ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง
การใส่สวนปัสสาวะ (Urinary catheterization)

หมายถึง การสอดใส่สายสวนปัสสาวะที่เรียกว่า catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ด้วยวิธีการที่ปราศจากเชื้อ เพื่อระบายปัสสาวะออกสู่ภายนอก ทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง

ชนิดและวัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะมี 2 วิธีคือ
1.การสวนปัสสาวะปล่อยหรือสวนเป็นครั้งคราว (intermittent catheterization )
2.การสวนปัสสาวะคาสายหรือสวนค้าง (indwelling catheterization or retained catheterization )

1.การสวนปัสสาวะทิ้งหรือสวนเป็นครั้งคราว (intermittent catheterization ) ใช้สายสวนปัสสาวะชนิดตรงที่ทำด้วยยางแดง (หรืออาจมีสีอื่นๆ ซึ่งผู้เขียนไม่เคยเห็น) ปลายข้างที่ใส่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ มีลักษณะเป็นปลายมน มีตาเดียว ภายในเป็นท่อกลวงท่อเดียว ใช้สวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
วัตถุประสงค์ของการสวนเป็นครั้งคราวหรือการสวนทิ้ง
1.ผู้ป่วยไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เอง
2.เก็บปัสสาวะส่งตรวจเพื่อตรวจเพื่อเพาะหาเชื้อ ( urine culture)
3. ตรวจวัด ปริมาณของปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ( residual urine)

2.การสวนปัสสาวะคาสายปัสสาวะ (indwelling catheterization or retained catheterization )
ใช้สายสวนปัสสาวะชนิดโฟเล่ย์ (Foley’s catheter) ชนิด 2 ทาง หรือ 3 ทาง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสวนคา
สายสวนปัสสาวะโฟเล่ย์ มีทั้งชนิด 2 ท าง 3 ท าง
  • ทางที่1 เป็นทางสำหรับระบายน้ำปัสสาวะ
  • ท างที่ 2 เป็นทางสำหรับใส่น้ำกลั่นที่ปลอดเชื้อเข้าไปในโป่งบอลลูน ให้สายสวนสามารถค้างในกระเพาะปัสสาวะได้ 
  • ท างที่ 3 เป็นทางสำหรับใส่น้ำยาเข้าไปล้างในกระเพาะปัสสาวะตลอดเวลา (Continuous Irrigation)

วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะคาสายหรือสวนค้าง
1. เพื่อป้องกันการระคายเคือง การอักเสบและติดเชื้อของผิวหนัง ในผู้ป่วยที่เป็นแผลอักเสบของผิวหนังบริเวณฝีเย็บ และขาหนีบ
2.เพื่อเป็นช่องทางระบายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เอง
3.เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างก่อนส่งตรวจพิเศษ หรือในระหว่างการผ่าตัด
4.เพื่อการติดตามวัดปริมาณน้ำปัสสาวะในผู้ป่วยหนัก เช่น ผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อค ผู้ป่วยเสียเลือด
5.เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะในรายที่มีเลือดออก มีลิ่มเลือด มีหนองหรือตะกอนขุ่นมากในระบบทางเดินปัสสาวะ
6.เพื่อตรึงท่อปัสสาวะ (Splint) เช่น ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ
7.เพื่อเป็นช่องทางในการใส่ยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ

1.วิธีการสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization)

1. ตรวจสอบชื่อ-สกุลผู้ป่วยและชนิดของการสวนปัสสาวะจากคำสั่งการรักษา เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์
