กรวยไตอักเสบ
กรวยไต (Renal pelvis) เป็นส่วนของไตที่มีลักษณะเป็นโพรง เป็นส่วนที่ต่อกับท่อไต (Ureter) มีหน้าที่
กรวยไตอักเสบ อาจเกิดเพียงข้างเดียวข้างใดข้างหนึ่ง (โอกาสเกิดในข้างซ้ายและข้างขวาใกล้เคียงกัน) หรือ เกิดพร้อมกันทั้งสองข้าง ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ
กรวยไตอักเสบ พบเกิดได้ทั้งการอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งอาการเกิดทันที และรุนแรง แต่เมื่อได้รับการรักษา จะหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ และการอักเสบเรื้อรัง คือ การอักเสบไม่รุนแรง แต่เป็นๆหายๆ เรื้อรัง มักเกิดจากรักษาควบคุมสาเหตุของโรคไม่ได้ เช่น ยังมีนิ่วในไตเรื้อรัง หรือ มีต่อมลูกหมากโต
- กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน หมายถึง มีการติดเชื้อที่ไตอย่างเฉียบพลัน มีพยาธิสภาพเกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อไต แต่ไตยังทำงานได้ตามปกติ
- กรวยไตอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการอักเสบแบบเฉียบพลันมาก่อนแล้วรักษาไม่หาย หรืออาจเริ่มเป็นแบบเรื้อรังเลยก็ได้
พยาธิสรีรวิทยา
เมื่อมีการอักเสบไตจะขยายใหญ่ขึ้น เกิดมีการคั่งของเลือดและบวม มีการติดเชื้ออย่างรุนแรงเป็นหย่อมๆ โดยทั่วไปตามผนังของกรวยไตน้อย (Calyces) กรวยไตจะบวม และมีลักษณะแดงจัด อาจมีเลือดออกด้วย ถ้าการติดเชื้อไม่รุนแรงและถ้าได้รับการรักษาทันท่วงทีจะมีรอยแผลเป็นบ้างเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นเรื้อรังทำให้เกิดแผลเป็น (Fibrosis) จนทำให้ท่อต่างๆ ของไตอุดตัน เส้นเลือดฝอยของโกเมอรูไล (Glomeruli) ตีบแคบทำให้ไตขาดโลหิต ขนาดของไตเล็กลง หน้าที่ของไตจะเลวลงจนในที่สุดจะเกิดภาวะไตวายได้ (Renal failure)สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
โรคกรวยไตอักเสบ เป็นการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย โดยการติดเชื้อเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นได้ทั้งการเป็นสาเหตุและการเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค ทั้ง นี้สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย คือ- เป็นการอักเสบต่อเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักพบเป็นสาเหตุในผู้หญิง หรือ ในผู้ป่วยที่ต้องนอนนานๆ และ/หรือต้องใช้สายสวนปัสสาวะ เช่น โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต หรือ เมื่อได้รับการรักษาโรคต่างๆด้วยการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน และ/หรือมีการใส่สายสวนปัสสาวะ
- จากมีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ซึ่งส่งผลให้ปัสสาวะแช่อยู่ในทางเดินปัสสาวะนานเกินปกติ จึงติดเชื้อได้ง่าย เช่น นิ่วในไต หรือทางเดินปัสสาวะตีบแคบในผู้ชายจากต่อมลูก หมากโต หรือ การกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือ การดื่มน้ำน้อย
- จากมีโรคของทางเดินปัสสาวะ อาจแต่กำเนิด เช่น มีปัสสาวะไหลย้อนกลับจากกระ เพาะปัสสาวะเข้าในท่อไตและเข้าในไตตามลำดับ จากหูรูดระหว่างท่อไตกับกระเพาะปัสสาวะหย่อน (Vesicoureteral reflux) ซึ่งมักพบเป็นสาเหตุในเด็กเล็ก
- จากการติดเชื้อของกระดูก หรือผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อต่างๆ แล้วเชื้อโรคแพร่กระจายทางกระแสโลหิต (เลือด) มายังกรวยไต
- เป็นส่วนหนึ่งในการติดเชื้อทางกระแสโลหิตของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ /ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด)
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์
- จากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะมีคู่นอนหลายคน (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
- หญิงตั้งครรภ์ เพราะตัวครรภ์อาจกดเบียดทับท่อไต และ/หรือกระเพาะปัสสาวะ จึงก่อ ให้เกิดทางเดินปัสสาวะอุดกั้น หรือจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จึงเป็นสาเหตุให้กรวยไตอักเสบได้ง่าย
- อาจจากทางพันธุกรรม เพราะพบเกิดโรคได้บ่อยในคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเดียว กันเป็นโรคนี้
