การฉีดวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กไทย
การนำวัคซีนชนิดต่าง ๆ เข้ามาร่วมในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศนั้น ๆ สำหรับประเทศไทยมีการพัฒนาการป้องกันโรคด้วยวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากการให้บริการวัคซีนต่อโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในตอนนั้น พบว่าการบริหารจัดการยังไม่เป็นระบบมีการให้วัคซีนไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย มีปัญหาระบบการขนส่งลูกโซ่ความเย็น และการกระจายของวัคซีนอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ไม่สามารถป้องกันโรคได้ดี ดังนั้นในปีพ.ศ. 2520 กระทรวงสาธารณสุขขยายการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ( Expanded Program on Immunization, EPI) โดยเริ่มด้วยวัคซีน 4 ชนิด ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยักและโปลิโอ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และวัคซีนบาดทะยักในหญิงตั้งครรภ์ ทั้งนี้มีการสนับสนุนและให้คำแนะนำทางวิชาการจากองค์การอนามัยโลก ปัจจุบันการให้บริการวัคซีนภายใต้ EPI ซึ่งดำเนินการโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาวัคซีนโดยใช้งบประมาณรัฐและกระจายไปยังหน่วยบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ ปัจจุบันมีวัคซีนพื้นฐานที่อยู่ใน EPI จำนวน 8 ชนิด ที่ป้องกันโรคจำนวน 10 โรค ได้แก่ วัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ตับอักเสบบี และไข้สมองอักเสบเจอี
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับวัคซีนตาม EPI ซึ่งเริ่มให้ตั้งแต่แรกเกิดได้แสดงไว้ในตารางที่ 1 และสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนตามแผนดังกล่าว ได้มีคำแนะนำในการบริหารจัดการโดยเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนในขวบปีแรกสามารถให้วัคซีนตามแผนในตารางที่ 2 และเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนในช่วง 6 ปีแรกสามารถให้วัคซีนตามแผนในตารางที่ 3 และเพื่อให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นจึงขออธิบายถึงคำย่อของวัคซีนชนิดต่าง ๆ ดังนี้
คำย่อ / คำอธิบาย
1. วัคซีน BCG (Bacillus Calmette-Guérin หรือ Bacille Calmette-Guérin vaccine) หมายถึง วัคซีนป้องกันวัณโรค (tuberculosis)- ฉีด 0.05-0.1 มล. (ขึ้นกับชนิดของวัคซีน) ในชั้นผิวหนังที่ไหล่ซ้าย
- ถ้าไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้นและไม่มีหลักฐานว่าเคยได้รับวัคซีนบีซีจี มาก่อน ให้ฉีดได้ทันที
- หากเคยได้รับวัคซีนบีซีจีมาก่อน ไม่ต้องฉีดซ้ำแม้ไม่มีแผลเป็น
- เด็กทุกคนต้องได้รับอย่างน้อย 3 ครั้งถ้าไม่มีข้อห้ามและเข็มสุดท้ายต้องอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน
- ทารกคลอดจากมารดาที่มี HBsAg เป็นลบ หรือไม่ทราบ ให้ฉีดวัคซีน จำนวน 3 ครั้งเมื่อแรกเกิด อายุ 1-2 เดือน และอายุ 6 เดือน
- ทารกคลอดจากมารดาที่มี HBsAg เป็นบวก (โดยเฉพาะถ้า HBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ HBIG 0.5 มล. ภายใน 12 ชม. หลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมๆ กันคนละตำแหน่งกับ HBIG วัคซีนครั้งที่ 2 ให้เมื่ออายุ 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
- ถ้ามารดามี HBsAg เป็นบวกแต่ไม่มี HBIG ควรให้วัคซีนครั้งที่ 1 ภายใน 12 ชม. หลังคลอด ครั้งที่ 2 และ 3 ให้เมื่ออายุ 1 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ
- ในกรณีที่มาทราบภายหลังว่ามารดามี HBsAg เป็นบวก ควรพิจารณาให้ HBIG ถ้าทารกได้รับวัคซีนมาแล้วไม่เกิน 7 วัน