ให้ถูกต้องและเหมาะสม
2. อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นในการสวนปัสสาวะ และวิธีการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยขณะสวน
ปัสสาวะ เพื่อช่วยลดความกลัว ความวิตกกังวลและได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย
3. ประเมินสภาพผ้ป่วยก่อนการสวนปัสสาวะเพื่อประเมินความสามารถของผู้ป่วยในการจัดท่านอน
สำหรับสวนปัสสาวะ
4. ล้างมือให้สะอาด เพื่อลดโอกาสเกิดกานเเพร่กระจายเชื้อ
5. จัดเตรียมเครื่องใช้มาวางที่เตียงผู้ป่วยเพื่อความพร้อมในการสวนปัสสาวะ
6. ปิดประตูหรือกั้นม่านให้มิดชิด เพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเผยผู้ป่วย
7. จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ โดยใช้โคมไฟหรือไฟฉายส่องไปที่อวัยวะสืบพันธุ์ เพื่อให้สามารถมองเห็น
รูเปิดของท่อปัสสาวะ
8. ผู้ทำยืนข้างเตียงผ้ป่วยข้างทีตนถนัด เช่น ผู้ที่ถนัดมือขวาควรเข้าข้างขวาของผู้ป่วย ผู้ที่ถนัดมือช้าย
ควรเข้าข้างช้าย ผู้ป่วย
9. จัดท่าที่ใช้ในการสวนปัสสาวะให้ เหมาะสมเพื่อให้สามารถมองเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะได้ชัดเจน
9.1 ในผู้ป่วยหญิง จัดให้อยู่ในท่านอนหงายชันเข่า (Dorsal recumbent position) ปิดตา
ห่มผ้า ถอดผ้านุ่ง จัดผ้าคลุม เปิดเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (drape) การชันเข่าควรบอกผู้ป่วย
ให้วางส้นเท้าซิดก้น เท้าทั้งสองข้างห่างกันประมาณ 2 ฟุต การคลุมผ้าช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกเป็นเป็นส่วนตัว
9.2 ในผู้ป่วยชายจัดให้อยู่ในท่านอนหงาย (Dorsal position) ปิดตา ถอดกางเกง จัดผ้าห่มคลุมส่วนบนของร่างกายจนถงหัวหน่าว และใช้ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ คลุมตั้งแต่องคชาตลงมาเปิดเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
10. ชำระอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดเพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ทีอาจปนเป็้อนติดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะขณะสอดใส่สายสวน
11.ล้างมือให้สะอาด เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์บนมือของผู้ทำเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
12.นำชุดสวนปัสสาวะ วางไว้ระหว่างขาของผู้ป่วย ใกล้กับอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเปิดผ้าห่อออกทั้ง 4 มุม และเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ ด้วยเทคนิกปลอดเชื้อ เพื่อให้มีพื้นที่สะอาดไม่เกิดการปนเปื้อน
12.1 เทน้ำยาระงับเชื้อลงบนสำลีในชามกลมพอให้สำลีเปียกชุ่ม
12.2 บีบสารหลอลื่นลงบนก๊อชในชามรูปไต
13. ใส่ถุงมีอด้วยเทคนิกปลอดเชื้อ เพื่อให้มือผู้ทำสะอาดปราศจากเชี้อ สามารถหยิบจับของสะอาดปราศจากเชื้อได้
14. คลี่ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางคลุมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้ช่องเจาะกลางอยู่บริเวณ
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ด้วยเทคนิกปลอดเชื้อ
