ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง

อาการปวดประจำเดือน
อาการปวดประจำเดือน เป็นอาการที่อยู่คู่กับคุณผู้หญิงโดยทั่วไป และแต่ละคนอาจมีประสบการณ์ปวดที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะปวดไม่มาก ทำงานทำการได้ตามปกติ อาจจะมีส่วนน้อยประมาณร้อยละ 10 ที่ปวดมาก ปวดรุนแรงจนรู้สึกไม่อยากทำอะไรทั้งนั้น รบกวนชีวิตประจำวัน จนต้องหยุดเรียน หยุดงาน พักงานกันไป  ในบางรายอาจเป็นมากถึงขั้นเกิดเป็นอาการซึมเศร้าก็มี

Menstrual pain is often used synonymously with menstrual cramps, but the latter may also refer to menstrual uterine contractions, which are generally of higher strength, duration and frequency than in the rest of the menstrual cycle.

Dysmenorrhea can feature different kinds of pain, including sharp, throbbing, dull, nauseating, burning, or shooting pain. Dysmenorrhea may precede menstruation by several days or may accompany it, and it usually subsides as menstruation tapers off. Dysmenorrhea may coexist with excessively heavy blood loss, known as menorrhagia.

อวัยวะสืบพันธ์ของคุณผู้หญิงประกอบไปด้วยมดลูก [uterus] มดลูกจะอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่ ภายในมดลูกจะมีเยื่อบุมดลูกซึ่งจะหนาตัวเพื่อให้ทารกฝังตัว แต่ถ้าไม่มีการปฏิสนธิ เยื่อบุจะสลายออกมาซึ่งมีส่วนประกอบคือเลือดและเมือกเป็นประจำเดือนออกทางส่วนปลายของมดลูกเรียกปากมดลูก [cervix ] ซึ่งจะเปิดสู่ช่องคลอด [vagina] มดลูกจะมีท่อที่เรียกว่าท่อรังไข่ [fallopian tube] โดยมีรังไข่ [ovary] อยู่ปลายท่อรังไข่ การมีประจำเดือนจะแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่

  • Follicular (Proliferative) Phase เมื่อประจำเดือนมาเราเรียกวันแรกหรือวันที่หนึ่งของรอบเดือน ปกติประจำเดือนจะมาเฉลี่ย 6 วัน ระยะนี้จะเริ่มตั้งแต่มีประจำเดือนจนกระทั้งวันที่ 14 ของรอบเดือน ระยะที่ประจำเดือนกำลังมาเป็นช่วงที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตเจน และโปรเจสเตอโรน ต่ำสุด จะมีฮอร์โมน Follicular stimulating hormone [FSH] สูงขึ้นทำให้ไข่ในรังไข่สุก ขณะเดียวกันเยื่อบุก็จะหนาตัวเพื่อเตรียมการฝังตัว 
  • Ovulation and Secretory (Luteal) Phase ระยะเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 เป็นต้นไปเมื่อระดับ FSH สูงขึ้นทำให้มีการสร้างฮอร์โมน luteinizing hormone (LH) ฮอร์โมน LH จะทำให้เกิดการตกไข่ Ovulation เนื่อเยื่อรอบๆไข่ที่ตกเรียก corpus luteum จะสร้างฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน ระยะนี้เยื่อบุจะหนาตัวขึ้นอีกเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น เนื่องจากระยะนี้มีระดับฮอร์โมนของโปรเจสเตอโรนสูงทำให้เกิดอาการของ premenstrual period ถ้าไข่ไม่มีการปฏิสนธิเลือดและเมือกในมดลูกก็ถูกขับออกมาเป็นประจำเดือน 

ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่อใด

ปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนอายุ 12-13 ปีแต่ก็มีรายงานว่าเด็กมีประจำเดือนเร็วขึ้นบางรายงานอายุ 8 ปีก็มีประจำเดือนและมีขนที่อวัยวะเพศ ปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนมาเร็วคือโรคอ้วน

หนึ่งรอบเดือนมีกี่วัน

ประจำเดือนในช่วงสองปีแรกจะไม่สม่ำเสมอหลังจากนั้นประจำเดือนก็จะสม่ำเสมอ หนึ่งรอบเดือนจะมีประมาณ 20-40 วัน โดยเฉลี่ยของคนปกติรอบเดือนจะมี 28 วัน จำนวนวันขึ้นกับอายุของผู้ที่มีประจำเดือนกล่าวคือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปีจะมีรอบเดือนประมาณ 33 วัน หลังจากอายุ 21 ปีจะมี 28 วัน อายุ 40 ปีจะมีประมาณ 26 วัน