- ในกรณีที่ใช้วัคซีนรวมที่มีคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และวัคซีนตับอักเสบบี สามารถให้ฉีด (หลังจากเข็มแรกเกิด) ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือนได้ โดยถ้ามารดามี HBsAg เป็นบวก และทารกไม่ได้ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีแบบเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย (รวมเป็น 5 ครั้ง)
- ในกรณีเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนที่ 0, 1, 6 ส่วนเด็กที่อายุ ตั้งแต่ 11-15 ปี อาจฉีดเพียง 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4-6 โดยใช้วัคซีนขนาด 1.0 มล. เท่าผู้ใหญ่
- เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นพาหะของโรค (HBsAg +) อาจพิจารณาให้ตรวจ HBsAg และ anti-HBs เมื่ออายุประมาณ
* DTP-HB หมายถึง วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด บี รวมอยู่ในเข็มเดียวกัน
* dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก โดยใช้สำหรับป้องกันบาดทะยักในผู้ใหญ่เป็นหลัก และมีจำนวนวัคซีนป้องกันโรคคางทูมน้อยกว่าสำหรับเด็กเล็ก
- สามารถใช้ชนิดไร้เซลล์ (DTaP) แทนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ได้ทุกครั้ง
- หากใช้ DTaP ควรใช้ชนิดเดียวกันทั้งสามครั้งเมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือน หากไม่สามารถหาชนิดเดียวกันได้ ให้ใช้ชนิดใดแทนก็ได้
- สำหรับเข็มกระตุ้นที่ 18 เดือน อาจใช้ DTwP หรือ DTaP ชนิดใดก็ได้
- เมื่ออายุ 4-6 ปี อาจใช้ DTwP, DTaP หรือ Tdap ก็ได้
- เด็กอายุ 11-12 ปี ควรได้รับการฉีด Td หรือ Tdap ไม่ว่าจะเคยได้รับ Tdap เมื่ออายุ 4-6 ปี มาก่อนหรือไม่ หลังจากนั้นควรฉีดกระตุ้นด้วย Td ทุก 10 ปี 6) สำหรับการฉีดกระตุ้น Td ทุก 10 ปี ในผู้ใหญ่ ควรพิจารณาใช้ Tdap แทน Td หนึ่งครั้ง
- สามารถใช้ชนิดฉีด (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรูปของวัคซีนรวมกับคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน) แทนชนิดกินได้ทุกครั้ง
- หากใช้ชนิดฉีดอย่างเดียวโดยตลอด อาจให้เพียง 4 ครั้ง โดยงดเมื่ออายุ 18 เดือนได้
- หากใช้ชนิดกินสลับกับชนิดฉีด ต้องให้ 5 ครั้งตาม OPV
- การให้วัคซีนโปลิโอมากกว่าที่กำหนด ไม่มีข้อเสีย และสามารถรับ OPV เพิ่มในช่วงที่มีการรณรงค์หยอดวัคซีนเพื่อกวาดล้างโปลิโอได้
- ให้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9 -12 เดือนขึ้นไป และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี โดยควรพิจารณาให้ฉีดเร็ว (อายุ 9 เดือน) ในที่ที่ยังมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดจำนวนมากในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และควรฉีดช้า (อายุ 12 เดือน) ในที่ที่มีรายงานโรคหัดจำนวนน้อยในเด็กต่ำกว่า 1 ปี
- การฉีดเข็มที่ 2 อาจให้ได้ตั้งแต่อายุ 2 ½ ปี ตามแผนปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข (จากการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครั้งที่ 1-2556 วันที่ 28 มกราคม 2556)
- ในกรณีที่มีการระบาดหรือสัมผัสโรค อาจฉีดเข็มสองเร็วขึ้นก่อนอายุ 4 ปีได้ โดยต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
