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพเข่าของเราให้กลับมาใกล้เคียงของดั้งเดิมให้มากที่สุด
กายวิภาคของข้อเข่า

ข้อเข่า  ประกอบด้วย  กระดูกฟีเมอร์ (Femur)  กระดูกทิเบีย  (Tibia) กระดูกสะบ้าด้านหน้าข้อเข่า  (Patella) บริเวณที่กระดูกทั้ง  3  ชิ้น สัมผัสกันจะมีผิวข้อซึ่งเป็นกระดูกอ่อน  (Articular  cartilage) คลุมอยู่และภายในข้อคลุ่มด้วย  เยื่อบุข้อ (Synovial  membrane)  ระหว่างผิวข้อกระดูกฟีเมอร์  และกระดูกทิเบีย  มีหมอนรองข้อเข่ารูปร่างคล้ายตัว C  รองอยู่ทั้งด้านนอกและด้านในซึ่งทำหน้าที่ช่วยลดแรงกระแทรกบนผิวข้อเข่า  และช่วยเสริมความแข็งแรงของ      ข้อเข่า  และช่วยให้น้ำหล่อลื่นข้อเข่าไปเคลือบผิวข้อได้ดีขึ้น  ความมั่นคงของข้อเข่าขึ้นอยู่กับกระดูกฟีเมอร์และกระดูก     ทิเบีย  ที่ประกอบเป็นข้อเข่าที่ยังมีลักษณะปกติไม่แตกไม่ทรุด   หมอนรองกระดูกข้อเข่าและเอ็นที่ยึดข้อเข่า  รวมทั้งกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ ข้อเข่า  
กล้ามเนื้อที่สำคัญ  คือ  กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าที่ทำหน้าที่เหยียดข้อเข่า  เรียกว่า Quadriceps  muscles  และกล้ามเนื้อที่อยู่ต้นขาด้านหลัง เรียก Hamstring  muscles ถ้าส่วนต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเสียไป  หรือทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติก็จะเสียความมั่นคงของข้อเข่า
ความมั่นคงของข้อเข่า  จากเอ็นใหญ่  4  เส้น
1. เอ็นเข่าด้านนอก  (Lateral  collateral  ligament)
2. เอ็นเข่าด้านใน  (Medial  collateral  ligament)
3. เอ็นไขว้หน้า  (Anterior  cruciate  ligament)
4. เอ็นไขว้หลัง  (Posterior  cruciate  ligament)


เอ็นเข่าด้านนอก,  ด้านใน  ช่วยป้องกันไม่ให้เข่าหลวม  เอียงไปด้านข้าง
เอ็นไขว้หน้า  ป้องกันไม่ให้เข่าหลวม  เลื่อนไปด้านหน้า
เอ็นไขว้หลัง  ป้องกันไม่ให้เข่าหลวม  เลื่อนตกไปด้านหลัง
               ภยันตรายที่เข่าปิดอย่างรุนแรงหรือภาวะที่ทำให้เข่าเคลื่อนมากกว่าปกติ  เช่น  ล้ม  เสียหลัก  ถูกกระแทรก  เข่าเหยียดจนแอ่นไปทางด้านหลังหรือด้านข้างมากเกินไป  จะทำให้เอ็นใหญ่ที่ยึดข้อเข่าฉีกขาดได้  อาจจะมีการฉีกขาดเพียงอันเดียวหรือหลายอัน  หรือมีการบาดเจ็บร่วมกับผิวข้อแตกหมอนรองข้อเข่าฉีกขาดร่วมด้วยก็ได้