15.หยิบสายสวนปัสสาวะ เลือกขนาดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ทาปลายสายสวนปัสสาวะด้วยสารหล่อลื่นในผ้หญิงยาว 1-2 นิ้ว ในผู้ชายยาว 6-7 นิ้ว (ระวังอุดรูที่ปลายสายสวนปัสสาวะ) วางไว้ในชามรูปไต สารหล่อลื่นช่วยลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บบริเวณท่อปัสสาวะ
16.หยิบชามกลมใบว่าง (สำหรับใส่สำลีที่ใช้แล้ว) วางไว้ใกล้ผู้ป่วยและชามกลมใบที่มีสำลีวางถัดออกมา เพื่อไม่เกิดการข้ามกรายของสะอาดขณะทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
17.ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกโดยใช้ปากคีบ
17.1ในผู้ป่วยหญิง เมื่อทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกจนถีงแคมในใช้นิ้วมือข้างที่
แหวกแนวในให้กว้างและยกขึ้นจะเห็นรูปเปิดของท่อปัสสาวะได้ชัดเจน แล้วใช้สำลีเช็ดตรงรูเปิดของท่อปัสสาวะ แหวกค้างไว้จนกระทั่งสอดสายสวนปัสสาวะ และมีน้ำปัสสาวะไหลออกมา อย่าลืมว่า มือทีใช้แหวกแคมในนี้ไม่ปลอดเชื้ออีกต่อไป เพื่อระวังไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเครี่องใช้ที่ปลอดเชื้อ
17.2ในผู้ป่วยชาย ใช้มือข้าที่ไม่ถนัดจับองคชาตตั้งขึ้นทำมุม 90 องศ กับร่างกาย กรณีไม่ได้ขลิบหนังหุ่มปลายองคชาต (circumcision)ให้รูดหนังหุ้มปลายองชาตลงมาและจับทำมุม 90 องศาค้างไว้จนกว่าจะสอดสายสวนปัสสาวะ และมีปัสสาวะไหลออก การจับองคชาตตั้งขึ้น 90 องศาเพื่อทำให้ท่อปัสสาวะเป็นแนวตรง สามารถสวนปัสสาวะได้งายใช้มือข้างที่ไม่ถนัดเช็ดบริเวณองคชาตโดยใช้ปากคีบคีบสำลีทีละก้อน เช็ดบริเวณรูเปิดของท่อปัสสาวะเช็ดวนออกมาด้านนอก แล้วเช็ดจากปลายองคชาตลงมาที่ฐานองคชาต 3-4 ครั้ง จนรอบองคชาตการเช็ดแต่ละครั้งให้ใช้สำลี ก้อนใหม่ และไม่เช็ดย้อนกลับไป-มา
18.ใช้ปากคีบเลื่อนชามกลมทั้งสองออกห่างจากก้นผู้ป่วย วางปากคีบลงในชามกลม ไม่ใช้มือข้างทีถนัดเลื่อนชามกลมที่แล้ว เพื่อให้ถุงมีอคงความปลอดเชื้อ
19.ยกชามรูปไตใบที่ใส่สายปัสสาวะวางไว้บริเวณใกล้ตัวผู้ป่วย
20.ใช้มือข้างที่ถนัดจับสายสวนปัสสาวะ ปลายสายอีกข้างหนึ่งวางไว้ในตามรูปไต
21.บอกให้ผู้ป่วยหายใจยาวๆ ค่อยๆ สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปใน รูเปิดของท่อปัสสาวะ ในผู้ป่วยหญิงสอดลึกอย่างน้อย 2-3 นิ้ว ผู้ชายสอดลึก 6-8 นิ้วหรือเกือบสึดสายสวน จนมีปัสสาวะไหลลงสู่ชามรูปไต แสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะปัสสาวะถ้าพบว่ามีแรงต้าน ไม่ใช่เเรงดันสายสวนปัสสาวะ ควรบอกให้ผู้ป่วยหายใจลึก ๆ ยาว ๆ แล้วหมุนสายสวนปัสสาวะอย่างเบามือขณะสอด
ถ้าไม่มีนาปัสสาวะไหลออกมาภายใน 1-2 นาทีให้ตรวจสอบดูว่าปลายสายเข้าไปในช่องคลอตหรือไม่ถ้าใช่ให้ถอตสายสวนออกและทำการสวนปัสสาวะใหม่ด้วยสายสวนปัสสาวะเส้นใหม่
22.ใช้มือที่แหวกแคมเล็ก หรือจับองคชาตเลื่อนมาจับสายสวนปัสสาวะไว้ให้อยู่กับที
23.ในกรณีต้องการเก็บปัสสวะส่งตรวจให้ใช้ขวดรองรับจากปลายสายสวนปัสสาวะขณะทีปล่อยให้ปัสสาวะไหลลงสู่ชามรูปไต
24. เมื่อปัสสาวะหยุดไหลแล้วใช้มือกดเบา ๆ บนผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางบริเวณเหนือหัวหน่าว
จนแน่ใจว่าไม่มีปัสสาวะ เพื่อให้ ปัสสาวะไหลออกจนหมด
