โคโรน่าไวรัส เป็นเชื้อไวรัสที่พบได้ทั้งในสัตว์และคน มีด้วยกันหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ก่อโรคในสัตว์ บางสายพันธ์ก่อโรคในคน โดยคนที่ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสมีอาการได้ตั้งแต่เป็นไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงปอดอักเสบติดเชื้อ รวมถึงโรคปอดอักเสบรุนแรงซึ่งเคยระบาดในปี 2002 นั่นคือเชื้อไวรัสซาร์ส (SARS-CoV) ซึ่งมีผู้ติดเชื้อสูงถึง 8,000 คน ใน 26 ประเทศทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตกว่า 600 คน
และอีกครั้งในปี 2012 จากเชื้อไวรัสเมอร์ส ( MERS-CoV) ซึ่งมีผู้ติดเชื้อกว่า 2,500 คน ใน 27 ประเทศทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตกว่า 858 คน จึงมีความสำคัญของการที่ต้องมีการสืบสวน เฝ้าระวังและกักกันโรคก่อนที่จะระบาดไปทั่วโลกเหมือนในอดีต

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) ที่ก่อโรคปอดอักเสบ (pneumonia) ในเมืองอู่ฮั่น (Wuhan) มณฑลหูเป่ย (Hubei) ประเทศจีน เริ่มจากช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 จนถึงปัจจุบัน ในช่วงแรกคาดว่าเป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน เมื่อมีข่าวการระบาดนี้ ทั่วโลกก็เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะมีประสบการณ์มาจากโรคทางเดินหายใจร้ายแรงที่เกิดจากไวรัสโคโรน่า ได้แก่ โรคซาร์ (severe acute respiratory syndrome, SARS) ที่ระบาดในช่วงปี ค.ศ. 2002-2003 ซึ่งมีสาเหตุจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ SARS-CoV ที่เป็นไวรัสโคโรน่าข้ามสปีชีส์จากค้างคาวผ่าน civet cat (ชะมด) มาติดเชื้อในคน โดยเริ่มระบาดจากประเทศจีนและกระจายไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อกว่าแปดพันคน อัตราการตายร้อยละ 10 และเพิ่มเป็นร้อยละ 50 ในผู้สูงอายุ และต่อมาในปีค.ศ. 2012-2014 ก็มีการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ชื่อ Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) ที่เป็นไวรัสโคโรน่าข้ามสปีชีส์จากค้างคาวผ่านอูฐมาติดเชื้อในคน เริ่มจากผู้ป่วยในประเทศซาอุดิอาราเบีย มีผู้ติดเชื้อรวม 1,733 คน อัตราการตายร้อยละ 36

ไวรัสโคโรน่าเป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ และมีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรทเป็นปุ่มๆ (spikes) ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ทำให้เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นเป็นเหมือนมงกุฎ (ภาษาลาติน corona แปลว่า crown หรือ มงกุฎ) ล้อมรอบ จึงเป็นที่มาของชื่อเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้ที่มีสมาชิกหลากหลาย ติดเชื้อก่อโรคได้ทั้งในคน และสัตว์หลายชนิด เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ม้า วัว แมว สุนัข ค้างคาว กระต่าย หนู อูฐ และสัตว์ป่าอื่นๆ) และสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ดังนั้น ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ที่ก่อโรคในสัตว์ทั้งระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร อาจแพร่มาสู่คนและก่อโรคในคนได้ (zoonotic infection) ไวรัสโคโรน่าถูกแบ่งเป็น 4 ยีนัสคือ Alphacoronavirus, Betacoronavirus, Gammacoronavirus และ Deltacoronavirus โดยไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรคในคนที่ทำให้มีอาการของระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง และมักมีการติดเชื้อแบบไม่มีอาการจัดอยู่ในยีนัส Alphacoronavirus ส่วนไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรครุนแรงในคนและข้ามสปีชีส์มาจากสัตว์ เช่น SARS-CoV และ MERS-CoV จัดอยู่ในยีนัส Betacoronavirus ไวรัสโคโรน่ามีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอจึงมีโอกาสกลายพันธุ์สูง และสามารถก่อการติดเชื้อข้ามสปีชีส์ได้มากขึ้นในสถานที่ที่นำสัตว์เหล่านี้มาอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ดังเช่นในตลาดค้าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ SARS-CoV จาก civet cat สู่คน