เอ็นไขว้หน้า(ACL-Anterior Cruciate  ligament) เป็นเอ็นยึดข้อเข่าที่สำคัญภายในเข่า  ช่วยให้มีความมั่นคงของเข่า ในการบิดหรือหมุนข้อเข่า( Rotational  stability )คนที่ไม่มีเอ็นไขว้หน้า เมื่อบิดข้อเข่าจะรู้สึกเข่าอ่อนจะล้ม เกิดอาการปวดเข่า และอาจจะมีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่า หรือกระดูกอ่อนผิวข้อร่วมด้วย  ถ้าเข่าเสียความมั่นคงเกิดอาการบิดเช่นนี้บ่อย ๆ จะทำให้การบาดเจ็บของหมอนรองข้อและผิวข้อมากขึ้น กลายเป็นภาวะข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุยังน้อยเอ็นไขว้หน้า ( Anterior cruciate ligament - ACL)เป็นเอ็นที่อยู่ในข้อเข่า  ช่วยป้องกันกระดูกทีเบีย (Tibia)  เคลื่อนที่ไปข้างหน้าใต้กระดูกฟีเมอร์ (Femur)  เอ็นไขว้หน้า จะตึงเวลาเหยียดเข่า   แรงบิดหมุนที่รุนแรงทำให้เอ็นไขว้หน้าขาดได้ และความมั่นคงของเข่า ที่ป้องกันไม่ให้กระดูกทีเบีย(Tibia)  เลื่อนไปข้างหน้าใต้เข่า หรือบิดหมุน ก็จะเสียไป  ถ้าไม่ได้รับการรักษา หมอนรองข้อเข่า หรือกระดูกอ่อนผิวข้อ ก็จะได้รับแรงที่ผิดปกติมากเกิน ทำให้ข้อเสียเกิดภาวะข้อเสื่อมได้

อาการแสดง      
         อาการในระยะแรกได้แก่ การมีข้อเข่าบวม เนื่องจากมีเลือดออกภายในข้อเข่า อาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ต่อมาผู้ป่วยจะรู้สึกว่าข้อเข่าหลวม ไม่มั่นคง มีอาการเข่าพลิกหรือข้อเข่าเคลื่อนออกจากกัน โดยเฉพาะเวลาบิดขา หรือเดินผิดท่าทาง ส่วนใหญ่จะไม่สามารถวิ่งซิกแซ็กได้ หรือวิ่งแล้วจะหยุดทันทีทันใดไม่ได้เนื่องจากข้อเข่าจะเคลื่อน บางทีอาจจะเข่าหลุดเลยก็มี ในรายที่มีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่า ซึ่งพบร่วมกันได้ คนที่เอ็นขาดแล้วยังเล่นกีฬาต่อไป จะมีอาการเจ็บตามแนวข้อต่อหรือมีอาการข้อเข่าติดร่มด้วย  บางทีเข่าล็อก 

ความรุนแรงของการฉีกขาดของเอ็น  แบ่งได้เป็น  3 ระดับ

ระดับที่ 1  มีการฉีกขาดภายในเนื้อเยื่อของเอ็น  แต่เอ็นยังไม่ยึดหรือขาดให้เห็นชัดเจน
ระดับที่ 2  เอ็นฉีกขาดบางส่วน
ระดับที่ 3  เอ็นฉีกขาดแยกออกจากกันทั้งหมด

การจำแนกลักษณะของการบาดเจ็บเส้นเอ็น

-     การบาดเจ็บระดับ 1 grade 1 sprain ( mild or first-degree)
การบาดเจ็บแบบนี้จะเกิดมีการฉีกขาดบางเส้นใยของส่วนในเนื้อเอ็นและมีเลือดออกเกิดขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ดีไม่ทำให้เกิดการเสียสมรรถนะของเอ็นไปมาก (functional loss ) เส้นเอ็นไม่เสียความแข็งแรง การรักษาใช้แบบตามอาการ