25. ค่อยๆ ดึงสายสวนปัสสาวะออกวางไว้ในชามรูปไตใบว่าง ในผู้ชาย จับองคชาตตั้งขึ้นทำมุม 90 องศากับร่างกายก่อนดึงสายสวนออก ขณะดึงออก ถ้ามีปัสสาวะไหลออกมา ให้จับสายสวนปัสสาวะค้างไว้ที่เดิม รอจนกระทั่งไม่มีปัสสาวะจึงดึงสายสวนออก
26. ซับบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้ง
27. นำเครื่องใช้ออกจากเตียงผู้ป่วย ถอดถุงมีอ
28. จัดเสื้อผ้าและให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สบายซักถามอาการผู้ป่วย เปิดประตูหรือม่าน
29. เก็บเครื่องใช้ไปทำความสะอาด
30. สังเกตลักษณะของปัสสาวะทีผิดปกติและตวงปัสสาวะทีได้จากการสวน
31.ถ้าเป็นกรณีเก็บปัสสาวะส่งตรวจ ส่งขวดปัสสาวะที่ติดสลากข้างขวด ชึ่งเขียนชื่อหอผู้ป่วย
ชื่อ-สกุลผู้ป่วย วัน เดือน ปี ที่ส่งตรวจพร้อมใบส่งตรวจ (request) ไปยังห้องปฏิบติการ
ขอบคุณวีดีโอจากยูทูปโดยคุณ ouixzz 

2.วิธีการสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling catheterization)

1. ตรวจสอบชื่อ-สกุลผู้ป่วยและชนิดของการสวนปัสสาวะจากคำสั่งการรักษา เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ให้ถูกต้องและเหมาะสม
2. อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นในการสวนปัสสาวะ และวิธีการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยขณะสวนปัสสาวะ เพื่อช่วยลดความกลัว ความวิตกกังวลและได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย
3. ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนการสวนปัสสาวะ เพื่อประเมินความสามารถของผู้ป่วยในการจัดท่านอนสำหรับสวนสวนปัสสาวะ
4. ล้างมือให้สะอาด เพื่อลดโอกาสเกิดการแพร่กระจายเชี้อ
5. จัดเตรียมเครึ่องใช้มาวางที่เตียงผู้ป่วยเพิ่มความพร้อมในการสวนปัสสาวะ
6. ปิดประตูหรีอกั้นม่านให้มิดชิด เพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเผยผู้ป่วย
7. จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ โดยโช้โคมไฟหรีอโฟฉายส่องไปทีอวัยวะสืบพันธุ์ เพื่อให้สามารถมองเห็นูรูปเปิดของท่อปัสสาวะ
8. ผู้ทำยืนข้างเตียงผู้ป่วยข้างที่ตนถนัด เช่น ผู้ที่ถนัดมือขวาควรเข้าข้างขวาของผู้ป่วย ผู้ที่ถนัดมือซ้ายควรเข้าข้างซ้ายของผู้ป่วย
9. จัดท่าที่ใช้ในการสวนปัสสาวะให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถมองเห็นูรูเปิดของท่อปัสสาวะได้
ชัดเจน
9.1 ในผู้ป่วยหญิง จัดให้อยู่ในท่านอนหงายชันเข่า (Dorsal recumbent position)ปิดตา
ห่มผ้า ถอดผ้านุ่ง จัดผ้าคลุม เปิดเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (drape)การชันเข่า ควรบอกผู้ป่วยให้วางส้นเท้าชิดกัน
เท้าทั้งสองข้างห่างกันประมาณ 2 ฟุต การคลุมผ้าช่วยให้ผู้ป่วยมีความูร้สึกเป็นส่วนตัว
9.2 ในผู้ป่วยชายจัดให้อยู่ในท่านอนหงาย (Dorsal position) ปิดตา ถอดกางเกงจัดผ้าห่มคลุมส่วนบนของร่างกายจนถึงหัวหน่าว และใช้ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่คลุมตั้งแต่องคชาตลงมา เปิดเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (drape)
10.ชำระอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดเพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนติดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะขณะสอดใส่สายสวน