สถานการ์ณการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ 2019-nCoV จากประเทศจีนนับจากที่มีการรายงานครั้งแรกเมื่อ 31 ธันวาคม 2019 นั้น พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่รู้สาเหตุในเมืองอู่ฮั่นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้มีการรายงานเป็นทางการเมื่อ 3 มกราคม 2020 ว่าโรคปอดอักเสบที่ระบาดที่อู่ฮั่นมีสาเหตุจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) และพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ ทางประเทศจีนได้ทำการสืบสวนหาแหล่งแพร่เชื้อของการระบาดในครั้งนี้ที่เมืองอู่ฮั่น จากผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกที่เป็นคนงานและลูกค้าของตลาดขายส่งอาหารทะเลฮั่วนาน (Huanan Seafood Wholesale Market) โดยที่ตลาดสดนี้นอกจากขายอาหารทะเลแล้วยังขายเนื้อสัตว์ และสัตว์ที่ใช้ทำอาหารที่ยังมีชีวิต เช่น เป็ด ไก่ ลา แกะ หมู อูฐ สุนัขจิ้งจอก งู แบดเจอร์ หนูอ้น เฮดจ์ฮอก แต่ตรวจไม่พบเชื้อ 2019-nCoV ในตัวอย่างตรวจจากสิ่งแวดล้อมและอาหารทะเลที่ได้จากตลาดขายส่งอาหารทะเลฮั่วนาน อย่างไรก็ดี มีผู้ป่วยที่ไม่ได้ไปที่ตลาดแห่งนี้เลย รายงานผลการตรวจหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอส่วนเปลือก (glycoprotein spikes) ของเชื้อ 2019-nCoV (MN908947) ที่ได้จากผู้ป่วยพบว่าอยู่ในยีนัส Betacoronavirus ซึ่งเป็นยีนัสเดียวกับ SARS-CoV และ MERS-CoV เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาจากคนและสัตว์ต่างๆ จำนวน 271 สายพันธุ์ พบว่าเชื้อ 2019-nCoV เป็นไวรัสที่เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสโคโรน่าของค้างคาวกับไวรัสโคโรน่าของงูเห่า (Chinese cobra, Naja Atra) จึงทำให้ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้แพร่เชื้อข้ามสปีชีส์จากงูเห่ามายังคนได้ โดยเริ่มแรกจากคนงานและลูกค้าในตลาดเริ่มติดเชื้อก่อนและต่อมาเชื้อมีการกลายพันธุ์มากขึ้นจึงสามารถติดต่อจากคนสู่คน
เดิมทีโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ อยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส (SARS) หรือโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรงที่เคยระบาดหนักใน 37 ประเทศทั่วโลกช่วงปี 2002-2003 ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อจากคนสู่คน ไม่ใช่เพียงแค่การติดต่อจากสัตว์สู่คน มีอาการสำคัญ ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ โดยสาเหตุที่เชื้อไวรัสชนิดนี้ถูกเรียกว่าโคโรนา เป็นเพราะหากส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะพบว่าเชื้อชนิดนี้มีลักษณะเป็นวงกลม และมีขายื่นออกมาจากตัวเชื้อ
ส่วนต้นตอของเชื้อไวรัสโคโรนา จากการสอบสวนโรคเบื้องต้นในประเทศจีน พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำงานในตลาด หรือมีประวัติเดินทางไปที่ตลาดค้าส่งอาหารทะเลแห่งหนึ่งกลางเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นตลาดที่มีการค้าสัตว์หลายชนิด เช่น นก, ไก่ฟ้า, งู, เครื่องในกระต่าย และสัตว์ป่าอื่นๆ และขณะนี้ตลาดดังกล่าวได้มีการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และถูกปิดแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563
ระยะฟักตัวของเชื้อ
เชื้อสายพันธุ์ใหม่มีระยะฟักตัวระยะสั้น คือตั้งแต่ 2-14 วัน นั่นจึงเป็นสาเหตุที่มีการประกาศเตือนให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงอย่างเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ให้สังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 14 วันเพื่อเช็กร่างกายว่าป่วยหรือไม่
อาการของผู้ติดเชื้อ
ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบ ทั้งแบบไม่มีอาการและมีอาการทางเดินหายใจอักเสบแบบเฉียบพลัน จนถึงปอดบวมและโรคแทรกซ้อน ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ โดยระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2 ถึง 7 วัน ซึ่งในทางปฏิบัติการเฝ้าสังเกตอาการหลังสัมผัสโรค หรือมาจากแหล่งระบาดของโรค ต้องใช้ 2 เท่า คือ 14 วัน
“อาการต้องสงสัยมีไข้ และอาการระบบทางเดินหายใจ เช่นมี น้ำมูก ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก ในรายที่รุนแรงจะมีปอดอักเสบหรือปอดบวม ทำให้ระบบหายใจล้มเหลวถึงกับเสียชีวิตได้ สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ จึงเกิดการแพร่กระจายได้ และผลการวินิจฉัย จำเป็นต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหาพันธุกรรมของไวรัส ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อจำนวนมากอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ไม่ได้เป็นปอดบวมทุกราย ดังนั้นผู้ป่วยจึงสามารถเดินทางไปได้ไกล สามารถแพร่โรคทำให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้ทั่วโลก”
นอกจากนี้เชื้อไวรัสโคโรน่า เมื่อเป็นโรคใหม่ ไม่มียาต้านไวรัสใช้รักษา และไม่มีวัคซีนในการป้องกัน ซึ่งทุกคนไม่มีภูมิต้านทาน จึงมีสิทธิ์ที่จะติดเชื้อได้ทุกคนถ้าสัมผัสโรค ส่วนความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับอายุ โดยในเด็กความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ส่วนการระบาดของโรคจะหยุดเมื่อมีการติดเชื้อไปจำนวนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับอำนาจการกระจายของโรค
"ถ้าอำนาจการกระจายของโรค เท่ากับไข้หวัดใหญ่ หรือ 1 คนกระจายไปได้ 2 คน เมื่อมีผู้ติดเชื้อหรือมีภูมิต้านทานแล้วอย่างน้อย 50% โรคจะสงบ และหลังจากนี้จะเป็นโรคประจำถิ่น หรือตามฤดูกาล อย่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ระบาดมา 10 ปี ก็ยังไม่หยุด ยังมีการระบาดในนักเรียนอยู่เป็นระยะๆ ในประเทศไทย"