-     การบาดเจ็บระดับ 2 grade 2 sprain ( moderate or second – degree)
ลักษณะการบาดเจ็บจะมีการฉีกขาดของตัวเส้นเอ็นบางส่วน ผู้ป่วยจะมี functional loss เช่นเจ็บมากเดินลำบากหรือเดินไม่ไหว อาการแสดงจะมีอาการปวด บวม เจ็บ มีรอยเขียวช้ำชัดเจน และใช้เวลา 2-3 สัปดาห์จึงจะค่อยๆยุบบวม ข้อต่อจะยังคงมีความแข็งแรงมั่นคงอยู่ดังนั้นผู้ป่วยจึงสามารถกลับไปเล่นกีฬาที่ชอบหากรักษาได้ถูกต้องและรวดเร็วรวมถึงการระมัดระวังการใช้ข้อในช่วงรักษาโดยที่จะต้องกายภาพบำบัดรักษาการเคลื่อนไหวขัอต่อการเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อและไม่รีบกลับไปเล่นจนกว่าเอ็นนั้นจะหายสนิทโดยทั่วไปจะใช้เวลารักษาประมาณ 6-10 สัปดาห์เอ็นที่บาดเจ็บจะสมานและประมาณว่าใช้เวลาประมาณ เดือนเอ็นจึงหายสมบูรณ์ดี

-     การบาดเจ็บระดับ 3 grade 3 sprain ( severe or third – degree)
การบาดเจ็บแบบนี้ก่อให้เกิดการเสียสมรรถภาพของตัวเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บกล่าวคือจะมีการฉีกขาดของเอ็นทำให้เส้นเอ็นไม่มีความต่อเนื่อง ( Complete tears) ซึ่งจะขาดที่ตัวเอ็นหรือที่ๆเอ็นเกาะกับกระดูกก็ได้ ลักษณะการบาดเจ็บแบบนี้ทำให้มีการหลวมหลุดของข้อต่อเกิดความไม่มั่นคงขึ้น (instability) การรักษาโดยมากมักจะต้องอาศัยการทำผ่าตัดซึ่งมีหลายแบบตั้งแต่ผ่าตัดเย็บซ่อม (primary repair) ไปจนถึงการผ่าตัดสร้างเอ็นขึ้นมาใหม่ (reconstruction)

การวิเคราะห์โรค (Investigations)

เอ็นไขว้หน้าขาดเพียงอย่างเดียวมักไม่ทำให้เกิดอาการปวด นอกจากมีอาการ 2 – 3 สัปดาห์แรก หลังเกิดอุบัติเหตุ ปัญหาของเอ็นไขว้หน้าขาดเกิดจากเข่าไม่มีความมั่นคง เวลารับน้ำหนักแล้วบิดเข่า (เช่น เวลาเดินจะเลี้ยว หรือเปลี่ยนทิศทาง) การวิ่งหรือขี่จักรยานยังสามารถทำได้โดยไม่มีปัญหามากนักแต่กิจกรรมที่ต้องการความว่องไว และมีการบิดหมุนเข่า มักจะทำไม่ค่อยได้ถ้าไม่มีเอ็นไขว้หน้ายึดเข่าให้มั่นคง
การตรวจพบทางด้านการแพทย์
1. ตรวจน้ำหรือเลือดออกในข้อเข่า ซึ่งจะพบภายในข้อเข่าที่บวมมาก
2. ตรวจความมั่นคงด้านข้างข้อเข่า
3. ตรวจความมั่นคงในแนวหน้า – หลังของข้อเข่า
4. ตรวจการเคลื่อนไหวหมุนเข่า เพื่อดูว่าหมอนรองข้อเข่าขาดหรือไม่
5. เอ๊กซเรย์ข้อเข่าเพื่อดูว่ามีลักษณะกระดูกหัก ข้อเคลื่อนหรือไม่ การเอ็กเรย์ สามารถทำให้ทราบถึงการบาดเจ็บร่วมที่มีต่อกระดูกเช่นกระดูกหักหรือเตกร้าว แต่ไม่สามารถมองเห็นเส้นเอ็นที่ขาดได้โดยตรงแต่อาจดูได้โดยอ้อมก็คือดู ลักษณะของข้อที่อ้าออกมากกว่าปกติซึ่งบ่งบอกถึง grade 3 หรือเอ็นหลายเส้นบาดเจ๊บ การเอ็กเรย์ควรทำในกรณีที่ผู้ป่วยมี disability หรือ functional loss หรือมี swelling หรือ hematoma, echimosis ที่ชัดเจน 