11. ล้างมือให้สะอาด เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์บนมือของผู้ทำ เป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
12.นำชุดสวนปัสสาวะ วางไว้ระหว่างขาของ ผู้ป่วยใกล้กับอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเปิดผ้าห่อ ออกทั้ง 4 มุม ด้วยเทคนิกปลอดเชื้อ เพื่อให้มีพื้นที่สะอาดไม่เกิดการปนเปื้อนและกระทำกิจกรรม ต่อไปนี้ด้วยเทคนิกปลอดเชื้อ
12.1 เทน้ำยาระงับเชื้อลงบนสำลี ในชามกลมพอให้สำลีเปียกชุ่ม
12.2 บีบสารหล่อลื่นลงบนก๊อซในชามรูปไต
12.3 ฉีกซองสายสวนปัลสาวะ วางไว์ในชุดสวนปัสสาวะ
13.ใส่ถุงมือด้วยเทคนิกปลอดเชื้อ เพื่อให้มือผู้ทำการสวนปัสสาวะสะอาดปราศจากเชื้อ สามารถหยิบจับของสะอาดปราศจากเชื้อได้
l4.คลี่ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางคลุมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้ช่องเจาะกลางอยู่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ด้วยเทคนิกปลอดเชื้อ
15. หยิบสายสวนปัสสาวะ เลือกขนาดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ทาปลายสายสวนปัสสาวะด้วยสารหล่อลื่นในผู้หญิงยาว 1-2 นิ้วในผู้ชายยาว
6-7 นิ้ว (ระวังอุดรูที่ปลายลายสวนปัสสาวะ) วางไว้ใน
ชามรูปไต สารหล่อลื่นช่วยลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บบริเวณท่อปัสสาวะ
16.หยิบชามกลมใบว่าง (สำหรับใส่สำลีที่ใช้แล้ว) วางไว้ใกล้ผู้ป่วยและชามกลมใบที่มีสำลีวาง
ถัดออกมา เพื่อไม่เกิดการข้ามกรายของสะอาดขณะทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
17.ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกโดยใช้ปากคีบ
17.1ในผุ้ป่วยหญิง เมื่อทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกจนถึงแคมใน ใช้นิ้วมือข้าง
ทีไม่ถนัดแหวกแคมในให้กว้างและยกขึ้นจะเห็นรูปเปิดของท่อปัสสาวะได้ชัดเจน แล้วใช้สำลีเช็ดตรงรูเปิดของท่อปัสสาวะ และแหวกค้างไว้จนกระทั่งสอดสายสวนปัสสาวะ และมีน้ำปัสสาวะไหลออกมา อย่าลืมว่ามือที่ใช้แหวกแคมในนี้ไม่ปลอดเชื้ออีกต่อไป เพื่อระวังมือสัมผัสทำให้เกิดการปนเปื้อนเครื่องใช้ทื่ปลอดเชื้อ
17.2ในผู้ป่วยชาย ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับองคชาตตั้งขึ้นทำมุม 90 กับร่างกายกรณีไม่ได้ขลิบหนังหุ้มปลายองคชาต (circumcision) ให้รูดหนังหุ้มปลายองคชาตลงมา และจับทำมุม 90 องศา ค้างไว้จนกว่าจะสอดสายสวนปัสสาวะ และมีปัสสาวะไหลออกมา การจับองคชาตตั้งขี้น 90 องศา เพื่อทำให้ท่อปัสสาวะเป็นแนวตรง สามารถสวนปัสสาวะได้ง่าย ใช้มือข้างที่ถนัดเช็ดบริเวณองคชาตโดยใช้ปากคีบคีบสำลี
ทีละก้อนเช็ดบริเวณรูเปิดของท่อปัสสาวะ เช็ดวนออกมาด้านนอกแล้วเช็ดจากปลายองคชาตลงมาทีฐานองคชาต 3-4 ครั้ง จนรอบองคชาต การเช็ดแต่ละครั้งให้ใช้สำลีก้อนใหม่ และไม่เช็ดย้อนกลับไป-มา
18. ใช้ปากคีบเลื่อนชามกลมทั้งสองออกห่างจากก้นผู้ป่วย วางปากคีบลงในชามกลม ไม่ใช้มือข้างที่ถนัดเลี่อนชามกลมที่ใช้แล้ว เพื่อให้ถุงมือคงความปลอดเชื้อ
19.ยกชามรูปไตใบที่สายปัสสาวะวางไว้บริเวณใกล้ตัวผู้ป่วย ๆ