สิ่งหลีกเลี่ยงไม่ให้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่

แหล่งอ้างอิงข้อมูล
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1410
https://thestandard.co/corona-virus/
https://www.youtube.com/watch?v=Lv2SWvA2MrU&t=1031s
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1757471
ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
และอีกครั้งในปี 2012 จากเชื้อไวรัสเมอร์ส ( MERS-CoV) ซึ่งมีผู้ติดเชื้อกว่า 2,500 คน ใน 27 ประเทศทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตกว่า 858 คน จึงมีความสำคัญของการที่ต้องมีการสืบสวน เฝ้าระวังและกักกันโรคก่อนที่จะระบาดไปทั่วโลกเหมือนในอดีต

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) ที่ก่อโรคปอดอักเสบ (pneumonia) ในเมืองอู่ฮั่น (Wuhan) มณฑลหูเป่ย (Hubei) ประเทศจีน เริ่มจากช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 จนถึงปัจจุบัน ในช่วงแรกคาดว่าเป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน เมื่อมีข่าวการระบาดนี้ ทั่วโลกก็เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะมีประสบการณ์มาจากโรคทางเดินหายใจร้ายแรงที่เกิดจากไวรัสโคโรน่า ได้แก่ โรคซาร์ (severe acute respiratory syndrome, SARS) ที่ระบาดในช่วงปี ค.ศ. 2002-2003 ซึ่งมีสาเหตุจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ SARS-CoV ที่เป็นไวรัสโคโรน่าข้ามสปีชีส์จากค้างคาวผ่าน civet cat (ชะมด) มาติดเชื้อในคน โดยเริ่มระบาดจากประเทศจีนและกระจายไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อกว่าแปดพันคน อัตราการตายร้อยละ 10 และเพิ่มเป็นร้อยละ 50 ในผู้สูงอายุ และต่อมาในปีค.ศ. 2012-2014 ก็มีการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ชื่อ Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) ที่เป็นไวรัสโคโรน่าข้ามสปีชีส์จากค้างคาวผ่านอูฐมาติดเชื้อในคน เริ่มจากผู้ป่วยในประเทศซาอุดิอาราเบีย มีผู้ติดเชื้อรวม 1,733 คน อัตราการตายร้อยละ 36