นอกเหนือจากเอ็กเรย์เป็นที่น่ายินดีที่ว่าในปัจจุบันนี้มีการใช้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magmatic resonance ) มาช่วยให้การวินิจฉัยได้ละเอียดแม่นยำขึ้นอันได้แก่ความสามารถในการดู พยาธิสภาพของ กระดูกอ่อน หมอนรองข้อเข่า เส้นเอ็นทั้งภายในและภายนอก กล้ามเนื้อ และการบาดเจ็บของเนื้อกระดูก ที่เอ็กเรย์ธรรมดาไม่สามารถทำได้ อันจะทำให้ทราบถึงการวางแผนการรักษารวมไปถึงการพยากรณ์โรคด้วย อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็ยังคงมีราคาแพงและใช้เวลาประมาณ ชั่วโมงในการตรวจ นอกจากนี้การให้บริการเครื่องในการตรวจยังมีไม่แพร่หลายสามารถตรวจได้ตามโรง พยาบาลใหญ่ที่เป็นระดับโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลเอกชนที่มีขนาดใหญ่หรือ ตามศูนย์ MRI ของเอกชน

6. การตรวจภายใต้การดมยาสลบและการผ่าตัด ส่องกล้อง วิธีการนี้มักใช้กับการรักษาที่มีความรุนแรงสูงเพื่อที่จะประเมินการบาดเจ็บ และทำผ่าตัดรักษาหรือผ่าตัดแก้ไขหรือสร้างเอ็นโดยมีการใช้การส่องกล้องเพื่อ ตรวจดูความผิดปกติภายในข้อเข่าและในขณะเดียวกันสามารถทำการผ่าตัดรักษาหรือ ผ่าตัดเสริมสร้างเอ็นไปพร้อมกันได้เลยโดยใช้เครื่องมือที่ออกแบบมาพิเศษให้ ทำการรักษาได้โดยใช้กล้อง ข้อดีของการรักษาแบบนี้ก็คือแผลจากการผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก เห็นพยาธิสภาพชัดเจน 

จะรักษาเส้นเอ็นที่ขาดได้อย่างไร
               เมื่อเอ็นไขว้หน้าของเข่าขาด แพทย์จะไม่แนะนำให้เย็บซ่อมเข้าหากัน แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาทันที โดยไม่ได้ปล่อยให้เรื้อรัง เนื่องจากผลการรักษาไม่ดี เอ็นไขว้หน้าที่เย็บซ่อมโดยตรง จะไม่แข็งแรง และมักจะขาดซ้ำเมื่อกลับไปใช้งานตามปกติ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ในการรักษาเอ็นไขว้หน้าที่ขาด โดยการใช้เส้นเอ็นใหม่ใส่เข้าไปแทนเอ็นเส้นเดิม  โดยไม่มีผลกระทบต่อการใช้งานเข่าของผู้ป่วย

               เอ็นไขว้หน้าขาดไม่สามารถต่อเองได้ ถ้าต้องการความมั่นคงของเข่าที่มีการบิดหมุนร่วมด้วย ต้องสร้างเอ็นไขว้หน้าขึ้นมาใหม่ มีเอ็นที่นำมาสร้างแทนเอ็นไขว้หน้า มาได้จาก  3  แห่ง
1. ใช้เอ็นจากกล้ามเนื้อด้านหลังข้อเข่า (Hamstring tendons )
2. ใช้บางส่วนของเอ็นลูกสะบ้า  (Kneecap or patellar tendon) 
3. ใช้เอ็นจากที่อื่น ที่ไม้ใช่จากตัวผู้ป่วยเอง (Allograft)   

               รักษาได้ในทันทีหรือวางแผนการรักษาได้ การฟื้นตัวกลับมาสู่สภาวะปกติเร็วมาก ขยับงอข้อได้เร็ว การอักเสบของแผลภายหลังผ่าตัดมีน้อยกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิมมาก โรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัดน้อย สามารถใช้ติดตามการรักษาได้ วิธีการนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีราคาแพงและต้องใช้ทักษะในการผ่าตัด สูงไม่สามารถให้การรักษาได้ทุกโรงพยาบาล

อ่านต่อ >>>> การรักษาเอ็นเข่าขาด