ประจำเดือนจะมากี่วัน

คนปกติจะมีประจำเดือน 6 วันจนกระทั่งเข้าสู่วัยทอง แต่ก็มีผู้หญิงร้อยละ5ที่ประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน ร้อยละ4 มีประจำเดือนมากกว่า 8 วัน

ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน

  • ไม่มีประจำเดือน Amenorrhea
  • ประจำเดือนมามาก Menorrhagia ร้อยละ 9-14 ของผู้หญิงจะมีประจำเดือนมามาก บางคนอาจจะมามากกว่า 7 วันหรือเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 8 ชั่วโมง และมีลิ่มเลือดที่ผ้าอนามัย หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ สาเหตุ อย่างน้อยคุณผู้หญิงคงเคยมีประจำเดือนมากอย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต การมีประจำเดือนมากอาจจะไม่มีโรคหรืออาจจะมีโรคก็ได้ ผู้ที่มีเนื้องอกในมดลูก ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด ผู้ที่ใกล้วัยทอง อาจจะมีประจำเดือนมามาก สำหรับผู้ประจำเดือนขาดไป2-3เดือนแล้วมีเลือดออกก็อย่าลืมการแท้งด้วย โรคทางอายุรกรรมบางโรคก็สามารถทำให้เลือดออกมาก เช่นการติดเชื้ออุ้งเชิงกราน โรคธัยรอยด์ โรคเบาหวาน เกร็ดเลือดต่ำ ผู้ที่กินยาป้องกันเลือดแข็ง
  • ปวดประจำเดือน Dysmenorrhea!

อาการปวดประจำเดือนเป็นอย่างไร ?

ปวดประจำเดือน คือ อาการปวดบีบบริเวณท้องน้อย ปวดเป็นพัก ๆ อาจปวดร้าวไปถึงหลัง ก้น หรือปวดต้นขา ในบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลมร่วมด้วยก็ได้ อาการปวดประจำเดือนแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ปวดประจำเดือนชนิดรรมดา (Primary Dysmenorrhea) และ ปวดประจำเดือนชนิดผิดปกติ (Secondary Dysmenorrhea)



1.   ปวดประจำเดือนชนิดรรมดา (Primary Dysmenorrhea) 
          คือ การปวดประจำเดือนตามปกติ จะพบในเด็กสาวส่วนมากจะเริ่มมีอาการตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ๆ หรือไม่ก็เกิดขึ้นภายใน 3 ปี หลังการมีประจำเดือนครั้งแรก และอาจมีอาการมากที่สุดในช่วงอายุ 15 - 25 ปี หลังจากวัยนี้อาการจะค่อย ๆ ลดลง บางคนอาจหายไปหลังการแต่งงานหรือการมีบุตรแล้ว ส่วนน้อยที่อาจจะยังคงมีอาการจนกระทั่งถึงวัยหมดประจำเดือน การปวดประจำเดือนชนิดนี้จะไม่มีความผิดปกติของมดลูกและรังไข่แต่อย่างใด

          Primary Dysmenorrhea   เกิดจากฮอร์โมน Estrogen และ Progesterone ที่กระตุ้นเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกให้สร้างสารพรอสตาแกรนดิน (Prostaglandin) ชนิด E และ F มากเกินไปหรือมีความไวต่อสารนี้เพิ่มขึ้น ทำให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและมดลูกหดรัดตัวแรงมากขึ้น นอกจากนี้อาจจะทำให้เส้นเลือดส่วนอื่น ๆ ของร่างกายหดรัดตัวอีกด้วย ซึ่งเป็นผลทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เนื้อเยื่อได้รับเลือดไม่พอจึงเกิดอาการปวด และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเดิน ร่วมกับอาการปวดประจำเดือน อาการปวดประจำเดือนส่วนมากจะมีอาการปวดบีบ ปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย ลามมาที่หลังส่วนล่าง และต้นขา และมักจะเริ่มปวดก่อนการมีประจำเดือน เมื่อประจำเดือนมาอาการปวดจะค่อย ๆ ทุเลาหรือหายไป หลังการตั้งครรภ์อาการอาจลดลงหรือหายไปเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั่นเอง

          อาการปวดประจำเดือนจะเริ่มก่อนมีประจำเดือนไม่กี่ชั่วโมง และจะเป็นอยู่ตลอดช่วง 2-3 วันแรกของประจำเดือน โดยมีอาการปวดบีบเป็นพัก ๆ บางคนอาจหงุดหงิด ถ้าปวดรุนแรงอาจมีอาการเหงื่อออกตัวเย็น มือเท้าเย็นได้

2.   ปวดประจำเดือนชนิดผิดปกติ (Secondary Dysmenorrhea)
          จะมีอาการปวดรุนแรงกว่าแบบแรกและปวดตลอดเวลาที่มีประจำเดือน มักจะมีอาการปวดครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป โดยก่อนหน้านี้อาจจะไม่เคยมีอาการปวดประจำเดือนเลย สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติทางสูตินรีเวช คือมดลูกและรังไข่ เช่น
  • เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หรือ Endometriosis เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
  • เนื้องอกของมดลูก
  • ปีกมดลูกอักเสบ
  • คอมดลูกอักเสบ ทำให้เลือดประจำเดือนไหลไม่สะดวก
นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์คุมกำเนิด เช่น ห่วงคุมกำเนิด (IUDs) ก็มีผลทำให้เกิดการปวดท้องและมีเลือดไหลมากผิดปกติได้


การรักษา

  • การรักษาเบื้องต้น เช่น พักผ่อน ประคบร้อนบริเวณท้องน้อยและหลังด้านล่าง ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารรสเค็ม  บุหรี่ สุรา กาแฟ
  • ถ้าปวดไม่มากให้ทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน ครั้งละ 1 - 2 เม็ด เวลาปวด ซ้ำได้ทุก 4 - 6 ชั่วโมง
  • ถ้าปวดมากให้สารยับยั้งพรอสตาแกรนดิน (prostaglandin) และลดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ยาแก้อักเสบ อาทิ Indomethacin , Ibuprofen ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 - 4 ครั้ง หรือ ยาให้ทานยากลุ่มแอนตี้ปาสโมติก เช่น Hyoscine ทานครั้งละ 1 - 2 เม็ด ซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง 
  • Anti-inflamatory Drug ออกฤทธิ์โดยลดระดับ Prostaglandins ช่วยบรรเทาอาการปวดและลดปริมาณเลือดประจำเดือน เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ดีที่สุด ควรทานก่อนหริอขณะเริ่มมีประจำเดือน หรือทานก่อนหรือขณะเริ่มมีอาการปวด การกินยาตามนี้จะช่วยให้อาการปวดประจำเดือนหายไปในเวลา 1 - 2 วัน ถ้ากินยาหลังจากนี้จะทำให้อาการปวดหายช้าลง
  • ถ้าปวดมากเป็นประจำ อาจให้กินยาเม็ดคุมกำเนิด เพื่อมิให้มีการตกไข่ จะช่วยไม่ให้ปวดได้ชั่วระยะหนึ่ง อาจให้ติดต่อกันนาน 3 - 4 เดือน แล้วลองหยุดยา ถ้ามีอาการกำเริบใหม่ก็ควรให้กินยาเม็ดคุมกำเนิดต่อไปอีกสักระยะหนึ่งจนกว่าเมื่อหยุดยาแล้วอาการปวดประจำเดือนจะทุเลาลงไป
  • ยาคุมกำเนิด Oral Contraceptive pills ส่วนมากนิยมการกินยาคุมชนิดรวม ยาคุมกำเนิดจะช่วยป้องกันไข่ตก ลดความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก และลดการสร้าง prostaglandins

ขอบคุณวิดีโอจากยูทูปดอทคอม


เรียบเรียงโดย The Nok
ข้อมูลอ้างอิง
  • ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป หลักการวินิจฉัยและรักษาโรค / 250 โรคและการดูแลรักษา โดย นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
  • 2006 Faculty of Phamaceutical Sciences Chulalongkorn University
  • http://en.wikipedia.org/wiki/Dysmenorrhea
  • http://www.vcharkarn.com/vcafe/113697