20.ใช้มือข้างที่ถนัดจับสายสวนปัสสาวะ ปลายสายอีกข้างหนึ่งวางไว้ในชามรูปไต
21.บอกให้ผู้ป่วยหายใจยาว ๆ ค่อย ๆ สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะ ในผู้หญิงสอดลึกอย่างน้อย 2-3 นิ้ว ผู้ชายสอดลึก
6-8 นิ้ว หรือเกือบสุดสายจนมีปัสสาวะไหลลงสู่ชามรูปไต แสดงว่าปลายลายอยู่ในกระเพาะปัสสาวะถ้าพบว่ามีแรงต้าน ไม่ใช่เเรงดัน ควรบอกให้ผู้ป่วยหายใจลึก ๆ ยาว ๆแล้วหมุนสายสวนปัสสาวะอย่างเบามือขณะสอด ถ้าไม่มีน้ำปัสสาวะไหลออกมาภายใน 1-2 นาทีให้ตรวจสอบดูว่าปลายลายเข้าไปในช่องคลอดหรีอไม่ ถ้าใช่ ให้ถอดสายสวนออกและทำการสวนปัสสาวะใหม่ด้วยสายสวนปัสสาวะเส้นใหม่
22.ใช้มือที่แหวกแคมเล็ก หรือจับองคชาตเลื่อนมาจับสายสวนปัสสาวะไว้ให้อยู่กับที่
23.ในกรณีต้องการเก็บปัสสาวะฟังตรวจ ให้ใช้ขวดรองรับจากปลายสายสวนปัสสาวะขณะที่ปล่อยให้ปัสสาวะไหลลงสู่ชามรูปไต
24. ภายหลังปัลสาวะไหลดี สอดสาย Foley catheter เข้าไปอีก 1 นิ้ว เพื่อให้แน่ว่าลูกโป่ง
อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ไม่อยู่ในท่อปัสสาวะ ป้องกัน
ภาวะเลือดออกเกิดจากท่อปัสสาวะแตก (rupture urethra) กรณีสอด Foley catheter ไม่พ้นท่อปัสสาวะ
25.ใส่น้ากลั่นเข้าทางหางที่เป็นแถบสี ของ Foley catheter ให้ลูกโป่งที่อยู่ภายในขยายตัว
(ปริมาณตามที่ระบุไว้ตรงปลายสาย catheter เช่น 5,30 มิลลิลิตร) ลูกโป่งควรมีขนาดพอเหมาะหากขนาดใหญ่มากเกินไปจะไปกดคอของกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยเจ็บตึงหรือรำคาญ แต่ถ้าลูกโป่งขนาดน้อยเกินไปอาจหลุดจากกระเพาะปัสสาวะได้ ถ้าผู้ป่วยบ่นรำคาญหรือเจ็บปวดภายหลังใส่น้ำกลั่นให้ลูกโป่งขยายให้รีบเอาน้ำกลั่นออก เนื่องจากลูกโป่งอาจอยู่ในท่อปัสสาวะให้สอดลาย cathete เข้าไปอีก จนแน่ใจว่าลูกโป่ง อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
26.ค่อยๆ ดัน Foley catheter เบา ๆ เพื่อลดการดึงรั้งของ Foley catheter บริเวณคอของกระเพาะปัสสาวะ
27.ต่อสายของถังเก็บปัสสาวะเข้ากับปลายของ Foley catheter ด้วยเทคนิกปลอดเชื้อ
28.ตรึงสาย Foley catheter ไว้กับหน้าขาของผู้ป่วยหญิง หน้าท้องน้อยหรือโคนขาของผู้ป่วยชายด้วยปลาสเตอร์ เพื่อป้องกันการดึงรั้งหรีอระคายเคีองบริเวณท่อปัสสาวะจากการเลื่อนไปมาของสาย Foley catheter และในผู้ป่วยชายสามารถป้องกันสาย Foley catheter กดทับบริเวณองคชาตกับถุงอัณฑะ (peno-scrotalangle) จนเกิดเป็นฝี (abscess) ทะลุออกสู่ผิวหนังภายนอกหากปล่อยให้องคชาตห้อยลงมา
29.ตรึงสายของถังเก็บปัสสาวะไว้กับผ้า ปูที่นอนด้วยปลาสเตอร์
30.แขวนถุงเก็บปัสสาวะให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ โดยแขวนไว้กับด้านข้างเตียงไม่ควรวางติดพื้น ต้องใช้ตัวหนีบหนีบสายยาง หรือหักพับให้แน่นก่อน เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของปัสสาวะเข้าสู่เพาะปัสสาวะ
31.เก็บเครื่องใช้ออกจากเตียงผู้ป่วย ถอดถุงมือ
32.จัดเสื้อผ้าและให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายซักถามอาการผู้ป่วย เปิดประตูหรือม่าน
33.เก็บเครื่องใชกปทาความสะอาด