ไวรัสโคโรน่าเป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ และมีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรทเป็นปุ่มๆ (spikes) ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ทำให้เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นเป็นเหมือนมงกุฎ (ภาษาลาติน corona แปลว่า crown หรือ มงกุฎ) ล้อมรอบ จึงเป็นที่มาของชื่อเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้ที่มีสมาชิกหลากหลาย ติดเชื้อก่อโรคได้ทั้งในคน และสัตว์หลายชนิด เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ม้า วัว แมว สุนัข ค้างคาว กระต่าย หนู อูฐ และสัตว์ป่าอื่นๆ) และสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ดังนั้น ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ที่ก่อโรคในสัตว์ทั้งระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร อาจแพร่มาสู่คนและก่อโรคในคนได้ (zoonotic infection) ไวรัสโคโรน่าถูกแบ่งเป็น 4 ยีนัสคือ Alphacoronavirus, Betacoronavirus, Gammacoronavirus และ Deltacoronavirus โดยไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรคในคนที่ทำให้มีอาการของระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง และมักมีการติดเชื้อแบบไม่มีอาการจัดอยู่ในยีนัส Alphacoronavirus ส่วนไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรครุนแรงในคนและข้ามสปีชีส์มาจากสัตว์ เช่น SARS-CoV และ MERS-CoV จัดอยู่ในยีนัส Betacoronavirus ไวรัสโคโรน่ามีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอจึงมีโอกาสกลายพันธุ์สูง และสามารถก่อการติดเชื้อข้ามสปีชีส์ได้มากขึ้นในสถานที่ที่นำสัตว์เหล่านี้มาอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ดังเช่นในตลาดค้าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ SARS-CoV จาก civet cat สู่คน