- ในกรณีที่ต้องการฉีดวัคซีน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ในทุกครั้ง ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 – 12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 4-6 ปีแทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มพบมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีการใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือน ทำให้มีโอกาสเกิดการชักจากไข้ได้มากกว่าการฉีดแยกเข็ม สำหรับกรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR ครั้งก่อน อย่างน้อย 1 เดือน และห่างจากวัคซีน VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน
- วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated vaccine) ปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ mouse-brain derived vaccine (MBV) ซึ่งอยู่ในแผนฯ ของกระทรวงสาธารณสุข และสายพันธุ์ P3 เพาะเลี้ยงใน vero cell (JEVAC®) ทั้งสองชนิดฉีด 3 ครั้ง เริ่มเมื่ออายุ 9-18 เดือน เข็มต่อมา อีก 4 สัปดาห์ และ 1 ปีตามลำดับ และสำหรับ MBV อาจพิจารณาให้ฉีดกระตุ้นอีกหนึ่งครั้งห่างจากเข็ม 3 อย่างน้อย 4-5 ปี
- วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE) ใช้สายพันธุ์ SA 14-14-2 ให้ฉีด 2 ครั้ง มี 2 ชนิด คือ CD-JEVAX® เริ่มฉีดที่อายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 อีก 3-12 เดือนต่อมา อีกชนิดคือ Chimeric JE (IMOJEV®) เริ่มฉีดที่อายุ 12 เดือน และเข็มที่ 2 อีก 12-24 เดือนต่อมา สามารถใช้วัคซีนชนิด live JE แทนชนิด MBV ได้ ทั้งในการฉีดชุดแรก และการฉีดกระตุ้น
- ยังไม่มีข้อมูลการใช้ live JE ต่างชนิดทดแทนกัน
* วัคซีนทั่วไปจะให้โดยการฉีด ยกเว้น วัคซีน OPV ป้องกันโรคโปลิโอ จะให้โดยการหยอดเข้าปาก
ตารางการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
( ที่มา : สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข )
ตารางที่ 1: กำหนดการให้วัคซีนแก่เด็ก ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของกระทรวงสาธารณสุข กรณีเริ่มให้ตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในขวบปีแรก
หมายเหตุ :
1. วัคซีนทุกชนิดถ้าไม่สามารถเริ่มให้ตามกำหนดได้ ก็เริ่มทันทีที่พบครั้งแรก
2. วัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กเคยได้รับวัคซีนมาบางแล้ว และไม่มารับครั้งต่อไปตามกำหนดนัด ให้ฉีดวัคซีนครั้งต่อไปนั้นได้ทันทีเมื่อพบเด็ก โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่ * หากมีหลักฐานบันทึกว่าเคยได้รับ BCG มาก่อน ไม่จำเป็นต้องให้ซ้ำ แม้จะไม่มีแผลเป็น
ตารางที่ 2 : กำหนดการให้วัคซีนแก่เด็ก กรณีพลาดการได้รับวัคซีนในช่วงอายุ 1 ปีแรก และเริ่มให้ในช่วงอายุ 1-6 ปี
เด็กจะได้รับวัคซีนตามตารางที่ 2 ครบภายในระยะเวลา 1 ปี
จากนั้นให้วัคซีนต่อเนื่อง ตามที่กำหนดในตารางที่ 1 (อายุ 12 ปี)
หมายเหตุ :วัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กเคยได้รับวัคซีนมาบ้างแล้ว และไม่มารับครั้งต่อไปตามกำหนดนัด
ให้ฉีดวัคซีนครั้งต่อไปนั้นได้ทันทีเมื่อพบเด็ก โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่
* หากมีหลักฐานบันทึกว่าเคยได้รับ BCG มาก่อน ไม่จำเป็นต้องให้ซ้ำ แม้จะไม่มีแผลเป็น
ตารางที่ 3 : กำหนดการให้วัคซีนแก่เด็ก กรณีที่พลาดการรับวัคซีนในช่วงอายุ 6 ปีแรก และเริ่มให้ตั้งแต่อายุ 7 ปี ขึ้นไป
เด็กจะได้รับวัคซีนตามตารางที่ 3 ครบภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นให้วัคซีนต่อเนื่อง
ตามที่กำหนดในตารางที่ 1 (อายุ 12 ปี)
หมายเหตุ :วัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กเคยได้รับวัคซีนมาบ้างแล้ว และไม่มารับครั้งต่อไปตามกำหนดนัด
ให้ฉีดวัคซีนครั้งต่อไปนั้นได้ทันทีเมื่อพบเด็ก โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่
* หากมีหลักฐานบันทึกว่าเคยได้รับ BCG มาก่อน ไม่จำเป็นต้องให้ซ้ำ แม้จะไม่มีแผลเป็น