34.บันทึกการพยาบาลเกี่ยวกับการสวนปัสสาวะให้ครอบคลุมรายละเอียดเกี่ยวกับวัน เวลาที่สวน เหตุผลในการสวน ชนิดและขนาดของสาย สวนปัสสาวะลักษณะสี กลิ่น จำนวนและสิ่งผิด
ปกติของปัสสาวะที่สวนได้
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการสวนปัสสาวะ
1. การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Uninary tract infection) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ได้พบบ่อยคิดเป็นร้อยละ 40 ของการติดเชื้อในโรงพยาบาล (Acquired hospital inflection) โดยมีส่วนสัมพันธ์กับการสวนปัสสาวะ จากการศึกษาวิจัย พบว่าการสวนปัสสาวะทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ กล่าวคือ ถึงแม้ว่าการสวนปัสสาวะแต่ละครั้งจะทำอย่างถูกวิธีและใช้เทคนิคปลอดเชิ้อแล้ว ยังมีโอกาสเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้อีกประมาณ ร้อยละ 1-3 คูนิน (Kunin ) กล่าวถึงผู้ป่วยที่ได้รับการสวนคาสายสวนปัสสาวะด้วยระบบปิดว่า มีทางเข้าของเชื้อแบคทีเรียสู่ระบบทางเดินปัสสาวะได้บริเวณรูเปิดของท่อปัสสาวะ ข้อต่อระหว่างสายสวนปัสสาวะกับถุงเก็บปัสสาวะ และรูเปิดของถุงเก็บปัสสาวะ ดังนั้นการสวนคาสายสวนปัสสาวะไว้มีโอกาสทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้นตามจำนวนวันที่สวนคาสายสวนไว้ ซึ่งป้จจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อจากการสวปัสสาวะอาจเกิดจากวิธีปฏิบติการพยาบาล ดังนี้
1.1 ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกไม่ดีพอ ทำให้เชื้อจากส่วนปลายของ ท่อปัสสาวะถูกดันเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะในขณะสวนปัสสาวะ
1.2 เลือกใช้สายสวนปัสสาวะทีมีขนาดใหญ่เกินไป
1.3.ใช้หลักการปลอดเชื้อไม่ดีพอ อาจเกิดการปนเปื้อนของสายสวนปัสสาวะ
1.4 ใช้วิธีการสวนทีไม่ถูกต้อง การใช้สารหล่อลื่นน้อยเกินไป เกิดการบาดเจ็บหรือระคายเคืองต่อท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อตามมา ได้
2. การรั่วชึมของปัสสาวะ (leakage of urine) การรั่วซึมของปัสสาวะ เป็นผลมาจากการอุดตันของสายสวนปัสลาวะ หรือ จากลูกโป่งที่ใหญ่เกินไปจะระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการหดเกร็งของกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยจะปวดเกร็งและพยายามเบ่งเพือถ่ายปัสสาวะออกมา จะพบปัสสาวะซึมออกจากสายสวนปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยรำคาญและไม่สุขสบาย (distress and inconvenence) และต้องการการดูแลจากพยาบาลตลอดเวลา
3. ความไม่สุขสบายจากการสวนปัสสาวะ (discomfort) การใส่สายสวนปัสสาวะทำให้ระคายเคืองต่อท่อปัสสาวะ เกิดท่อปัสสาวะอักเสบ (urethritis) และ ตีบตัน (stricture) ชึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับการใช้สายสวนปัสาสวะ ที่มีขนาดใหญ่เกินไปการใช้สารหล่อลื่นในการสวนปัสสาวะน้อยเกินไปผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ
ออกแรงเบ่งขณะสอดใส่สายสวนปัสสาวะ รวมทั้งการขาดความนุ่มนวลเบามือของผู้สวนปัสสาวะทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดไม่สุขสบายขณะใส่สายสวนปัสสาวะได้

อ้างอิงข้อมูลจาก http://student.mahidol.ac.th/ และ http://www.urnurse.net/