สถานการ์ณการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ 2019-nCoV จากประเทศจีนนับจากที่มีการรายงานครั้งแรกเมื่อ 31 ธันวาคม 2019 นั้น พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่รู้สาเหตุในเมืองอู่ฮั่นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้มีการรายงานเป็นทางการเมื่อ 3 มกราคม 2020 ว่าโรคปอดอักเสบที่ระบาดที่อู่ฮั่นมีสาเหตุจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) และพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ ทางประเทศจีนได้ทำการสืบสวนหาแหล่งแพร่เชื้อของการระบาดในครั้งนี้ที่เมืองอู่ฮั่น จากผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกที่เป็นคนงานและลูกค้าของตลาดขายส่งอาหารทะเลฮั่วนาน (Huanan Seafood Wholesale Market) โดยที่ตลาดสดนี้นอกจากขายอาหารทะเลแล้วยังขายเนื้อสัตว์ และสัตว์ที่ใช้ทำอาหารที่ยังมีชีวิต เช่น เป็ด ไก่ ลา แกะ หมู อูฐ สุนัขจิ้งจอก งู แบดเจอร์ หนูอ้น เฮดจ์ฮอก แต่ตรวจไม่พบเชื้อ 2019-nCoV ในตัวอย่างตรวจจากสิ่งแวดล้อมและอาหารทะเลที่ได้จากตลาดขายส่งอาหารทะเลฮั่วนาน อย่างไรก็ดี มีผู้ป่วยที่ไม่ได้ไปที่ตลาดแห่งนี้เลย รายงานผลการตรวจหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอส่วนเปลือก (glycoprotein spikes) ของเชื้อ 2019-nCoV (MN908947) ที่ได้จากผู้ป่วยพบว่าอยู่ในยีนัส Betacoronavirus ซึ่งเป็นยีนัสเดียวกับ SARS-CoV และ MERS-CoV เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาจากคนและสัตว์ต่างๆ จำนวน 271 สายพันธุ์ พบว่าเชื้อ 2019-nCoV เป็นไวรัสที่เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสโคโรน่าของค้างคาวกับไวรัสโคโรน่าของงูเห่า (Chinese cobra, Naja Atra) จึงทำให้ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้แพร่เชื้อข้ามสปีชีส์จากงูเห่ามายังคนได้ โดยเริ่มแรกจากคนงานและลูกค้าในตลาดเริ่มติดเชื้อก่อนและต่อมาเชื้อมีการกลายพันธุ์มากขึ้นจึงสามารถติดต่อจากคนสู่คน
เดิมทีโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ อยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส (SARS) หรือโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรงที่เคยระบาดหนักใน 37 ประเทศทั่วโลกช่วงปี 2002-2003 ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อจากคนสู่คน ไม่ใช่เพียงแค่การติดต่อจากสัตว์สู่คน มีอาการสำคัญ ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ โดยสาเหตุที่เชื้อไวรัสชนิดนี้ถูกเรียกว่าโคโรนา เป็นเพราะหากส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะพบว่าเชื้อชนิดนี้มีลักษณะเป็นวงกลม และมีขายื่นออกมาจากตัวเชื้อ
ส่วนต้นตอของเชื้อไวรัสโคโรนา จากการสอบสวนโรคเบื้องต้นในประเทศจีน พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำงานในตลาด หรือมีประวัติเดินทางไปที่ตลาดค้าส่งอาหารทะเลแห่งหนึ่งกลางเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นตลาดที่มีการค้าสัตว์หลายชนิด เช่น นก, ไก่ฟ้า, งู, เครื่องในกระต่าย และสัตว์ป่าอื่นๆ และขณะนี้ตลาดดังกล่าวได้มีการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และถูกปิดแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563
ระยะฟักตัวของเชื้อ
เชื้อสายพันธุ์ใหม่มีระยะฟักตัวระยะสั้น คือตั้งแต่ 2-14 วัน นั่นจึงเป็นสาเหตุที่มีการประกาศเตือนให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงอย่างเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ให้สังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 14 วันเพื่อเช็กร่างกายว่าป่วยหรือไม่
อาการของผู้ติดเชื้อ
ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบ ทั้งแบบไม่มีอาการและมีอาการทางเดินหายใจอักเสบแบบเฉียบพลัน จนถึงปอดบวมและโรคแทรกซ้อน ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ โดยระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2 ถึง 7 วัน ซึ่งในทางปฏิบัติการเฝ้าสังเกตอาการหลังสัมผัสโรค หรือมาจากแหล่งระบาดของโรค ต้องใช้ 2 เท่า คือ 14 วัน
“อาการต้องสงสัยมีไข้ และอาการระบบทางเดินหายใจ เช่นมี น้ำมูก ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก ในรายที่รุนแรงจะมีปอดอักเสบหรือปอดบวม ทำให้ระบบหายใจล้มเหลวถึงกับเสียชีวิตได้ สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ จึงเกิดการแพร่กระจายได้ และผลการวินิจฉัย จำเป็นต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหาพันธุกรรมของไวรัส ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อจำนวนมากอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ไม่ได้เป็นปอดบวมทุกราย ดังนั้นผู้ป่วยจึงสามารถเดินทางไปได้ไกล สามารถแพร่โรคทำให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้ทั่วโลก”
นอกจากนี้เชื้อไวรัสโคโรน่า เมื่อเป็นโรคใหม่ ไม่มียาต้านไวรัสใช้รักษา และไม่มีวัคซีนในการป้องกัน ซึ่งทุกคนไม่มีภูมิต้านทาน จึงมีสิทธิ์ที่จะติดเชื้อได้ทุกคนถ้าสัมผัสโรค ส่วนความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับอายุ โดยในเด็กความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ส่วนการระบาดของโรคจะหยุดเมื่อมีการติดเชื้อไปจำนวนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับอำนาจการกระจายของโรค
"ถ้าอำนาจการกระจายของโรค เท่ากับไข้หวัดใหญ่ หรือ 1 คนกระจายไปได้ 2 คน เมื่อมีผู้ติดเชื้อหรือมีภูมิต้านทานแล้วอย่างน้อย 50% โรคจะสงบ และหลังจากนี้จะเป็นโรคประจำถิ่น หรือตามฤดูกาล อย่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ระบาดมา 10 ปี ก็ยังไม่หยุด ยังมีการระบาดในนักเรียนอยู่เป็นระยะๆ ในประเทศไทย"

สิ่งหลีกเลี่ยงไม่ให้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่
- หลีกเลี่ยงสัมผัสกับผู้ป่วย การล้างมือจะป้องกันการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ยังใช้ได้เสมอในการป้องกันโรคที่ติดต่อจากฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย
- การเดินสวนกันไปมา ไม่ทำให้เกิดการติดโรคนี้ แต่การพูดคุยหรือจาม มีฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายกระเด็นมาถูกบริเวณใบหน้า จะทำให้เกิดการติดโรคนี้ได้ ดังนั้นต้องหมั่นล้างมือ
- ผู้ที่ไม่สบายเป็นโรคทางเดินหายใจทุกราย ควรใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค สำหรับคนปกติต้องการป้องกันโรค การใช้หน้ากากอนามัยชนิด N95 จะต้องใช้ให้ถูกวิธี
- ในภาวะปกติที่โรคยังไม่ระบาด ควรดำเนินชีวิตแบบปกติ รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีโรคประจำตัวให้หมั่นดูแลรักษา

แหล่งอ้างอิงข้อมูล
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1410
https://thestandard.co/corona-virus/
https://www.youtube.com/watch?v=Lv2SWvA2MrU&t=1031s
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1757471
ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต