“ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๊ำ เป็นสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ใกล้ใจ
ได้มาตรฐาน โดยประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วม
พัฒนาไปสู่ตำบลจัดการสุขภาพที่เข้มแข็งและยั่งยืน ”
พันธกิจบริการ (Mission)
- ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยทีมงานสหวิชาชีพ ที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม ปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่นและเสียสละ
- ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
- มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคเชิงรุก และการคุ้มครองผู้บริโภคโดยชุมชนมีส่วนร่วม
- พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ เพื่อความถูกต้อง รวดเร็ว เชื่อถือได้ และนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันของทุกภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนากลวิธีในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพของท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
- สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ประชาชนพึงพอใจ โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
- สร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มภาคีเครือข่ายด้านสาธารณสุขทุกระดับ
ค่านิยมองค์กร (Values)
“ประชาชนทุกคนต้องการรับบริการด้านสาธารณสุข
ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น
อย่างครอบคลุม ทั่วถึง และเป็นธรรม”
ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น
อย่างครอบคลุม ทั่วถึง และเป็นธรรม”
เป้าหมายในการดำเนินงาน (Goal)
- ประชาชนมีสุขภาพกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณที่ดี โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุภาพและสามารถเข้าถึงการบริการได้อย่างเท่าเทียม
- อัตราป่วยของโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และโรคเรื้อรังต่าง ๆ ในชุมชนลดลง โดยสามารถควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
- ประชาชนได้รับบริการด้านรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้มาตรฐาน ทั้งในเชิงรับและเชิงรุก เกิดความเชื่อมั่นและมีความพึงใจต่อการให้บริการ
- บุคลากรและภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นมีความเข้าใจและมีความภาคภูมิใจในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติงานในบทบาทและหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
- สถานบริการมีการพัฒนาคุณภาพที่ได้มาตรฐาน ทั้งด้านภาพลักษณ์ ด้านการบริการ และการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention & Promotion Excellence) พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพแบบบูรณาการทุกกลุ่มวัย โดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) พัฒนาระบบบริการที่มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงทุกเครือข่าย
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระดับ มุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการ นวัตกรรม การส่งเสริมการเรียนรู้และศักยภาพบุคลากรอย่างเป็นระบบ
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เทคโนโลยี และแผนงานที่มีประสิทธิภาพ
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล ( Governance Excellence) พัฒนาระบบควบคุมและตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์
- พัฒนาหน่วยบริการ ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุม
- ส่งเสริมการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
- ส่งเสริมและพัฒนาระบบสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนการดูแลสุขภาพ การเชื่อมโยงการทํางานร่วมกันในทีมสุขภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการระบบสุขภาพ
- ส่งเสริมการสร้างผลงานนวัตกรรม งานวิจัยจากงานประจำและการจัดการความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพ
- ส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่ายในการดําเนินงานด้านสุขภาพ ในระดับพื้นที่และชุมชน
- พัฒนาศักยภาพภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพด้วยตนเอง โดยใช้หลักการและแนวคิด เครือข่ายสุขภาพระดับอําเภอ (District Health Systems : DHS) และตอบสนองต่อนโยบายคลินิกหมอครอบครัว (Family Care Team)
- พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในหน่วยงานอย่างมีระบบให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
- บริหารจัดการทรัพยากรบุคคล เพื่อการจัดบริการด้านสุขภาพ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่และบุคลากรมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
- พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เสริมสร้างแรงจูงใจและความสามัคคี ในการทํางานให้บุคลากรทุกระดับในหน่วยงาน อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
แนวคิดการพัฒนาหน่วยบริการ
1. ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน หากบริหาร รพ. สต. แบบระบบราชการอย่างที่ผ่าน ๆ มาโดยถือว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นเจ้าของ (แต่ผู้เดียว) ต้องรอฟังนโยบายจากหน่วยเหนือ ต้องรอประชุมชี้แจงก่อน ต้องทำตัวชี้วัดหลัก ๆ ที่จังหวัดกำหนด (KPI) หรือทำงานกันแบบอิงความเคยชิน เดิม ๆ รพ. สต.บ้านต๊ำ อาจขาดศรัทธาในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ได้ ดังนั้น รพ. สต.บ้านต๊ำ จึงมีคณะกรรม-การบริหารที่มาจากภาคประชาชน (อสม. ตัวแทนผู้สูงอายุ ผู้พิการ เครือข่ายภาคประชาชน) ภาคผู้-ทรงคุณวุฒิ ภาคองค์กรปกครอง-ส่วนท้องถิ่น และภาคราชการที่เกี่ยวข้อง ปัญหาต่าง ๆ ประชาชนมีส่วนเสนอขึ้นมาและได้รับการบรรจุเข้าไว้ในแผนของ รพ. สต.2. บุคลากรใน รพ. สต.ต้องมีศักยภาพในการทำงานเป็นทีม ภายในองค์กรเองและร่วมกับภาคีนอกองค์กร โดยเฉพาะการทำงานที่สอดคล้อง กลมกลืน เป็นเนื้อเดียวกับทีมของโรงพยาบาลแม่ข่าย เกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า district health system (DHS)
3. วางระบบการทำงานให้ผสมกลมกลืนกับภาคีสุขภาพอื่น ๆ ที่มีในพื้นที่ อันได้แก่
- กองทุนสุขภาพชุมชน
- ตำบลสุขภาวะ
- แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
- กิจกรรมด้านสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. เน้นงานสร้างเสริมสุขภาพ ต้องทำให้โดดเด่น และชัดเจน (ให้สมกับป้ายชื่อโรงพยาบาล) โดยใช้มาตรการใหม่ ๆ ในการขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพ โดยผ่านสมัชชาชุมชนประชาคมพื้นที่ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน งานเยี่ยมบ้านต้องมีการใส่ใจและวางน้ำหนักเรื่องนี้ให้มากขึ้น
6. การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในพื้นที่ สร้างศรัทธาและยกระดับความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานให้ดีขึ้น สร้างสุขภาพและสุขภาวะให้บังเกิดแก่ประชาชนในพื้นที่ ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อเนื่อง
7. สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ อยู่อย่างเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
บริการปฐมภูมิ คือ บริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุข
ซึ่งมีบทบาทดูแลสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น
ในกรณีเกิดการเจ็บป่วยจะได้รับการดูแลในเบื้องต้น
และส่งผู้ป่วยต่อสถานพยาบาลสับหรับการรักษาที่ซับซ้อน รวมถึงบริการฟื้นฟูสภาพ