อาการของกรวยไตอักเสบ
อาการพบบ่อยของกรวยไตอักเสบเป็นอาการไม่จำเพาะ พบได้คล้ายคลึงกับอาการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะในระบบทางเดินปัสสาวะ (ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ) ซึ่งที่พบบ่อย คือ- มีไข้สูง อาจหนาวสั่นเมื่อเป็นการอักเสบเฉียบพลัน แต่อาจมีไข้ต่ำๆ หรือ ไม่มีไข้ เมื่อเป็นการอักเสบเรื้อรัง
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย
- ปวดหลัง/เอว ปวดเรื้อรังเมื่อเป็นการอักเสบเรื้อรัง กดเจ็บในตำแหน่งไตที่เกิดโรค
- ปัสสาวะขุ่น อาจเป็นเลือด (อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือ ตรวจพบจากการตรวจปัสสาวะ) และอาจเป็นหนอง
- อาจปัสสาวะ ปวดแสบ ขัด ปัสสาวะน้อย เมื่อมีกระเพาะปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย
- อาจมีหนอง หรือ สารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศ เมื่อเกิดจากติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
ภาวะแทรกซ้อน
เมื่อมีการอักเสบของกรวยไต ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้มีดังนี้ คือ1. ความดันโลหิตสูง เนื่องจากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นจึงทำให้เนื้อเยื่อไตเกิดแผลเป็น รวมทั้งเส้นโลหิตแดงที่เข้าไปเลี้ยงไตด้วย จึงทำให้เส้นโลหิตเล็กและหดแคบลง ทำให้เกิดสภาวะขาดโลหิตไปเลี้ยงเนื้อไตเป็นส่วนๆ มีการสร้างเรนิน (Renin) และแอนจิโอเทนซิน (Angiotensin) มี ผลกระตุ้นให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น
2. ภาวะยูเรียเมีย (Uremia) จากการติดเชื้อมีการอักเสบเป็นๆ หายๆ เรื้อรังที่ไตทั้ง 2 ข้าง ทำให้ไตเสียหน้าที่ไปเกือบทั้งหมด สารยูเรีย และคริอะตินิน ซึ่งจะต้องถูกขับออกทางไต ก็จะคั่งอยู่ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ เกิดภาวะการคั่งค้างของเสียในเลือด (Azotemia) ขึ้น ต่อมาเมื่อยูเรีย และคริอะตินินสูงขึ้นจนถึงระดับที่ทำให้เกิดอาการทางกระเพาะลำไส้ ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน บางครั้งอาจจะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หรือมีอาการทางประสาท ได้แก่ อาการคล้ายกล้ามเนื้อกระตุก กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย ปวดแสบร้อนตามแขนและขา ซึม สุดท้ายอาจหมดสติ ชัก และถึงแก่ความตาย
อาการอื่นๆ ที่พบได้ทั่วไปมี เหนื่อยง่าย หายใจหอบ ซีด ปวดศีรษะ
การประเมินภาวะสุขภาพ
1. การซักประวัติ จากประวัติการเจ็บป่วย ผู้ที่มีอาการอักเสบแบบเฉียบพลันจะให้ประวัติว่า มีไข้หนาวสั่น เหมือนมาลาเรีย ปวดหลัง ปวดท้อง ปัสสาวะบ่อย ขุ่น บางครั้งเป็นหนอง และรู้สึกแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ บางครั้งถ่ายปัสสาวะลำบาก มีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีการอักเสบเรื้อรังมักให้ประวัติว่า ไม่มีอาการอะไรผิดปกติเกิดขึ้นมาก่อน จนกระทั่ง พบว่ามีอาการเหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออกเลยปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการที่ญาติจะพามาพบแพทย์
2. การตรวจร่างกาย จากการตรวจสัญญาณชีพจะพบว่ามีไข้ ความดันเลือดสูง เมื่อใช้กำปันเคาะตรงบริเวณสีข้างที่ปวด จะเจ็บจนสะดุ้ง ซึ่งเป็นอาการสำคัญของกรวยไตอักเสบ
3. การตรวจทางห้องทดลอง
ตรวจปัสสาวะ
- พบยูเรียและคริอะตินิน สูงกว่าปกติ
- ตรวจวิเคราะห์น้ำปัสสาวะ พบเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงคาสท์และแบคทีเรีย
- เพาะเชื้อน้ำปัสสาวะ จะให้ผลบวกเมื่อพบเชื้อ และเป็นการทดลองยาว่ามีความไวต่อการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ (sensitivity)
- ทำการเพาะเชื้อ จะให้ผลบวกเมื่อมีการติดเชื้อในกระแสเลือด
- คริอะตินินเคลียร้านซ์ (Creatinine Clearance) จะช่วยบอกสภาพของไตได้ว่า การอักเสบได้ทำลายไตไปมากน้อยเพียงใด (ค่าปกติชาย 95-104 มิลลิเมตร/นาที หญิง 95-125 มิลลิลิตร/นาที)
- การฉีดสารทึบแสงเข้าหลอดเลือดดำ แล้วถ่ายภาพทางรังสี (IVP. หรือ Retrograde Pyelogram)
การวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัยกรวยไตอักเสบได้จาก ประวัติอาการ ประวัติทางเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ และในรายรุนแรงอาจมีการตรวจเชื้อ และ/หรือการเพาะเชื้อจากปัสสาวะ และ/หรือจากเลือด นอกจากนั้นอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพไตด้วยเอกซเรย์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรืออัลตราซาวด์ หรือ การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์การรักษา
แนวทางการรักษาโรคกรวยไตอักเสบ คือ การให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งในรายที่รุนแรงอาจเป็นการให้ยาทางหลอดเลือดดำโดยรับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล แต่รายที่อาการไม่มาก การรักษาจะเป็นผู้ป่วยนอกนอกจากนั้น คือ การรักษาสาเหตุ เช่น รักษาโรคต่อมลูกหมากโต เมื่อมีสาเหตุจากต่อมลูกหมากโต เป็นต้น และ
การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การพักผ่อน ยาลดไข้ ยาแก้ปวด การดื่มน้ำสะอาดมากๆเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม และการไม่กลั้นปัสสาวะนาน
กรวยไตอักเสบมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง?
ผลข้างเคียงจากกรวยไตอักเสบ คือ เมื่อได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง หรือ ไม่มีการรักษาสาเหตุด้วย จะกลายเป็นโรคเรื้อรัง ที่อาจก่อให้เกิดโรคไตอักเสบเรื้อรัง (โรคไตเรื้อรัง) จนกลายเป็นไตวายเรื้อรัง และเสียชีวิตได้กรวยไตอักเสบรุนแรงไหม?
โดยทั่วไป โรคกรวยไตอักเสบ ไม่รุนแรง รักษาได้เสมอเมื่อพบแพทย์ตั้งแต่แรกมีอาการ แต่ในเด็กเล็ก ในผู้สูงอายุ และในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ โรคอาจรุนแรงเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ /ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ หรือเมื่อรักษาควบคุมสาเหตุไม่ได้ อาจกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดไตวายเรื้อรัง (โรคไตเรื้อรัง) และเสียชีวิตได้เช่นกันดูแลตนเองอย่างไร?
การดูแลตนเอง/การพบแพทย์เมื่อเป็นโรคกรวยไตอักเสบ คือ เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เสมอ ไม่ควรดูแลตนเองด้วยการซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง เพราะเป็นโรคไม่หายจากการดูแลตนเอง อาจดูว่าอาการดีขึ้น แต่แท้ที่จริง จะกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง ทั้งนี้เพราะยาปฏิชีวนะมีหลากหลายชนิด การจะรักษาโรคได้ ต้องขึ้นกับชนิดของโรค อายุผู้ป่วย ชนิดและขนาดของยาปฏิชีวนะ ซึ่งต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ภายหลังจากพบแพทย์แล้ว การดูแลตนเอง คือ
- ปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ
- กินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ควรหยุดยาเองโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ต้องกินให้หมดตามแพทย์แนะนำ การหยุดยาเองก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา จนกลายเป็นกรวยไตอัก เสบเรื้อรัง อาจถึงขั้นเกิดโรคไตเรื้อรังได้
- ดื่มน้ำสะอาดให้ได้มากๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม เช่น โรคหัวใจล้มเหลว
- ไม่กลั้นปัสสาวะนาน
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆรวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือ อาการต่างๆเลวลง หรือ เมื่อกังวลในอาการ
การป้องกัน
สามารถป้องกันโรคกรวยไตอักเสบได้โดย- เมื่อมีอาการผิดปกติทางปัสสาวะ หรือมีอาการดังกล่าวแล้วในหัวข้ออาการ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและเพื่อได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ป้องกันการเกิดการอักเสบรุน แรง หรือการเกิดกรวยไตอักเสบเรื้อรัง
- ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
- ไม่กลั้นปัสสาวะนาน
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐานเสมอ โดยเฉพาะการรู้จักดูแลตนเองเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และไม่ควรส่ำส่อนทางเพศ (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)